การดำเนินการทางการตลาด 4.0 ของธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องดื่มสุขภาพ สำหรับผู้บริโภคสูงอายุ

Main Article Content

เอริสา ยุติธรรมดำรง
สุริย์วิภา ไชยพันธุ์
เบ็ญจวรรณ ลี้เจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อในบริบทการตลาด 4.0 และพฤติกรรมการซื้ออาหารเสริมและเครื่องดื่มสุขภาพ 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อในบริบทการตลาด 4.0 ของผู้บริโภคสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อในบริบทการตลาด 4.0 ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารเสริมและเครื่องดื่มสุขภาพของผู้บริโภคสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และ           4) เพื่อกำหนดตัวแบบสมการโครงสร้างของการดำเนินการทางการตลาด 4.0 ของธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องดื่มสุขภาพสำหรับผู้บริโภคสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุ        ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง


              ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อในบริบทการตลาด 4.0 และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารเสริมและเครื่องดื่มสุขภาพ 2) ส่วนประสมทางการตลาด ด้านสินค้า ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อในบริบทการตลาด 4.0 3) กระบวนการตัดสินใจซื้อในบริบทการตลาด 4.0 ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารเสริมและเครื่องดื่มสุขภาพ และ 4) ตัวแบบสมการโครงสร้างของการดำเนินการทางการตลาด 4.0 ของธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องดื่มสุขภาพสำหรับผู้บริโภคสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (CMIN/df = 1.320,        df = 48, P-value = 0.068, GFI = 0.993, CFI = 0.998, RMR = 0.009, RMSEA = 0.016)

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561, 30 ตุลาคม). สถิติผู้สูงอายุ. http://www.dop.go.th/th/know/

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2561, 8 ธันวาคม). โครงการตลาดสินค้าผู้สูงอายุ. http://www.ditp.go.th/

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2564, 15 มีนาคม). แนวโน้นอาหารและเครื่องดื่มในตลาดโลก ปี 2021. http://www.ditp.go.th/

ณัฐพงษ์ ชุมภู และ พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับและการบอกต่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 4(3), 30-46.

ปรียาณัฐ เสริมศิลป์ และ วิมลพรรณ อาภาเวท. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเกี่ยวกับรูปร่างที่ได้รับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.). วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 3(2), 30-38.

วุฒิภัทร บุญญะถาวรชัย และ ยอดมนี เทพานนท์. (2563). ทัศนคติและการบริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2563. (น. 895-908). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561, 30 ตุลาคม). ตลาดผู้สูงวัย ขุมทอง SME ไทย. https://www. kasikornresearch.com/

Gunawan, S. (2015). The impact of motivation, perception and attitude toward consumer purchasing decision: A study case of Surabaya and Jakarta society on Carl’s Junior. iBuss Management, 3(4), 154-163.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate data analysis. (8th ed.). Boston: Cengage.

Kline, R. B. (2011). Principle and practice of structural equation modeling (3rd ed). New York: The Guilford Press.

Kotler, P., Kartajaya, H. & Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0 moving from traditional to digital. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Kotler, P., Keller, K., & Chernev, A. (2022). Marketing management. (16th ed.). New Jersey: Pearson Education Limited.

Yamane, T. (1967). Statistics, An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.