คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ปรางทิพย์ เสยกระโทก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการจำแนกตามรูปแบบของธุรกิจ ทุนจดทะเบียน และประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ สถานประกอบการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอเมืองนครพนม จำนวน 809 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 268 ราย โดยใช้สูตร Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน ประกอบด้วย ค่าสถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของสถานประกอบการต่อคุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุคดิจิทัลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณสมบัติของนักบัญชีที่สถานประกอบการมีความต้องการมากที่สุด คือ ด้านทักษะคุณลักษณะเฉพาะบุคคล ในประเด็นเรื่องความระมัดระวังสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สถานประกอบการที่มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน มีความต้องการคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์แตกต่างกัน ในด้านทักษะทางวิชาการเชิงการปฏิบัติและหน้าที่งาน และด้านทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครพนม. (2565). ข้อมูลธุรกิจเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ นครพนม. สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/data-storage/attachment/b7f78d014465e1aa095d5393.pdf

กาญจนา มงคลนิพัทธ์ และนิตยา มณีนาค. (2559). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. (รายงานการวิจัยประจำปี 2559). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว, ยุพรัตน์ จันทร์แก้ว, นิภาพร นุ่มนวล และเชิดพงษ์ ขาประดิษฐ์. (2559). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก. (รายงานการวิจัย). คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก.

ชลิดา ลิ้นจี่, กนกมณี หอมแก้ว และสุภาพร บุญเอี่ยม. (2563). ความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 34-45.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ประนอม ตังปรีชาพาณิชย์. (2555). คุณลักษณะและคุณสมบัติของพนักงานบัญชีที่พึงประสงค์ตามทัศนะของสถานประกอบการ ศึกษากรณีสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 7(2), 158-173.

พรสิริ สุขผ่อง และนัยนา แคล้วเครือ. (2565). สมรรถนะนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 11(1), 146-156.

มาลิณี สายก้อน และไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2555). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีที่พึงประสงค์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 1(1), 77-86.

วรพรรณ รัตนทรงธรรม, วริศรา ดวงตาน้อย, สุพรรษา จิตต์มั่น และตุลาพร จันทร์กวี. (2564). คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับสถานประกอบการในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 3(2), 5-20.

วันวิสา กลิ่นหอม และพรเทพ รัตนตรัยภพ. (2561). คุณลักษณะของนักบัญชีที่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพึงพอใจ. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 (631-645). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 3 เรื่องทักษะวิชาชีพ. สืบค้นจาก www.tfac.or.th/upload/9414/1s721TNQoM.pdf

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/66888

สำนักงานบัญชีร่วมแรงและแบ่งปัน. (2564). คุณสมบัติของนักบัญชีมืออาชีพตามข้อกำหนดของ IES. สืบค้นจาก http://tac.prosmes.com/Article/Detail/21682/

สุดธิดา การด. (2562). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลของสถานประกอบการในจังหวัดเลย. สารนิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Ala-Heikkilä, V , & Järvenpää, M (2003) Management accountants’ image, role and identity: employer branding and identity conflict. Qualitative Research in Accounting & Management, 20(3), 337-371.

Alamäki, A., & Korpela, P. (2021). Digital transformation and value-based selling activities: seller and buyer perspectives. Baltic Journal of Management, 16(2), 298-317.

Chen, J., Liu, L., & Wang, Y. (2021). Business model innovation and growth of manufacturing SMEs: a social exchange perspective. Journal of Manufacturing Technology Management, 32(2), 290-312.

Franke, F., & Hiebl, M.R.W. (2023). Big data and decision quality: the role of management accountants’ data analytics skills. International Journal of Accounting & Information Management, 31(1), 93-127.

Peter, M.K., Kraft, C., & Lindeque, J. (2020). Strategic action fields of digital transformation: An exploration of the strategic action fields of Swiss SMEs and large enterprises. Journal of Strategy and Management, 13(1), 160-180.

Palumbo, R. (2023). Involved at work and disinvolved out of work: unraveling the implications of involvement on accountants’ work–life balance. Management Decision, 61(13), 26-53.