การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานรายวิชาการงานอาชีพ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สมพร ล้ำจุมจัง
สมร ทวีบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานรายวิชาการงานอาชีพ ที่ส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้อย่างสร้างสรรค์ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้อย่างสร้างสรรค์ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนชุมชนบัวคำ จำนวน 13 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้อย่างสร้างสรรค์ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 แผน  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง งานประดิษฐ์ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย 0.20 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนก 0.20 – 0.80 และดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ไม่ใช่พารามิเตอร์


              ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้อย่างสร้างสรรค์ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 76.76/73.56 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ม.ป.พ.). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เดชกุล มัทวานุกูล. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนชุมชนบัวคำ. (2563). รายงานการประเมินตนเองประจำปีการศึกษา 2563 โรงเรียนชุมชนบัวคำ. โรงเรียนชุมชนบัวคำ.

เพชรรัตน์ นามมั่น. (2559). สอนงานอาชีพอย่างไรให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์. วารสารโรงเรียนตลาดสำรอง, 1(1), 1-9.

ภานุวัฒน์ พันชนกกุล. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รัตนชัย ทาตัน. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเรียนคอมพิวเตอร์ ระหว่างการเรียนรู้แบบโครงงานกับการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเชิง สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2562). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิรวิชญ์ บำรุงพงษ์. (2562). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารพื้นบ้านจังหวัดระยอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 – 2580 (ฉบับย่อ) (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 185-199.

อานนท์ พิลาภ. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติงานอาชีพโดยใช้รูปแบบโครงงาน กลุ่ม สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.