Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • คู่มือการส่งบทความสำหรับผู้เขียน (Submission Manual)

    ท่านสามารถศึกษาวิธีการส่งบทความได้จากไฟล์ที่แนบมานี้

    For authors who are interested in submitting articles to be published in Silpakorn University Journal, the attached Submission Manual shows you how to submit the article step by step.
  • ไฟล์เอกสารที่ต้องแนบมาเพื่อส่งบทความ (Submission Requirements)

    1. ต้นฉบับบทความ (Manuscript)

    2. แบบฟอร์มขอส่งบทความ (Submission Form)

    3. ผลตรวจอักขราวิสุทธิ์ (Plagiarism Result) ต้องมีผลการซ้ำซ้อนไม่เกิน 17% และต้องไม่มีการซ้ำซ้อนในส่วนผลการวิจัย

    4. ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)
    (หมายเหตุ : ถ้าเอกสารไม่ครบถ้วนทางวารสารจะไม่ดำเนินการต่อ)
  • แบบฟอร์มขอส่งบทความ (NEW Submission Form เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป)

    ขอให้ท่านกรอกข้อมูลในไฟล์ที่แนบมานี้ให้ครบถ้วน แล้วแนบไฟล์เอกสารในขั้นตอนถัดไป (Upload Submission) หรือส่งเอกสารแยกต่างหากมาที่อีเมลของเจ้าหน้าที่ประสานงานวารสาร ([email protected] )

    For authors who are interested in submitting articles to be published in Silpakorn University Journal, please fill the Submission Form and attach it when you submit your manuscript or send it to email: [email protected]
  • การออกหนังสือรับรองตีพิมพ์บทความ

    บทความที่ได้รับการ Accepted แล้ว วารสาร Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) จะออกหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความให้กับผู้เขียนที่เป็นเจ้าของบทความ โดยจะไม่ระบุปีที่และฉบับที่ที่จะเผยแพร่ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเพื่อใช้ในการบริหารจัดการบทความให้มีความเหมาะสมกับธีมของวารสารที่จะออกในแต่ละฉบับ

  • ผู้เขียนสามารถดาวน์โหลด แม่แบบบทความวิจัย /แม่แบบบทความงานศิลปะหรือผลงานสร้างสรรค์ หรือ แม่แบบบทความวิชาการและบทความปริทัศน์ เพื่อใช้ประกอบการจัดเตรียมบทความ


    Authors can download the template of research article/creative work article or academic article and review article for preparing a submission.

  • บทความที่ส่งมาต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น

    The manuscripts must neither have been previously published, nor be in progress of other journals.

  • ไฟล์บทความที่ส่งจะต้องเป็นไฟล์ .docx หรือเปิดได้ด้วยโปรแกรมชุด OpenOffice, Microsoft Word, หรือ WordPerfect

    The manuscripts must be in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.

  • ขอบเขตของบทความที่รับตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) (Scope)
    ขอบเขตเนื้อหาของบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร มีเนื้อหาอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ซึ่งได้แก่
    ภาษาศาสตร์และวรรณคดี
    ประวัติศาสตร์
    โบราณคดี
    ปรัชญาและศาสนา
    วิจิตรศิลป์ (ทัศนศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง ฯลฯ)
    ภูมิภาคศึกษา
    การท่องเที่ยวและการโรงแรม
    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    วัฒนธรรมศึกษา
    สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
    ประชากรศาสตร์
    สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
    ภูมิศาสตร์
    สารสนเทศศาสตร์ สารสนเทศศึกษา และบรรณารักษศาสตร์
    ศึกษาศาสตร์ การศึกษา หรือครุศาสตร์ (ด้านบริหารการศึกษา/การศึกษาตลอดชีวิต/การศึกษาเพื่ออนาคต)
    บริหารธุรกิจ และการจัดการโลจิสติกส์
    สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
  • หลักเกณฑ์การประเมินบทความ

    บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะผ่านการพิจารณาคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) ที่เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ อย่างน้อย 3 คน จากหลากหลายสถาบัน

