การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการรับรู้และสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายมีการรับรู้ต่อสุขภาพแบบองค์รวมใน 4 ลักษณะ คือ 1) การใช้ชีวิตที่อยู่บนความไม่แน่นอนได้อย่างมีความสุข 2) การมีชีวิตบั้นปลายที่ไม่ต้องพึ่งยา 3) การดำเนินชีวิตที่ได้ดั่งใจ 4) การมีชีวิตยืนยาวที่พึ่งตัวเองได้ และจากการรับรู้นี้นำไปสู่การจัดการสร้างสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน 6 รูปแบบด้วยกัน คือ 1) ออกแบบชีวิตในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยศักยภาพตนเอง 2) ยอมรับความเสื่อมของร่างกายและดำเนินชีวิตอย่างมีสติรู้เท่าทัน 3) จัดการชีวิตประจำวันให้มีความสุขด้วยธรรมมะควบคู่ไปกับการอยู่ความเจ็บป่วย 4) สร้างเครือข่ายสนับสนุนในการบริหารจัดการชีวิตและความเจ็บป่วย 5) สร้างกำลังใจในการมีชีวิตให้อยู่เหนือกายตามความเชื่อและศรัทธา และ 6) การมีจิตวิญญาณในการใช้ชีวิตอย่างพอพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา จากข้อค้นพบนี้เสนอแนะให้บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทุกฝ่ายในชุมชนนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวมที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุภายใต้บริบทบริบทเฉพาะของพื้นที่ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ทิศกรมการแพทย์ 2560 DMS Direction 2017. บริษัทอาร์ตควอลิไฟท์จำกัด.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ และมาริสา สุวรรณราช. (2562). สภาพปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(2) : 118-132.
คณัสนันท์ สงภักดิ, นฤมล สินสุพรรณ, และวีณาอิศรางกูร ณ อยุธยา. (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมบ้านไชยสอ ตําบลไชยสอ อําเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. มนุษยสังคมสาร (มสส.). 17(2): 159-178.
ณัฏฐสิชา ภาภัคธนานันท์, กฤติกา แสนโภชน์, และประจญ กิ่งมิ่งแฮ. (2562). รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6 (10): 6001-6016.
พระครูอรรถจริยานุวัตร(สุเทพ ศรีทอง).(2564).การเตรียมตัวตายตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิชา
การโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 8(1):55-66.
พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2563). โพชฌงค์: พุทธวิธีเสริมสุขภาพ ฉบับไทย –อังกฤษ.
กรุงเทพมหานคร : ผลิธัมม์.
รณรงค์ จันใด. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม ในเขต เทศบาลนครนนทบุรี. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 16(1): 96-110.
กรมกิิจการผู้้สููงอายุุ. (2566). สถานการณ์์ผู้้สููงอายุุไทยุ พ.ศ. 2565. กรุุงเทพฯ : บริิษััท อมรินทร์ คอร์์เปอ
เรชั่นส์่์ จำกัด (มหาชน)
สุภาดา คำสุชาติ. (2560). ปัญหาและความต้องการดูแลทางสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย:
ข้อเสนอแนะทางนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(6): 1156-1164.
อุบลรัตน์ วิเชียร, ดำรงค์ศักดิ์ สอนแจ้ง, เจษฎา บุญราศี. (2565). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนการ
ดูแลสุขภาพวิถีพุทธของผู้สูงอายุ จังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารพยาบาลทหารบก, 23 (3):80-88.
Ester, HK Yung, Conej S.,Edwin HW Chan. (2016) Social needs of the elderly and active
aging in public open space in urban renewal. 52:114-122.
Phadungyam M, Duvall AC.(2018) Rehabilitation Strategies for Resilience Quotient in the
Elderly. Journal of The Royal Thai Army Nurses.; 19(1):63-72.
Hatthakit U.(2014). Holistic nursing care integrating Eastern wisdom. Songkhla: Max Media.
Koc, K.K. & Aslan,G.K. (2023). Older People’s Perception and Experience Regarding.Health Promotion in Turkey: A Qualitative Study, Clinical Nursing Research.32(4) : 691–698.
Speziale, H. S., Streubert, H. J., & Carpenter, D.R. (2011). Qualitative research in nursing: Advancing the humanistic imperative. Lippincott.