สภาพและปัญหาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1

Main Article Content

ชินวัตร เจริญนิตย์
ภาณุพงษ์ บุญรมย์
สุวิมล โพธิ์กลิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการบริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และขนาดสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 241 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย โดยการสุ่มตัวเลขจำนวน 155 ตัวอย่าง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 155 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ มีค่าระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและปานกลางตามลำดับ ทักษะที่มีสภาพและปัญหามากที่สุด คือ ทักษะการสืบค้นข้อมูลและทักษะการสร้างนวัตกรรมดิจิทัล ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำแนกตามเพศ อายุ พบว่า ทั้งสภาพและปัญหา โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านการจำแนกตามประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีความแตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมมีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนสภาพทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่มีความแตกต่างกัน 3) แนวทางการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา พบว่าผู้บริหารควรเปิดใจรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนานวัตกรรมแก่บุคลากร และกระตุ้นให้บุคลากรในองค์กรของตัวเอง ได้รับความรู้ ความเข้าใจและฝึกทักษะปฏิบัติเพื่อให้สามารถนำพาองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลได้

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรีฑาพล แสนคำ. (2561). ปัญหาและแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2563. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จิรพล ศศิวรเดช. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนวัดพลาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยวิชญ์ เข็มปัญญา รชฏ สุวรรณกูฏ และทัศนา ประสานตรี. (2563). สภาพและแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษา เขต 22. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 4(3), 35-48.

ณิศรานันท์ ขันทอง และสุชาดา บุบผา. (2564). ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 148-163.

ณัฐวดี ศิลปะศักดิ์ขจร. (2558). การศึกษาสภาพการใช้ ปัญหาและอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศเพื่อการศึกษาภายในโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัด

นครปฐม. Veridian E-Journal, 8(2), 628-638.

ธานินทร์ อินทรวิเศษ. (2562). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. Humanities Social and arts Veridian E-Journal, 12(6), 478-494.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74. หน้า 1-23.

พิมพ์สุจี นวลขวัญ. (2555). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

มณฑาทิพย์ นามมุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรรณศร จันทโลหิต. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิริยะ โกษิต. (2560). การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนวัดป่าประดู่ จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2562, 18 พฤษภาคม). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและ

บุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. https://www.ocsc.go.th/digital_skills2

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2562, 11 เมษายน). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://onde.go.th/view/1/The_Committee_of_ONDE/EN-US

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (2558). Education platform for Thailand 4.0. The Knowledge, 1(6), 3-7.

อมรรัตน์ จินดา. (2558). สภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรจิรา รื่นเจริญ. (2563). การพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการในจังหวัดปราจีนบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อาอีซ๊ะฮ์ ฮายีเต๊ะ. (2563). สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Anderson, M. and Perrin, A. (2018, 26 October). Nearly one-in-five teens can’t always finish their homework because of the digital divide. https://www.pewresearch.org/fact-tank/2018/10/26/nearly-one-in-five-teens-cant-always-finish-their-homework-because-of-the-digital-divide

ECLAC. (2021). Digital Technologies for a new future. Economic Commission for Latin America and the Caribbean (ECLAC).

Erica Fenner-McAdoo. (2021, 8 October). How Administrators can Influence the Use of Technology in Their Schools. https://www.graduateprogram.org/2021/10/how-administrators-can-influence-the-use-of-technology-in-their-schools

Ozcanar, B and Dericioglu, S. (2017). The Role of School Administrators in The Use of Technology. Journal of Mathematics Science and Technology Education, 13(1), 253-268.

Simin, G., Mojgan, A., Saedah, S., & Kalaivani, S. (2013). ICT Application for Administration and Management: A Conceptual Review. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 103(13), 1344-1351.

Thompson, V. (2021, 13 September). Leading the Way on Technology Integration. https://www.edutopia.org/article/leading-way-technology-integration