นโยบายการพิจารณาบทความ
บทความที่ส่งเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์อื่นใด ทั้งนี้ บทความที่ได้รับการพิจารณาทุกบทความ ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer-reviewed) อย่างน้อย 3 ท่าน  (แบบ Double Blind) โดยผลการพิจารณาบทความอาจมีทั้งตอบรับการตีพิมพ์โดยไม่มีการแก้ไข หรือตอบรับการตีพิมพ์โดยมีการแก้ไข หรือปฏิเสธการตีพิมพ์
     บทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ผู้แต่งยังคงสิทธิ์ในบทความ แต่ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ หรือแปลเพื่อตีพิมพ์ในแหล่งอื่นใดโดยปราศจากการยินยอมจากบรรณาธิการ และความรับผิดชอบในเนื้อหาบทความยังคงเป็นของผู้เขียน ซึ่งทางวารสารมิได้มีส่วนรับผิดชอบในความผิดพลาดในเนื้อหาดังกล่าว

ค่าใช้จ่ายเพื่อตอบรับการตีพิมพ์
ค่าใช้จ่ายเพื่อตอบรับการตีพิมพ์ วารสาร Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) มีอัตราค่าตอบรับสำหรับบทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว (accepted) ในอัตรา ดังนี้

1. บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยศิลปากร                                                 อัตราบทความละ 4,000 บาท

2. บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร (ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง)

           2.1 อาจารย์ และเจ้าหน้าที่                                                        อัตราบทความละ 1,500 บาท

           2.2 นักศึกษา (ระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา)                ไม่เสียค่าใช้จ่าย

โดยวารสารฯ จะเรียกเก็บเมื่อบทความได้รับการอนุมัติให้ตีพิมพ์แล้ว

ประเภทบทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ เป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในสื่อใด ๆ มาก่อน ความยาวไม่เกิน 17 หน้า (รวมรายการอ้างอิง) ได้แก่

1. บทความวิจัย (Research article) คือบทความที่นําเสนอผลจากการศึกษาวิจัยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน โดยกล่าวถึงภูมิหลัง ความเป็นมา ความสําคัญของปัญหาวัตถุประสงค์ของการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ทฤษฎีและกรอบแนวคิด การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปและอภิปรายผลการวิจัย รวมทั้งข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ รวมทั้งประเด็นในการวิจัยครั้งต่อไป
ส่วนประกอบของบทความวิจัย
ชื่อเรื่อง: เป็นส่วนแรกของบทความ โดยต้องระบุทั้งชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
บทคัดย่อ: เป็นส่วนที่ระบุถึงที่มาหรือความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ข้อค้นพบที่สำคัญ(ผลการวิจัย และการอภิปรายผล) และการนำไปประยุกต์ใช้ (มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และจบใน 1 ย่อหน้า) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ข้อความสั้น กระทัดรัด กระชับ ถูกต้อง ชัดเจน และมีสาระที่สมบูรณ์
คำสำคัญ: เป็นคำ หรือวลีที่เป็นตัวแทนเนื้อหาของบทความ เพื่อใช้เป็นคำค้นในฐานข้อมูล 
บทนำ: เป็นส่วนที่บรรยายข้อมูลพื้นฐาน ความสำคัญของปัญหา และสาเหตุ หรือข้อถกเถียงที่นำไปสู่การวิจัยเพื่อหาคำตอบ
วัตถุประสงค์การวิจัย: เป็นส่วนที่ระบุถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการวิจัย
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและกรอบแนวคิดการวิจัย: เป็นการศึกษาทบทวนสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี จากเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วสรุปมาเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในเรื่องที่ทำวิจัย ทำให้มองเห็นภาพรวมของการทำวิจัย ทั้งนี้ อาจใช้การบรรยาย แผนภูมิ แผนภาพ หรือแบบจำลองก็ได้
ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นส่วนที่อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างครอบคลุมและชัดเจน
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกระบวนการวิจัย ตารางหรือแผนภูมิประกอบแสดงให้เห็นถึงข้อค้นพบสำคัญ และไม่ควรเกิน 5 ตาราง
สรุปและอภิปรายผล: การสรุปผลการวิจัยจะต้องสอดคล้องกับปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย และมีหลักการหรือทฤษฎีรองรับ
รายการอ้างอิง: เป็นรายการบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลที่ได้กล่าวอ้างในเนื้อหา โดยเขียนตามรูปแบบการอ้างอิงแบบ APA format (American Psychological Association)

