การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบและหาแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ตัวอย่างในการวิจัย คือข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ จำนวน 341 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน และผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนรวม 8 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ โดยกำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูจำแนกตามตำแหน่งและขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มที่มีระดับการใช้งานมากที่สุดคือข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 5 – 10 รองลงมาคือข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไปและข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 5 ปี ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ด้านการพัฒนาหลักสูตรควรนำเทคโนโลยีมาใช้จัดอบรม ด้านการวัดผลประเมินผลควรจัดอบรมโปรแกรมอื่นๆ ด้านการนิเทศการศึกษาควรมีการนิเทศออนไลน์ ด้านการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน ควรใช้เทคโนโลยีให้หลากหลาย ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรนำเทคโนโลยีมาใช้สืบค้น จัดเก็บและเผยแพร่งานวิจัยทางเว็ปไซต์ของโรงเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
ถวัลย์ พอกประโคน. (2557). สภาพการบริหารงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาน์น.
ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ปิยะนุช บัวชุม. (2561). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 [สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พิชัย เสงี่ยมจิตต์. (2551). การบริหารงานเฉพาะด้านในสถานศึกษา. ข้าวฟ่าง.
พิมล โชติธนอธิวัฒน์. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม [งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี.
มยุรี สมใจ. (2551). การบริหารงานวิชาการสู่เกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของชาติกลุ่มโรงเรียนปง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 2 [งานนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการ. ภาควิชาการบริหารศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
รุ้งลดา ผินสู่. (2556). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิชัย พรหมบุตร. (2559). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วินัย เพ็งวัน, ปรีชา คัมภีรปกรณ์ และรัชฎาพร งอยภูธร. (2564). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดนครพนม. การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 9(35), 300.
ศรัณย์ภัทร์ ไตรสุวรรณ. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ศิลา สงอาจินต์. (2557). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สงบ อิทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น.
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2542). แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. อำนาจเจริญ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี.
หทัย ศิริพิน. (2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านกระทุ่มล้มนครราษฎร์ประสิทธิ์ [การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Miller, V. (1965). Administration of American school. New York: Mc Millan.