แนวทางการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

Main Article Content

พชรวรรณ โพธิ์น้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี  และ 2) แนวทางการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 5 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 175 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) และผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 2) แบบบันทึกข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) แบบสัมภาษณ์สภาพการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี และประเด็นการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านผลผลิตมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา และความสำเร็จของสถานศึกษา รองลงมาคือด้านบริบท ได้แก่ อัตลักษณ์ของสถานศึกษา และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา และด้านที่อยู่ในลำดับสุดท้าย คือ ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า  มีปัญหา 4 ประเด็น คือ (1) งบประมาณที่ไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา (2) บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอ เนื่องจากบุคลากรย้ายกลับภูมิลำเนาและเกษียณ (3) วัสดุครุภัณฑ์และอาคารสถานที่ค่อนข้างเก่า ไม่ทันสมัย และเสื่อมสภาพ และ (4) ผู้เรียนมีจำนวนลดลง เนื่องจากจำนวนอัตราการเกิดของประชากรลดลง 2) แนวทางการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 พบว่า (1) รัฐควรมีการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ของทางราชการและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปรับบทบาท ภารกิจ และความรับผิดชอบของสถานศึกษา (2) สถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบุรี ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานประกอบการต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา (3) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารงานภายในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาให้รองรับกับนโยบายของรัฐบาล (4) ครูผู้สอนควรพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และสร้างนวัตกรรมได้ และจัดการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธุ์ สว่างวิทย์. (2555). การศึกษาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในจังหวัดลำปาง ประเภทวิชา
ช่างอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ดวงนภา มกรานุรักษ์. (2554). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2554 – 2564). วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บรรจง พลขันธ์. (2555). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยการอาชีพวาปีปทุม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2553. (2553). ราชกิจจานุเบกษา. 127. (ตอนที่ 45 ก), 1.
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. 125. (ตอนที่ 43 ก), 1 – 24.
พิศณุ ทองเลิศ. (2555). นวัตกรรมการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภท
ช่างอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579
(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2555). นโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสู่สากล พ.ศ. 2555 – 2569. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอาชีวศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). Thailand 4.0 คืออะไร นโยบายนี้จะช่วยพัฒนาประเทศเราได้อย่างไร.
สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 5, 2561, จาก http:// www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/…/dwnt/…/uatucm282681.pdf.