ส่วนบทความงานศิลปะหรือสร้างสรรค์ (Creative work article) เป็นบทความที่นำเสนอผลจากงานศิลปะหรือสร้างสรรค์ รายละเอียดการเขียนบทความควรประกอบด้วยชื่อบทความ บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keyword) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่มาและความสำคัญของงาน วัตถุประสงค์ แนวความคิด กระบวนการ เทคนิค วัสดุอุปกรณ์ องค์ความรู้ที่ได้ ปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัด (ถ้ามี) และข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง
ส่วนประกอบของบทความศิลปะหรืองานสร้างสรรค์
ชื่อเรื่อง: เป็นส่วนแรกของบทความ โดยต้องระบุทั้งชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
บทคัดย่อ: เป็นส่วนที่ระบุถึงที่มาหรือความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของงาน กระบวนการ เทคนิค วัสดุอุปกรณ์ ข้อค้นพบที่สำคัญ (องค์ความรู้ที่ได้ อุปสรรคและข้อจำกัด) (มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และจบใน 1 ย่อหน้า) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ข้อความสั้น กระทัดรัด กระชับ ถูกต้อง ชัดเจน และมีสาระที่สมบูรณ์
คำสำคัญ: เป็นคำ หรือวลีที่เป็นตัวแทนเนื้อหาของบทความ เพื่อใช้เป็นคำค้นในฐานข้อมูล
บทนำ: เป็นส่วนที่บรรยายข้อมูลพื้นฐาน ความสำคัญของของงานศิลปะหรืองานสร้างสรรค์
วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์: เป็นส่วนที่ระบุถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของงานศิลปะหรืองานสร้างสรรค์
แนวความคิดในการสร้างสรรค์: เป็นการกล่าวถึงหลักการ แนวคิดหรือทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างสรรค์
กระบวนการ เทคนิค วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์: เป็นการบรรยายถึงขั้นตอนหรือระเบียบวิธีที่ใช้ในการสร้างสรรค์งาน
องค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างสรรค์: เป็นการบรรยายผลที่ได้จากการสร้างสรรค์งาน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกระบวนการสร้างสรรค์
ปัญหา อุปสรรคหรือข้อจำกัด (ถ้ามี) และข้อเสนอแนะ: บรรยายถึงปัญหา อุปสรรคหรือข้อจำกัด และข้อเสนอแนะในการสร้างสรรค์งาน
เอกสารอ้างอิง: เป็นรายการบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลที่ได้กล่าวอ้างในเนื้อหา โดยเขียนตามรูปแบบการอ้างอิงแบบ APA format (American Psychological Association)

