การพัฒนาแบบฝึกทักษะการบรรเลงโปงลางพื้นฐานการเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์ยอแซฟมุกดาหาร

Main Article Content

กฤษฎา ตั้นวัฒนา
พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์
พงษ์พิทยา สัพโส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการบรรเลงโปงลางพื้นฐานการเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์ยอแซฟมุกดาหารให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการบรรเลงโปงลางพื้นฐานการเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์ยอแซฟมุกดาหาร ผู้วิจัยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์ยอแซฟมุกดาหาร ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการบรรเลงโปงลางพื้นฐานการเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์ยอแซฟมุกดาหาร มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.38/85.33 (E1/E2) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์ยอแซฟ มุกดาหาร มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการบรรเลงโปงลางพื้นฐานการเรียนระดับประถมศึกษาปีที 4 โรงเรียนเซนต์ยอแซฟ มุกดาหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. (2551) 2542. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จำนงค์ ศรีสถาน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี เรื่อง ดนตรีพื้นเมืองโปงลาง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษา วานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียน และบทเรียนบนเว็บ.

(พิมพ์ครั้งที่ 15). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

น้ำฝน ปินตา. (2560). การพัฒนาทักษะการบรรเลงขิมโดยวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา ปีการศึกษา 2560. โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา.

ปัญญา เสนภูงา. (2556). การวิจัยพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน สาระดนตรี ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) การรวมวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน (วงโปงลาง) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. โรงเรียนสร้างมิ่งประสิทธิผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.

ภิภพ ปิ่นแก้ว. (2559). การปฏิบัติโปงลาง. คณะศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สวพัด เพชรรัตน์ และคณะ. (2555) การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนรายวิชาการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออโดยประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพลงรำวงย้อนยุคระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อรดี แก้วชะเนตร. (2559). การศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตรทักษะปฏิบัติดนตรีไทยขั้นสูง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(3), 70-78.

อัจฉรา ชำนาญวงษ์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสาน พื้นฐานการตีโปงลาง แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.