กระบวนการแสดงบทบาทนางแก้วหน้าม้าในการแสดงละครรำคณะชราชาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการแสดงบทบาทนางแก้วหน้าม้าในการแสดงละครรำคณะชราชาตรี อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ และการสังเกต
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการแสดงบทบาทนางแก้วหน้าม้าในการแสดงละครรำคณะชราชาตรี ของนางทองอาบ โตสวัสดิ์ นำท่าทางมาจากรูปลักษณ์ ลักษณะนิสัย และพฤติกรรมของนางแก้วหน้าม้าในวรรณคดีมาดัดแปลงให้เข้ากับการรำตีบทตามบทร้อง หรือบทเจราจาโดยใช้ภาษาท่าทางนาฏศิลป์เป็นกระบวนท่ารำตามรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทย เช่น ท่ายิ้ม ท่าอาย ท่าโกรธ ท่าร้องไห้ ท่าดีใจ ท่าไป ท่ามา เป็นต้น และท่ารำที่เลียนแบบท่าทางธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ท่าเดิน ท่ายืน ท่าวิ่ง ท่านั่ง เป็นต้น รวมถึงท่ารำที่เรียกกันว่ารำกำแบ คือ ท่ารำที่ทำมือง่าย ๆ เช่น การชี้ ไว้มือ เข้าอก ปรบมือ เป็นต้น หรือในบางครั้งจะสอดแทรกท่าทางความเป็นธรรมชาติของตัวเองเข้าไป โดยไม่เน้นกระบวนท่ารำที่ละเอียดประณีต ไม่ใส่จริตลีลาที่ซับซ้อน ซึ่งกระบวนท่ารำทั้งหมดที่เกิดขึ้นล้วนมาจากการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างมีจังหวะลีลาที่สัมพันธ์กันหมดทุกส่วนตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ประกอบการแสดงอารมณ์ตามรสในวรรณคดีสันสกฤตทั้ง 9 รส ซึ่งมีความหมาย การสื่ออารมณ์ และท่าทางต่างกันไป อาจส่งผลให้การแสดงกิริยาท่าทาง และการแสดงออกทางอารมณ์ต่าง ๆ ของนางแก้วหน้าม้าเกิดความหลากหลาย สนุกสนานจนได้รับความนิยม และแพร่หลายสืบมาจนถึงปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กุสุมา รักษมณี. (2534). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ. (2561). ความเป็นตลาดในละครรำ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2548). ความหมายและบทบาทของหน้าม้าของนางแก้วหน้าม้า. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 30(2), 487.
พัชรินทร์ อนันต์ศิรวัฒน์. (2561). อิทธิพลนิทานไทยเรื่องแก้วหน้าม้าที่มีต่อนิยายจีนแปลงเรื่องเจ็งฮองเฮา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 13(2), 97.
ภัสร์ธีรา ฉลองเดช. (2548). วิเคราะห์รสวรรณคดีที่ปรากฏในนิทานเวตาล ฉบับพระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณตามทฤษฏี รสในวรรคดีสันสฤษ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2534). ตัวละครหญิงในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 1893-2394). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สวธา เสนามนตรี. (2560). การรื้อฟื้นองค์ความรู้การแสดงละครชาตรี อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อมรา กล่ำเจริญ. (2535). วิธีสอนนาฏศิลป์ไทย. โอ เอส พริ้นดิ้งเฮ้าส์.
อัควิทย์ เรืองรอง. (2539). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องแก้วหน้าม้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชำนาญ แก้วสว่าง. ผู้ให้สัมภาษณ์. 29 มกราคม 2565.
ทองอาบ โตสวัสดิ์. ผู้ให้สัมภาษณ์. 20 มกราคม 2565.
สวธา เสนามนตรี. ผู้ให้สัมภาษณ์. 15 มีนาคม 2565.