2. บทความวิชาการ (Academic article) คือ บทความที่มุ่งวิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการ โดยสำรวจวรรณกรรมและมีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนแนวคิด จนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ มีเนื้อหาเน้นหนักไปในด้านวิชาการ เสนอความคิด องค์ความรู้ใหม่ หรือเป็นการตีความ ค้นคว้าหาข้อเท็จจริง
ส่วนประกอบของบทความวิชาการประกอบด้วย
ชื่อเรื่อง: เป็นส่วนแรกของบทความ โดยต้องระบุทั้งชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
บทคัดย่อ: เป็นส่วนที่สรุปเนื้อหาของบทความ เห็นถึงที่มาหรือความสำคัญของประเด็นที่ศึกษา องค์ความรู้หรือข้อเท็จจริงที่พบ การเสนอแนวคิด ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ข้อความสั้น กระชับ ถูกต้อง ชัดเจน และมีสาระที่สมบูรณ์ โดยเขียน 1 ย่อหน้า และมีความยาว 250-300 คำ
คำสำคัญ: เป็นคำ หรือวลีที่เป็นตัวแทนเนื้อหาของบทความ เพื่อใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล
บทนำ: เป็นส่วนที่บรรยายเพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเนื้อหาที่เขียน และจูงในให้ผู้อ่านสนใจ
เนื้อหา: เป็นส่วนหลักของบทความ มีการวางเค้าโครงที่ความสอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา การนำเสนอร้อยเรียงอย่างสอดคล้องกัน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย
บทสรุป: เป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมดอย่างย่อและชัดเจน อาจมีการเปรียบเทียบถึงข้อแตกต่างหรือข้อดีข้อเสีย
รายการอ้างอิง: เป็นรายการบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลที่ได้กล่าวอ้างในเนื้อหา โดยเขียนตามรูปแบบการอ้างอิงแบบ APA format (American Psychological Association)

3. บทความปริทัศน์หรือบทวิจารณ์วรรณกรรม (Review article) คือ บทความที่เรียบเรียงขึ้นโดยมุ่งวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบเพื่อนำเสนอแง่มุม แนวคิด ประเด็นปัญหา ตลอดจนแนวโน้มขององค์ความรู้และความเข้าใจใหม่ ๆ
ส่วนประกอบของบทความปริทัศน์ประกอบด้วย
ชื่อเรื่อง: เป็นส่วนแรกของบทความ โดยต้องระบุทั้งชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
บทคัดย่อ: เป็นส่วนที่สรุปเนื้อหาของบทความ เห็นถึงที่มาหรือความสำคัญของประเด็นที่มุ่งศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจารณ์ เสนอแง่มุมแนวคิดหรือองค์ความรู้ที่น่าสนใจใหม่ ๆ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ข้อความสั้น กระชับ ถูกต้อง ชัดเจน และมีสาระที่สมบูรณ์ โดยเขียน 1 ย่อหน้า และมีความยาว 250-300 คำ
คำสำคัญ: เป็นคำ หรือวลีที่เป็นตัวแทนเนื้อหาของบทความ เพื่อใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล
บทนำ: เป็นส่วนที่บรรยายเพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเนื้อหาที่เขียน และจูงในให้ผู้อ่านสนใจ
เนื้อหา: เป็นส่วนหลักของบทความ มีการวางเค้าโครงที่ความสอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา การนำเสนอร้อยเรียงอย่างสอดคล้องกัน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย
บทสรุป: เป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมดอย่างย่อและชัดเจน อาจมีการเปรียบเทียบถึงข้อแตกต่างหรือข้อดีข้อเสีย
รายการอ้างอิง: เป็นรายการบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลที่ได้กล่าวอ้างในเนื้อหา โดยเขียนตามรูปแบบการอ้างอิงแบบ APA format (American Psychological Association)

การเตรียมต้นฉบับ 

ก. ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ
ชื่อบทความควรตั้งให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาในบทความ และมีความน่าสนใจ โดยต้องมีความยาวไม่เกิน 85 อักขระ (รวมการเว้นวรรค)

ข. ชื่อผู้แต่งและสังกัด 
ให้ระบุชื่อ นามสกุล อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ที่ทำงานของผู้เขียนทุกคน (ใส่ตัวเลขที่เป็นตัวยก (superscript) กำกับ ส่วนสังกัด อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ที่ทำงานของผู้เขียนให้ระบุในส่วนเชิงอรรถท้ายหน้า

