สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน เป็นผู้บริหาร จำนวน 21 คน และครูจำนวน 189 คน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.958 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร โดยภาพรวมพบว่า ผู้บริหารและครูที่มีตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และการปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนชายขอบจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล สถานศึกษาควรมีการรวบรวมข้อมูลด้านความสามารถพิเศษของนักเรียนอย่างเป็นระบบ ด้านการคัดกรองนักเรียน สถานศึกษาควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบ ด้านการส่งเสริมและพัฒนา สถานศึกษาควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้สอดคล้องต่อนโยบายสถานศึกษา ด้านการป้องกันและแก้ปัญหา สถานศึกษาควรมีการช่วยเหลือดูแลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาอย่างใกล้ชิด และด้านการส่งต่อ นักเรียนที่ส่งต่อควรได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและรวดเร็ว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กรดา มลิลา. (2564). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชัยภูมิ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 30 – 42.
กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2547). สาระระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
ขวัญเนตร มูลทองจาด. (2564). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิดาภา มาประดิษฐ์. (2556). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
นิพนธ์ วิลุน. (2563, 23 มีนาคม). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6, การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7 ประจำปี 2563 [Symposium]. วิทยาลัยนครราชสีมา.
นูรมาน พิทักษ์สุขสันต์.(2564). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสายบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.
ปกาวรรณ แก้วโพธิ์. (2559). ผลการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
พรพัฒน์ ภักดิ์โพธิ์ (2558). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์.
พลพัทรชัย งามแสง เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรมและพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2559).การพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบ จังหวัดศรีสะเกษ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
มธุรดา ดวงจันทร์. (2553). สภาพและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดไทยาวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุสมา ปานาบากา. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดนราธิวาส [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลา.
รัชพล เที่ยงดี. (2563). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วราวุฒิ เหล่าจินดา. (2559). สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยม เขต 32 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
ศิวา ขุนชำนาญ. (2564, 23 มิถุนายน). การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 [Symposium]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สายจิตรา นิสาย มัลลิกา การกสิขวิธี และนารท ศรีละโพธิ์. (2563).คุณธรรมจาเป็นสาหรับโรงเรียนชายขอบทางภาคเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
สุทธิรัตน์ หัตถกิจ. (2552). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภาวดี ลาภเจริญ และกิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2562). รูปแบบการบริหารงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้ปกครองในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ โรงเรียนพนัสพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 7(1), 15-32.
สุภัสสร สุริยะ. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. (2566). https://web.facebook.com/spmSiSaKetYasothon.pr
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559) คู่มือการการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน.กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560) ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนhttps://web.facebook.com/obec.spcc/?locale=th_TH&_rdc=1&_rdr
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf
อดิศร แย่งคุณเชาว์. (2559). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 11 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุไรรัตน์ พลขันธ์. (2558). สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 9(2), 188-191.
อัษฎายุท โพธิ์นอก. (2558). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เอกชัย ภูผา. (2561, 20 มีนาคม). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสตรีระนอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14. เอกสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 [Symposium]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities.
Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.