ผลกระทบของคุณภาพการรายงานทางการเงิน และบุพปัจจัยต่อการรับรู้ภาพลักษณ์องค์การของบุคลากรบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษา 1) ผลกระทบของความรับผิดชอบต่อสังคมต่อการกำกับดูแลกิจการ คุณภาพการรายงานทางการเงิน และภาพลักษณ์องค์การ 2) ผลกระทบของกำกับดูแลกิจการต่อคุณภาพการรายงานทางการเงิน และภาพลักษณ์องค์การ และ 3) ผลกระทบของคุณภาพการรายงานทางการเงินต่อภาพลักษณ์องค์การ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 729 ราย และนำมาวิเคราะห์ตัวแบบจำลองสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนได้เสีย 15 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรับผิดชอบต่อสังคมมีผลกระทบทางบวกต่อการกำกับดูแลกิจการ แต่ไม่มีผลกระทบทางตรงต่อคุณภาพการรายงานทางการเงินและภาพลักษณ์องค์การของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) การกำกับดูแลกิจการมีผลกระทบทางบวกต่อคุณภาพการรายงานทางการเงิน และไม่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์องค์การของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3) คุณภาพการรายงานทางการเงินมีผลกระทบทางบวกต่อภาพลักษณ์องค์การของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อค้นพบใหม่หรือคุณค่าของงานวิจัยนี้ได้เสนอเส้นทางสู่การมีภาพลักษณ์องค์การที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต้องเริ่มจากการมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเบื้องต้นก่อนจึงจะสามารถสร้างการกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อส่งผลให้องค์การมีคุณภาพรายงานทางการเงินที่อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์การที่ดีในที่สุดที่ดี เพื่อส่งผลให้องค์การมีคุณภาพรายงานทางการเงินที่อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์การที่ดีในที่สุด
Article Details
References
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). การกำกับบริษัทจดทะเบียน. สืบค้นเมื่อ เมษายน 8, 2563, จาก https://www.set.or.th/th/regulations/supervision/listed_download_p5.html.
ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒนิ์ และคณะ. (2561). การจัดการการเงิน การตลาด และการผลิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
พงศ์ปณต พัสระ และสุชีพ พิริยสมิทธิ์. (2562). การบริหารจัดการบรรษัทบริบาลของสถาบันการเงินในประเทศไทย. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(2), 71-80.
วัฒนี รัมมะพ้อ และนิ่มนวล วิเศษสรรพ์. (2561). ความสามารถเปรียบเทียบได้ของงบการเงิน : หลักฐานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 14(42), 5-20.
สมพงษ์ พรอุปถัมภ์. (2561). รู้ทันรายงานทางการเงินและเข้าถึงรายงานของผู้สอบบัญชี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับปรังปรุงปี 2562. สืบค้นเมื่อ เมษายน 15, 2563, จาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/94713.
สุภัทร์ตรา นัตสูงวงษ์ และวรกร แช่มเมืองปัก. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินต่อภาพลักษณ์องค์กรของธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ (หน้า 1-12). เชียงใหม่: ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สิรินธร มหาวิทยาลัยพายัพ.
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย. (2562). นโยบายการกำกับดูแลกิจการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย.
Ali, H.Y., Danish, R.Q., & Hag, M.A. (2019). How corporate social responsibility boosts firm financial performance: the mediating role of corporate image and customer satisfaction. Journal of Business Research, 68(2), 341-350.
Antal, A.B., Dierkies, M., MacMillan, K. & Marz, L. (2002). Corporate social reporting revisited. Journal of General Management, 28, 22-42.
Anzib, N.A. (2015). The role corporate governance on financial reporting’s quality (evidence from Indonesia Stock Exchange). Research Journal of Finance and Accounting, 6(6), 128-132.
Beyer, A., Cohen, D.A., Lys, T.Z., & Walther, B.R. (2010). The financial reporting environment: Review of the recent literature. Journal of Accounting and Economics, 50(2-3), 296-343.
Biddle, G.C., Hilary, G., & Verdi, R.S. (2009). How dose financial reporting quality relate to investment efficiency?. Journal of Accounting and Economics, 48(2-3), 112-131.
Cha, J.B. & Jo, M.N. (2019) The effect of the corporate social responsibility of Franchise coffee shops on corporate image and behavioral intention. Sustainability, 11(6849), 1-16.
Diamantopoulos, A., & Siguaw, J.A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage.
Feleaga, L., Dumitrascu, M., & Feleaga, N. (2016). Corporate social responsibility and its impact on corporate governance: comparative study between listed companies on Bucharest and Bombay stock exchange. International Journal of Economics and Management Engineering, 10(11), 3758-3763.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Hoglund, H., & Sundvik, D. (2016). Financial reporting quality and outsourcing of accounting tasks: evidence from small private firms. Advances in Accounting, 35(1), 125-134.
Houcine, A. (2017). The effect of financial reporting quality on corporate investment efficiency: evidence from the Tunisian Stock Market. Research in International Business and Finance, 42, 321-337.
Jung, E.S., Park, B.J. & Kim, D. (2019). The Effects of Corporate Social Responsibility (CSR) activity type and message type on corporate image. Korean Review of Corporation Management, 10(4), 29-46.
Kiabel, B.D., & Oyadonghan, K.J. (2015). Measuring corporate image and profitability form the perspective of comprehensive income and social cost reporting. International Journal of Economics, Commerce and Management, 3(3), 1-14.
Kotler, P. & Lee, N. (2005). Corporate social responsibility: doing the most good for your company and your cause. Hoboken, New Jersey: John Wiley &Sons, Inc.
Rusady, W.P. & Prasetyo, A.B. (2018). Effect of corporate governance and disclosure of corporate social responsibility on the quality of financial statements. Journal InFestasi, 14(2), 146-153.
Salvioni, D.M. (2003). Corporate governance and global responsibility. Symphonya. Emerging Issues in Management, 1, 44-54.
Singh, K.S.D., Islam, Md. A., & Ariffin, K.H.K. (2014). The relationship between corporate social responsibility and brand image – a review. Advances in Environmental Biology, 8(9), 430-435.
Soana, M. G. (2011). The relationship between corporate social performance and corporate financial performance in the banking sector. Journal of Business Ethics, 104, 133–148.
Tabachnick, B.G., & Fidell, L.S. (2007). Using multivariate statistics. USA: Pearson Education Inc.
Taolin, M.L., Utomo, M.N., Wahyudi, S. & Pangestuti, I.R.D. (2019). How does good corporate governance create customer trust? the role of service quality and corporate image. Journal of Management Systems, 20(173), 37-42.
Wu, C.F. (2006). The study of the relations among ethical considerations, family management and organizational performance in corporate governance. Journal of Business Ethics, 68, 165-179.