ค. บทคัดย่อ
บทคัดย่อภาษาไทยต้องปรากฏในหน้าแรกของบทความ ย่อหน้าเดียว ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ หรือไม่ควรเกิน 300 คำ โดยจะต้องมีใจความที่สั้น กะทัดรัด กระชับ ถูกต้อง ชัดเจน อ่านแล้วเห็นถึงภาพรวมของงานวิจัยทั้งหมด มีที่มาหรือความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่างานวิจัยนี้ต้องการทราบอะไร มีขั้นตอนวิธีการในการดำเนินงานวิจัย วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ มีผลการศึกษาที่ระบุข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัยที่โดดเด่นและมีความสำคัญ มีการสรุปรวบยอดผลการวิจัยและมีข้อเสนอแนะ ที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกทึ่งกับผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ  หรือมีประสิทธิภาพ และ/หรือมีคุณค่า สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปช่วยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาได้อย่างไร สำหรับบทคัดย่อที่เป็นภาษาอังกฤษ (Abstract) นั้น จะต้องมีใจความที่สอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาไทย และมีการใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

ง. คำสำคัญ
คำหรือวลีที่เป็นคำสำคัญจะต้องเป็นคำที่เหมาะสมที่ใช้เป็นตัวแทนเนื้อหาสำหรับการสืบค้นบทความ (3-6 คำ)

จ. ส่วนเนื้อหา 
เนื้อหาบทความจะต้องแบ่งเป็นหัวข้อหลัก ดังนี้
1. บทความวิจัย ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3) การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและกรอบแนวคิดการวิจัย 4) วิธีดำเนินการวิจัยและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  5) ผลการศึกษาวิจัย 6) อภิปรายและสรุปผลการวิจัย 7) ข้อเสนอแนะ 8) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) 9) References (รายการอ้างอิง)
    บทความศิลปะหรืองานสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ 3) แนวความคิดในการสร้างสรรค์ 4) กระบวนการ เทคนิค วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ 5) องค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างสรรค์ 6) ปัญหา อุปสรรคหรือข้อจำกัด (ถ้ามี) 7) ข้อเสนอแนะ 8) References (รายการอ้างอิง)
2. บทความวิชาการ ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) เนื้อหา (ชื่อหัวข้อและจำนวนหัวข้อ แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบทความ) 3) บทสรุป 4) References (รายการอ้างอิง)
3. บทความปริทัศน์หรือบทวิจารณ์วรรณกรรม ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) เนื้อหา (ชื่อหัวข้อและจำนวนหัวข้อ แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบทความ) 3) บทสรุป 4) References (รายการอ้างอิง)

ฉ. ภาพประกอบและตาราง
คำอธิบายเพิ่มเติมของรูปภาพ ตาราง และเชิงอรรถควรจัดวางให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหา โดยเชิงอรรถจะต้องมีตัวเลขที่เป็นตัวยกกำกับ ส่วนภาพประกอบควรมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi

ช. รายการอ้างอิง 
การเขียนรายการอ้างอิงของบทความในวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association: APA Citation Format) โดยประกอบด้วยการอ้างอิงในเนื้อหาและการอ้างอิงท้ายบทความ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

การอ้างอิงในเนื้อหา : ให้อ้างอิงชื่อสกุลผู้แต่ง หรือชื่อเรื่องในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งโดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และต่อด้วยปี ค.ศ.ที่พิมพ์ ทั้งเอกสารที่เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยมีรูปแบบดังนี้
(นามสกุลผู้เขียน, ปีพิมพ์: เลขหน้าที่ปรากฏ)

การอ้างอิงหน้าข้อความ ตัวอย่างเช่น
ผู้เขียนคนเดียว

- สุมาลี วีระวงศ์ (Weerawong, 2009: 37) กล่าวว่า การที่ผู้หญิงจะไปสื่อชักผู้ชายมาบ้านเรือนของตัวเองทั้ง ๆ ที่เขายังไม่ได้มาสู่ขอนั้น เป็นเรื่องผิดขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี…

- เช่นเดียวกับ Lowenfeld (1967) ที่ได้กล่าวถึง...

ผู้เขียนสองคน

- ในขณะที่ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (Dachakupt & Yindeesuk, 2014) กล่าวว่า...

