บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ซึ่งจำแนกตามระดับการศึกษา ตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 357 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC = 0.80 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการศึกษาพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นต่อบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ( = 4.34) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (
= 4.30) ด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา (
= 4.29) และด้านการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร (
= 4.29) 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ในขณะที่จำแนกตามระดับการศึกษากลับพบว่าโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2557 – 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2563). สภาพและองค์ประกอบของการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(2), 103 – 122.
ฐรินภา ใจสุภาพ. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนตามทรรศนะของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดพะเยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ณัฐิกานต์ ปังศรีวงศ์. (2563). การพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนตลาดหนองหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เบญจพร สุคนธร. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
ปริญญาพร ขุนพรม. (2564). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฝ้าตีม๊ะ จงกลบาน. (2562). การปฏิบัติงานตามบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
พุทธิพงษ์ ทองเขียว. (2562). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เรวัตร วงศ์วุฒิ. (2564). การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ลัดดาวรรณ เนานาดี. (2565). ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ลัดดาวัลย์ พัวพันวัฒนะ. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
วัฒนชัย บุญสนอง. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วัชราภรณ์ คงเกิด. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สุราษฎร์ธานี:มหา วิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วินัย เพ็งวัน. (2563). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศศิกาญจน์ แปงงามนวกุล. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ศักดา ทัดสา. (2564). กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สามารถ งามขำ. (2563). แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูโรงเรียนในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร จังหวัดลพบุรี ในยุคนิวนอร์มัล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (2564). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report : SAR) ประจำปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพฯ.
อดิศร ก้อนคำ. (2563). กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อภิวิชญ์ สนลอย. (2565). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 96–97.
อมรรัตน์ สุริยะบุญ. (2566). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.วารารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 14(1), 59–70.
Cohen, Louis; Manion, Lawrence; & Morrison, Keith. (2011). Research Method in Education. (7thed). New York: Morrison.
Eric Bass. (2019). International Society for Technology In education Standards for Education Leader and Education Technology Leadership Among South Dakota High School Principals. Educational Administration Program in the Graduate School University of South Dakota.
Laura Michelle Reeves. (2019). Leading Technology Integration: The Principal as An Educational Technology Leader. Graduate and Professional Studies of Texas A&M University.
Ndidi L. Okeke. (2019). School Technology Leadership: A New Concept. International Journal of Innovative Development and Policy Studies, 7(2), 50-56.
Ratheeswari, K. (2018). Information communication technology in education. Journal of Applied and Advanced research, 3(1), 45-47.
Rosemary Papa. (2011). Technology Leadership for School Improvement. California: SAGE Publications.