การรายงานข้อมูลการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีต่อผลการดำเนินงาน ในมุมมองของนักลงทุน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

Main Article Content

เสนีย์ พวงยาณี
สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์
ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรายงานข้อมูลการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีต่อผลการดำเนินงานในมุมมองของนักลงทุนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 8 อุตสาหกรรม โดยผ่านเงื่อนไขการคัดเลือกประชากรเข้าเกณฑ์เป็นกลุ่มตัวอย่าง 446 บริษัท และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อทดสอบการเปิดเผยข้อมูลการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ส่งต่อผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และทดสอบสมมติฐานที่กำหนดไว้ในการศึกษา มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า การรายงานการเปิดเผยข้อมูลการกำกับดูแลกิจการที่ดีไม่มีอิทธิพลและไม่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ในขณะที่ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร และกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานในมุมมองของนักลงทุนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยสมการพยากรณ์ ROE = 3.040 + 17.654 (CGCS), ROE = 14.196 + 0.049(CGRS) และ ROE = 14.196 + 0.049(CGIT) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2549). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2549. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 31, จาก http://www.set.or.th.
_______. (2550). ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กันยายน 30, จาก http://www.set.or.th.
_______. (2556). แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัท
จดทะเบียน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กันยายน 30, จาก http://www.set.or.th.
บรรษัทภิบาลแห่งชาติ. (2556). ความหมายของการกำกับดูแลกิจการ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ เมษายน 10, 2556, จาก http://www.cgthailand.org/SetCG/index.html.
ภัทรพร พงศาปรมัตถ์. (2553). คุณลักษณะของรายการกำไรและระดับการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสของกิจการ: หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีดุษฎีบัณฑิต บัญชี, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). ทฤษฎีบรรษัทภิบาล. 31(120), 2–4.
_______. (2552). กลไกบรรษัทภิบาลเพิ่มมูลค่ากิจการจริงหรือไม่. 32(121), 1 – 4.
ศศิวิมล มีอำพล และศรายุทธ เรืองสุวรรณ. (2552). บรรษัทภิบาลจะช่วยยกระดับผลการดำเนินงานของกิจการได้จริงหรือ: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนหมวดอาหารและเครื่องดื่มในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 6(17), 57 – 64.
สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2557). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี. 10(28), 5-18.



อธิชัย ธนเหลืองอร่าม. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเปิดเผยข้อมูลตามมุมมอง Balanced scorecard กับผลปฏิบัติงานทางการเงินวัดโดยอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) และอัตรา ผลตอบแทนจากรายได้ (ROR) : กรณีศึกษา: บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต คณะ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Lee C. (2011). Corporate Governance and the Information Efficiency of Asset Price. A dissertation submitted to the Faculty of the Graduate School of the University at Buffalo, State University of New York in partial fulfillment of the requirements for the degree of Doctor of Philosophy Department of Finance and Managerial Economics.
Memili E. (2011). Control Enhancing Corporate Governance Mechanisms: Family Versus Nonfamily Publicly Traded Firms. A dissertation submitted to the Faculty of Mississippi State University in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Doctor of Philosophy in Management in the Department of Management and Information Systems Mississippi State, Mississippi.
Supana Sukanantasak. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการและคุณภาพของกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 10(27), 14 – 431.