รูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการประชุมสนทนากลุ่ม/การจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานบุคคล และครู โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 810 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน และระยะที่ 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 24 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ รองลงมาได้แก่ ด้านการธำรงรักษาคนดีคนเก่ง และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานและค่าตอบแทน ตามลำดับ ส่วนความต้องการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมและรายด้านมีความต้องการอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานและค่าตอบแทน รองลงมา ได้แก่ ด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และด้านงานวินัยและการสร้างความผูกพันกับบุคลากร ตามลำดับ 2) รูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีการดำเนินงาน 4) วิธีการประเมิน 5) เงื่อนไขความสำเร็จ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) การประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ พบว่า มีความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ณัฐวุฒิ เอี่ยมแจง และสมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2560). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงาน
บุคคลในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย. วารสารมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 36-57.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. ข้าวฟ่าง.
นิตยา นิลรัตน์. (2547) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สุราษฎร์ธานี เขต 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประสงค์ เอี่ยมเวียง. (2558).รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ตามนโยบายสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต].
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ศตปพร มีสุขศรี. (2564). ปัญหาและผลกระทบในการบริหารงานบุคคลของเทศบาลเมืองควนลัง
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัญฑิต].
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร. (2559). สรุปผลสำคัญสำรวจการ
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2559.
http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/icthh59.pdf
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อม
สู่ศตวรรษที่ 21. พริกหวานกราฟฟิค.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สมพร ใจคำปัน. (2547). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอฮอด จังหวัด
เชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Cooper, W.A. (2001). Study of the merit reward ford for teacher programs in honor.
Englewood cliff, New Jersey: New Hampshire & Harding Township
Prensky (2001, p. 3). Educational Technology for School Leaders. California: Unites
States of America.
Sosnowski, J. (2012). Advantages and Disadvantages of Technelogy in Education.