การใช้หลักทศพิธราชธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครพนม

Main Article Content

ณัฐนพิน ทินโน
บุญมี ก่อบุญ
วาโร เพ็งสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการใช้หลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้หลักทศพิธราชธรรมกับความมีประสิทธิผลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา 4) ศึกษาการใช้หลักทศพิธราชธรรมที่มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา 5) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้หลักทศพิธราชธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน 346 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้หลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ส่วนแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก    3) ความสัมพันธ์ของการใช้หลักทศพิธราชธรรมกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูงอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 4) การใช้หลักทศพิธราชธรรม ด้านความอดทน (ขันติ) และ ด้านความซื่อตรง (อาชชวะ) มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 77.20 5) แนวทางในการพัฒนาการใช้หลักทศพิธราชธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา มี 2 ด้าน คือ ด้านความซื่อตรง (อาชชวะ) และด้านความอดทน (ขันติ) 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

จรัส อติวิทยาภรณ์. (2553). หลักการและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัย

ทักษิณ.

ณัฐมน สมตน. (2565). การบริหารตามแนวทศพิธราชธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์}. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทรงสวัสดิ์ แสงมณี. (2553). ลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความต้องการของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 4(1), 59–70.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาสน์.

พระจักรี บางประเสริฐ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแนวทศพิธราชธรรมกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พระมหามงคล สารินทร์, เรือเอกอภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์, สมชาย เทพแสง. (2556). การบริหารงานตามแนวพุทธธรรม. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 84-88.

พระมหาวีระพนธ์ ผองผาลา. (2556). การปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาสังกัดสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาอมร มหาลาโภ. (2561). ทศพิธราชธรรมกับการปกครองของไทยในปัจจุบัน. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 1(2), 94-105.

เพ็ญนภา พิลึก. (2556). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา:กรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัทราวดี ตรีโอษฐ์ .(2559). สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดสานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เมธี นาอุดม. (2563). การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วรรณา แช่มพุทรา. (2559). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร สถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

วาทิตยา ราชภักดี. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. สุรีริยาสาส์น.

วิไลลักษณ์ มั่งสมบูรณ์. (2554). การใช้หลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท อ่างทอง อุทัยธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการประเมิน

คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา.

โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562.

ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). โครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน (พ.ศ. 2557–2560

สะท้อนปัญหาและทางออกตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาไทย. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อภิรักษ์ สุจริตจันทร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามหลักทศพิธราชธรรมภาวะผู้ตามที่มี

ความกล้าหาญ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อิศรา หาญรักษ์. (2563). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.