การเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 1

Main Article Content

วิชาญ ถิระโคตร
ภานุพงศ์ บุญรมย์
พงษ์ธร สิงห์พันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ของสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อสภาพการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอก  แนวใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 320 คน โดยใช้ตารางการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบ มีโครงสร้างโดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับตามวิธีของครอนบาคเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และสถิติทดสอบค่าเอฟ เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ


              ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อวิเคราะห์รายคู่พบว่าโรงเรียน สถานศึกษาขนาดกลางมีความพร้อมมากกว่าสถานศึกษาขนาดเล็กสถานศึกษาขนาดใหญ่มีความพร้อมมากกว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก 3) ปัญหาและแนวทางการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ของสถานศึกษาปัญหาที่พบคือ ขาดรูปแบบในการจัดทำรายงานที่ชัดเจน บุคลากรยังขาดความเข้าใจในการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ ไม่มีงบประมาณในการเช่าพื้นที่เก็บข้อมูล ไม่มีนวัตกรรมในดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ขาดการเก็บหลักฐานข้อมูลในระบบออนไลน์และขาดการบริหารจัดการที่ดีในการเก็บเอกสารหลักฐานและร่องรอย แนวทางการเตรียมความพร้อม คือ จัดอบรมการเขียนรายงานการประเมินตนเองของให้แก่สถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมในการประเมิน กำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรอย่างชัดเจน ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเองด้านระบบสารสนเทศ ดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบ เตรียมเอกสารหลักฐานและร่องรอยจัดเป็นหมวดหมู่ในแต่ละมาตรฐานการศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. (2565). รายงานประจำปี 2564. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต1.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2561). ตามรอยพระยุคลบาท เรื่องชีวิต วัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). ห้างหุ้นส่วนจำกัดวนิดาการพิมพ์.

เทวา ตั้งวานิชกพงษ์. (2556). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7(1), 59.

ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2557). พื้นฐานการจัดการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

บัณฑิตพงศ์ ท้าวทุมมา. (2560). การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน ซ่องฟ้าซิน เซิงวาณิชบำรุง จังหวัดเชียงใหม่. Veridian e-joournal silpakorn university, 10(3), 2195-2198.

พิรุณศักดิ์ มหานิติพงษ์. (2564). สภาพและแนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 66-68.

ลินดา พรมฤทธิ์. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ของโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วนีภรณ์ สุขวงศ์. (2557). การศึกษาปัญหาและการเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 3 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุพรรณวดี ศรีปัตเนตร. (2563). การศึกษาปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. บริษัท พี เอ็น เค แอนด์ สกายพรินติงส์.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการประเมินคุณภาพตามาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

_________. (2563). การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

อรพิน ภิญโญภาวศุทธิ. (2547). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Sheahan, P. M. (2001). Curriculum and Teachers Attitude: The Impact of the Change Process in Special Education [Abstracts]. Doctoral Dissertation University of Cambrige. In Dissertation Abstracts International. 62 (93), 5819 – A.

Wong, M. N. C. & Li H. (2010). From External Inspection to Self Evaluation: A Study of Quality Assurance in Hong Kong Kindergartens. Early Education and Development. 21(2), 205–233.