ข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

จุฑาทิพย์ วรโชติโรจนวงษ์
ประกอบ คุณารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างสภาพ การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และทักษะ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อกำหนดข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 3) เพื่อประเมินข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จัดการเรียนการสอนบางรายวิชาเป็นภาษาอังกฤษทั่วประเทศ จำนวน 144 โรงเรียน ซึ่งได้มาจาก การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยมี ผู้อำนวยการ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และครูหัวหน้าโครงการ จำนวนโรงเรียนละ 3 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 432 คน กลุ่มเป้าหมายในการประเมินข้อเสนอแนวทาง ได้แก่ รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินข้อเสนอแนวทาง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้น


              ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ ด้านการฝึกปฏิบัติด้วยการเข้าค่ายภาษาอังกฤษ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถด้วยการฝึกอบรมครู มีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลกับ           การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้านการเชื่อมโยงกับความหมายและบริบท ด้านวิธีการส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียน มีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลกับทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา        2) ข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย เป้าประสงค์ เนื้องาน จุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติ 3) ข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สนับสนุนทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา ผ่านเกณฑ์การรับรองความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

คมชัดลึก. (2560, 15 มีนาคม). เรียนอังกฤษแต่เด็กทำไมพูดไม่ได้. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/265267.

ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์ และธัญภา ชิระมณี. (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะศิลปศาสตร์, สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ.

ปิยพงษ์ คล้ายคลึง และกาญจนา ตระกูลวรกุล. (2560). การติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาครูแกนนำด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วุฒิชัย เนียมเทศ. (2555). การบริหารโครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ (English Program) อย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 23(3), 2-18.

ศมณณ์ญา บุญประสพ และสุรชัย ไชยพจน์ (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษภาคภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์, 29(2), 158-174.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันภาษาอังกฤษ. (2557). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป ระดับชั้นมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562, 3 ธันวาคม). ผลการประเมิน PISA 2018 : นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/

Education First. (2020). EF English Proficiency Index – A Ranking of 100 Countries and Regions by English Skills. (2020 edition) Retrieved from https://www.ef.com/assetscdn/WIBIwq6RdJvcD9bc8RMd/cefcom-epi-site/reports/2020/ef-epi-2020-english.pdf

Guskey, T. R. (2000). Evaluation Professional Development. California: A sage.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Larsen - Freeman, D. (2002). Techniques and Principles in Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Lottie, B. and Janet, O. (2014). Communicative Language Teaching Approach and Integrating in Classroom. Bangkok: 9 – 11 January.

Richards, J. C. (2006). Communicative Language Teaching Today. Cambridge: Cambridge University Press.