การออกแบบชุดการสอนมัลติมีเดียตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติทางดนตรีร่วมกับการใช้สัญลักษณ์มือของโคดายสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรี (insight music) ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดการสอนมัลติมีเดียตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติทางดนตรีร่วมกับการใช้สัญลักษณ์มือของโคดายสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา แผนกนานาชาติ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 3 ห้องเรียน นักเรียน จำนวน 90 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนมัลติมีเดียตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติทางดนตรีร่วมกับการใช้สัญลักษณ์มือของโคดายสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและแผนการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรี (insight music )เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาดนตรี (insight music) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.807 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนมัลติมีเดียตามแนวการสอนทักษะปฏิบัติทางดนตรีร่วมกับการใช้สัญลักษณ์มือของโคดาย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 15.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.58 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 21.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.57
Article Details
References
กนกรัตน์ ปิลาผล. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่น เรื่อง สำนวนการให้-รับ สำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2553). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้า ออฟ เคอร์มิสท์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
วรรณวุฒิ วรรณารุณ. (2553). ผลของการใช้กิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของโคได ที่มีต่อทักษะทางดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทรงธรรม อำเภอ
พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. จิตวิทยาการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรางคณา จูเจริญ. (2561). การพัฒนาทักษะการขับร้องโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
ร่วมกับแนวคิดของโคดายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Anderson & Krathwolh. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, And Assessing: A revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives.
New York: Pearson, Allyn & Bacon.
Choksy, L. (1999). The Kodaly method I. New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Dave, R. (1967). Psychomotor domain. Berlin: International Conference of Educational Testing.
Kanokrat Pilaphon. (2017). The Development of Japanese Multimedia Learning Package on Giving - Receiving Expressions For students
majoring in Japanese. Program and teaching program, Naresuan University.
Ministry of Education. (2009). Basic Core Education Course 2008. Bangkok, Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.
Narut Suthachit. (2010). Music teaching behavior. Bangkok, The Publisher of Chulalongkorn University.
Pichit Ritcharoon. (2016). Principles of educational measurement and evaluation. Bangkok, House of Courts.
The Secretariat of the Council of Education. (2017). National education plan 2017-2036. Bangkok, Chilli Graphic Company Limited.
Wananwut Wannarun. (2010). The effect of using music activities according to Kodai's concepts on musical skills of mathayom suksa 6 students
at Wat Songtham School Phra Pradaeng District Samut Prakan Province. Master of Education Degree in Educational Psychology at
Srinakharinwirot University.
Warangkana Jujaroen. (2018). Development of critical thinking ability and singing skills by using inquiry-based learning management and
coding concepts for mathayom suksa 3 students. A Thesis Program and Teaching Program, College of Education Sciences, Dhurakij
Pundit University.