รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช: การศึกษาในฐานะวรรณกรรมคำสอนขุนนาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร ศึกษาข้อมูลจากรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามหลักแนวคิดวรรณกรรมคำสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา คำสอนขุนนางที่ปรากฏจากรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 2) ศึกษากลวิธีการสอนขุนนางที่ปรากฏจากรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร โดยวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่าเรื่องรามเกียรติ์ปรากฏคำสอนขุนนาง 2 ประการ ได้แก่ 1) การปฏิบัติตนต่อพระมหากษัตริย์ 2) การปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยคำสอนทั้ง 2 ประการนี้ มีที่มาจากวรรณคดีคำสอนแบบฉบับ คือ โคลงพาลีสอนน้อง และโคลงราชสวัสดิ์ อันเป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย สำหรับกลวิธีการสอนขุนนางของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พบว่า ทรงใช้กลวิธีในการสอนขุนนาง 2 รูปแบบ คือ 1) การสอนแบบตรงไปตรงมา โดยสอนให้ขุนนางรู้ว่าสิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ 2) การสอนโดยการเสนอข้อคิด ทรงนำเสนอข้อคิดให้ขุนนางเห็นว่าไม่ควรปฏิบัติหน้าที่เกินพระราชโองการ นอกจากนี้ยังทรงชี้แจงให้เห็นผลเสียของการปฏิบัติหน้าที่เกินพระราชโองการด้วยว่า อาจสร้างความไม่พอใจให้พระมหากษัตริย์ เหตุที่รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีคำสอนสำหรับขุนนางปรากฏในเนื้อเรื่อง เป็นเพราะพระราชประสงค์ที่จะควบคุมขุนนางให้อยู่ในระเบียบวินัย และรู้จักวิธีการปฏิบัติตนต่อพระมหากษัตริย์ ตลอดจนรู้จักหน้าที่ในการปฏิบัติราชการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กรมศิลปากร. (2508). ชุมนุมพระราชนิพนธ์และบทประพันธ์. ป. พิศนาคะ การพิมพ์.
________. (2539). วรรณกรรมสมัยธนบุรี เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ห้างหุ้นส่วนจำกัดจงเจริญการพิมพ์.
ดนัย ไชยโยธา. (2550). ประวัติศาสตร์ไทย : ยุคกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2).
โอเดียนสโตร์.
ดาวรัตน์ ชูทรัพย์, ชำระและอธิบาย. (2541). บทละครเรื่องรามเกียรติ์สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนพระราม
ประชุมพลจนองคตสื่อสาร. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ทรงศักดิ์ ปรางวัฒนากุล. (2519). วิเคราะห์วรรณกรรมล้านนาเรื่องเจ้าวิทูรสอนหลานและ พระลอ
สอนโลก [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ธวัช ปุณโณทก. (2525). วรรณกรรมท้องถิ่น. โอเดียนสโตร์.
นิยะดา เหล่าสุนทร และคณะ. (2540). ภูมิปัญญาของคนไทย: ศึกษาจากวรรณกรรมคำสอน. สำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ. (2549 ข). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ศิลปาบรรณาคาร.
________. (2549 ค). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 10). ศิลปาบรรณาคาร.
________. (2549 ง). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 4 (พิมพ์ครั้งที่ 10). ศิลปาบรรณาคาร.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2544). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7).
ศิลปาบรรณาคาร.
พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ. (2542). วรรณกรรมสุภาษิตสำหรับสอนผู้หญิง. วารสารศิลปากร, 42(1), 113-121.
โมรี ชื่นสำราญ และเทือก กุสุมา ณ อยุธยา. (2512). ภาษาไทย ตอน 3 ประวัติวรรณคดีไทย
(พิมพ์ครั้งที่ 2). องค์การค้าของคุรุสภา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์
พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2563). โอกาสใหม่ในวรรณคดีศึกษา. แสงดาว.
วราภรณ์ บำรุงกุล (2542). ร้อยกรอง. บริษัท ต้นอ้อ 1999 จำกัด.
วิไลเลขา ถาวรธนสาร และคณะ. (2563). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
สมพันธุ์ เลขะพันธุ์. (2561). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พิมพ์ครั้งที่ 12). มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
สมรรัตน์ พันธุ์เจริญ. (2542). พื้นฐานวรรณคดีไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ และ
สังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
สุรพงษ์ โสธนเสถียร. (2526). วิเคราะห์รามเกียรติ์ : การแปลความหมายทางการเมือง [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
เสาวณิต จุลวงศ์. (2536). โครงสร้างของสังคมในรามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.