- เช่นเดียวกับ Baron and Richardson (1994) ที่กล่าวว่า...

ผู้เขียนสามคนหรือมากกว่า  อ้างครั้งแรก ให้ระบุนามสกุลครบทุกคน อ้างครั้งต่อไป ให้ระบุนามสกุลเพียงคนแรก ตามด้วย et al.
- ในขณะที่ Alraimi, Zo, and Ciganek (2015) ได้อธิบายว่า MOOC ให้ความสำคัญกับความเปิดกว้าง... เช่นเดียวกับ Alraimi et al. (2015) ที่ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นภาพที่สะท้อนต่อคุณภาพ…

- สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริมงคล ทนทอง, สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, บุญเชิด ภิญญโญอนันตพงษ์, และเยาวพา เดชะคุปต์ (Thonthong, Pinyoanantapong, Pinyoanantapong, & Dechakup, 2010) ที่ได้ศึกษา... เช่นเดียวกับการศึกษาของ ศิริมงคล ทนทอง และคณะ (Thonthong et al., 2010) ที่อธิบายเพิ่มเติมว่า...

การอ้างอิงท้ายข้อความ ตัวอย่างเช่น
ผู้เขียนคนเดียว

- โสเกรติสย้ำว่าการอ่านสามารถจุดประกายได้จากสิ่งที่นักอ่านรู้อยู่แล้วเท่านั้นและความรู้ที่ได้รับมาไม่ได้มาจากตัวหนังสือ (Manguel, 2003: 127)

ผู้เขียนสองคน

- สันนิษฐานว่าลูกปัดรูปแบบดังกล่าว น่าจะถูกผลิตขึ้นเพื่อประหยัดต้นทุนในการผลิตลูกปัดแก้วสีส้มและสีแดง ซึ่งเป็นสีที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากสามารถผลิตได้รวดเร็วกว่าและลดต้นทุนลงจากเดิม ทำให้เพียงพอต่อความต้องการลูกปัดในขณะนั้น (Dussubieux & Gratuze, 2013: 403)

ผู้เขียนสามคนหรือมากกว่า อ้างครั้งแรก ให้ระบุนามสกุลครบทุกคน อ้างครั้งต่อไป ให้ระบุนามสกุลเพียงคนแรก ตามด้วย et al.

- จากการศึกษาที่ผ่านมายังพบว่าประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวสามารถส่งผลต่อภาพลักษณ์ปลายทางในเชิงบวกและก่อให้เกิดความตั้งใจที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวอีกครั้ง (Zhang, Fu, Cai, & Lu, 2014) นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า... (Zhang et al., 2014)

การอ้างอิงเอกสารทุติยภูมิ ตัวอย่างเช่น งานของ Arnett ถูกอ้างอยู่ในงานของ Claiborne และ Drewery เราไม่สามารถหางานของ Arnett ได้ ให้ระบุงานของ Claiborne และ Drewery โดยให้ระบุชื่อผู้แต่งเอกสารต้นฉบับ ปีที่พิมพ์ และคำว่า “as cited in” แล้วตามด้วยชื่อผู้แต่งเอกสารทุติยภูมิและปีที่พิมพ์ สำหรับการลงรายการอ้างอิงท้ายบทความ ให้ลงชื่อผู้แต่งเอกสารทุติยภูมิเท่านั้น

การอ้างอิงหน้าข้อความ ให้ระบุดังนี้

- Arnett (2000, as cited in Claiborne & Drewery, 2010) ...

