การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติจิตอาสา

Main Article Content

เจนจิรา ปาทาน
สุธิดา ชัยชมชื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ให้ความสำคัญการเรียนด้วยการลงมือปฏิบัติบูรณาการร่วมกับกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม วัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อ  1) หาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนและก่อนเรียน 3) ศึกษาทักษะการสอนเป็นทีม และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาคณิตศาสตร์ จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลทางการเรียน เป็นข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ 3) แบบประเมินทักษะการสอนเป็นทีม จำนวน 6 ข้อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 42 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา


              ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ คือ 84.43/81.47 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80  2) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05  3) ทักษะการสอนเป็นทีม อยู่ในระดับดี 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2563, 24 สิงหาคม). คุณลักษณะบัณฑิตราชภัฏในศตวรรษที่ 21. [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2562). 10 สมรรถนะหลัก ปั้นเด็กไทยฉลาดรู้ อยู่ดีมีสุข มีความสามารถสูงและใส่ใจสังคม.

บังอร เสรีรัตน์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฐานสมรรถนะแบบผสานรายวิชา สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ,15(2), 143–158.

ปราโมทย์ จันทร์เรือง และ เยาวภา พิทักษ์กิจวัฒนา. (2564). การพัฒนาทักษะและเทคนิคการสอนโดยใช้การสอนทักษะตามหลักการของดี เชคโก (De Cecco) ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(2). 131– 144.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561, 13 ตุลาคม). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561–2580). ตอนที่ 82 ก. หน้า 1.

วัชรา เล่าเรียนดี ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษา. เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ปจํากัด.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). มูลนิธิสดศรี –

สฤษวงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2560). เส้นทางสู่คุณภาพการศึกษายุคประเทศไทย 4.0. การประชุมเชิงวิชาการทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล ศูนย์ประชุมสตาร์เวลล์

จังหวัดนครราชสีมา.

วินัย เพ็งภิญโญ, กฤช สินธนะกุล, และ ธัญญรัตน์ น้อมพลกรัง. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแผนการสอนฐานสมรรถนะโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการอ้างเหตุผลด้วยฐานกรณี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(3), 179 – 191.

ศุภชัย อาชีวระงับโรค. (2552). Practical PDCA แก้ปัญหาและปรับปรุงงานเพื่อความสำเร็จ. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1).

พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา และ กฤช สินธนะกุล. (2562). การจัดการเรียนการสอนตามฐานสมรรถนะด้วยกระบวน การเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสาธิต เรื่อง ภาษาเอสคิวแอล รายวิชาการจัดการฐานข้อมูล. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 10(2), 1-10.

Batson, C. D. (1991). The altruism question: Toward a social-psychological answer.

Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report No. 1. Washington, D.C.: The George Washington University, School of Education and Human.

Dale, E. (1969). Audio Visual Method in Teaching. (4 th ed). New York : Holt Rinehart and

Winston Inc. Development.

De Cecco, J. P. (1968). The psychology of learning and instruction. Prentice-Hall.

Delors, J. (1996). Learning: The Treasure Within. Report to UNESCO of the International

Commission on Education for the Twenty-first Century. Paris: UNESCO

Publishing.

Dewey, J. (1916). Democracy and Education: An Introduction to the Philosophy of Education. New York: The Free Press.

Felder, R. & Brent, R. (1996). Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction.

Journal of College Teaching. 44(2), 43-47.

Fredrickson, B. (2011). Positivity: Groundbreaking Research to Release Your Inner Optimist and Thrive. London : Oneworld Publications.

Montessori, M. (1949) The Absorbent Mind. Adyar: The Theosophical Publishing House.

Rogers, C. R. (1969). Freedom to learn: A view of what education might become.

Columbus, OH: Charles Merrill.