การอ้างอิงท้ายข้อความ ให้ระบุดังนี้

- … (Arnett, 2000 as cited in Claiborne & Drewery, 2010)…

การอ้างอิงท้ายบทความ : การเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความเป็นการระบุข้อมูลบรรณานุกรมของเอกสารที่มีการอ้างอิงในเนื้อหา (ยกเว้นการสื่อสารส่วนบุคคล เช่น การสื่อสารผ่านอีเมล ข้อความส่วนตัว หรือการสัมภาษณ์ เนื่องจากไม่อาจสืบค้นย้อนหลังได้และเป็นการปกป้องผู้ให้ข้อมูลการวิจัยตามข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์) โดยรูปแบบของรายการอ้างอิงจำแนกตามประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- การระบุผู้แต่ง ให้ใช้นามสกุล ตามด้วยอักษรตัวแรกของชื่อต้นสำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ ส่วนเอกสารภาษาไทยที่เขียนโดยคนไทยให้ระบุนามสกุล และตามด้วยชื่อเต็ม
- เอกสารที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทย ให้วงเล็บชื่อเรื่องภาษาไทยต่อท้ายชื่อเรื่องภาษาอังกฤษเสมอ
- ใช้เครื่องหมาย & แทนคำว่า and ในการอ้างอิงเสมอ ทั้งในการอ้างอิงเอกสารภาษาไทยและเอกสารภาษาต่างประเทศ
- ทุกรายการที่ยาวเกิน 1 บรรทัด เมื่อขึ้นบรรทัดต่อไปให้เยื้องเข้าไปอีก 8 อักขระ โดยเริ่มที่ตำแหน่งที่ 9

หนังสือ
นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปีพิมพ์).\ชื่อหนังสือ\(ครั้งที่พิมพ์).\เมืองที่พิมพ์:\สำนักพิมพ์.    
ตัวอย่าง
Weerawong, Sumalee. (2009). The thai Way of Life in Phra Lor (วิถีชีวิตไทยในลิลิตพระลอ)
             (3rd ed.). Bangkok: Sataporn Books.

Tidd, J., Bessant, J., & Pavitt, K. (2001). Managing Innovation (2nd ed.). Chichester: John Wiley
              and Sons.

บทความหรือบทในหนังสือ
นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ\In ชื่อบรรณาธิการ,\ชื่อหนังสือ,\ครั้งที่พิมพ์.\(เลขหน้า).\เมืองที่พิมพ์:\สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง

Sharp, S. F., & Eriksen, M. E. (2003). Imprisoned Mothers and Their Children. In B. H. Zaitzow & J.   
             Thomas (Eds.), Women in Prison: Gender and Social Control, (pp. 119-136). Boulder,
             CO: Lynne Rienner Publishers.

(ในกรณีที่ไม่ปรากฏรายชื่อบรรณาธิการ ให้นำชี่อหนังสือมาต่อได้เลย)

Srisamang, Surasak. (1994). History and Art (ประวัติศาสตร์ และศิลปะ). In Muang Nan, Archaeology, 
              History and Art (เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ), 2nd ed. (pp. 42-174). Bangkok:
              Chuan Pim.

บทความวารสาร
นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ.\ชื่อวารสาร,\ปีที่(ฉบับที่):\หน้าที่ปรากฏบทความ. 
ตัวอย่าง
Pakdeekham, Santi. (2005). Sri Ramadeba Nagara (ศรีรามเทพนคร : สร้อยนามหรือชื่อเมือง).
              Damrong  Journal, 4(2): 156-171.

Shani, A., Sena, J., & Olin, T. (2003). Knowledge management and new product development: A
              study of two companies. European Journal of Innovation Management, 6(3): 137-149.

วิทยานิพนธ์
นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปีการศึกษา).\ชื่อวิทยานิพนธ์.\ระดับปริญญา,\มหาวิทยาลัย,\เมือง,\ประเทศ.
ตัวอย่าง
Saisingha, Sakchai. (1989). The Payao School Sandstone Buddha Image (พระพุทธรูปหินทราย
              สกุลช่างพะเยา)
. Master's dissertation, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Chuvichean, Praphat. (2009). Wat Worachet Thepbamrung : A Model of Ayutthaya Art in
              17th Century A.D (วัดวรเชษฐ์เทพบำรุง : แบบอย่างงานช่างของอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 22).
               Doctoral dissertation, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

งานประชุมวิชาการแบบไม่จัดรูปเล่ม
นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ.\ชื่องานประชุมวิชาการ,\เมือง.\เดือน\วันที่จัดงานประชุมวิชาการ

Laviosa, F. (1991). An Investigation of the Listening Strategies of Advanced Learners of Italian as a
              Second Language. Paper presented at the Conference on Bridging Theory and Practice
              in the Foreign Language Classroom
. Baltimore, MD. October 18-20.

งานประชุมวิชาการแบบจัดรูปเล่ม
นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ\In ชื่อบรรณาธิการ. นามสกุล,\ชื่อเล่มProceedings,(เลขหน้า).\เมืองที่พิมพ์:\สำนักพิมพ์.

Kafyulilo, A., Fisser, P., & Voogt, J. (2013). TPACK development in teacher design teams: Assessing   
               the teachers’ perceived and observed knowledge. In R. McBride & M. Searson (Eds.), 
               Proceedings of SITE 2013--Society for Information Technology & Teacher Education
               International Conference
, (pp. 4698-4703). New Orleans, LA: Association for the
               Advancement of Computing in Education.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ  
หนังสือออนไลน์ (online / e-Book)
นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปีที่พิมพ์).\ชื่อเรื่อง.\[ประเภทของสื่อที่เข้าถึง].\สืบค้นเมื่อ\เดือน\วัน\ปี\จาก\ แหล่งข้อมูลหรือ URL
ตัวอย่าง
De Huff, E. W. (2009). Taytay' s Traditional Pueblo Indian Tales. [Online]. Retrieved January 8,
               2010 from https://digital.library.upenn.edu/women/dehuff/taytay/taytay.html

Fine Art Department. (2016). The Buddha Images: Auspicious Treasures of the Front Palace 
              Pay
Homeage to The Holy Icons that are Associated with Our Gracious Kings
              (พระพุทธรูป ณ วัง
หน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน กราบบูชาพระพุทธปฏิมา ในพระมหากรุณาพระ 
               มหากษัตริยาธิราชเจ้า)
. [Online]. Retrieved July 5, 2019 from                   
               www.finearts.go.th/parameters/search/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์/book/148.html?page=3

บทความจากวารสารออนไลน์ (online / e-journal)
นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ.\ชื่อวารสาร,\ปีที่(ฉบับที่):\หน้าที่ปรากฏบทความ.\[ประเภทของสื่อที่เข้าถึง].\สืบค้นเมื่อ\เดือน\วัน\ปี\จาก\แหล่งข้อมูลหรือ URL
ตัวอย่าง

Chaiyajak, Nichakan. (2022). The development of community’s souvenirs with Dvaravati Art. 
              Silpakorn University Journal, 42(4): 15-28. [Online]. Retrieved August 20, 2009 from
              https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/256058

ฐานข้อมูล
นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปีที่พิมพ์).\ชื่อเรื่อง.\[ประเภทของสื่อที่เข้าถึง].\สืบค้นเมื่อ\เดือน\วัน\ปี\จาก\แหล่งข้อมูลหรือ URL
ตัวอย่าง
Beckenbach, F., & Daskalakis, M. (2003). Invention and innovation as creative problem solving
               activities - A contribution to evolutionary microeconomics
. [Online]. Retrieved
               September 12, 2009 from
               https://www.wiwi-online.de/Literatur/Fachartikel/274/Invention+and+innovation+as+
               creative+problem+solving+activities+-+A+contribution+to+evolutionary+microeconomics

การสัมภาษณ์    
นามสกุลผู้ถูกสัมภาษณ์,\ชื่อผู้ถูกสัมภาษณ์,\ตำแหน่งหน้าที่.\สัมภาษณ์,\เดือน\วัน\ปีที่สัมภาษณ์.
ตัวอย่าง

Boonmak, Ubon, ThaiPBS citizen journalist in Ubon Ratchathani. Interview, December 26, 2011.

ตารางและภาพประกอบ 
ตารางและภาพประกอบควรจัดให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหา 
ตาราง: ให้ระบุตารางที่ตามลำดับที่ปรากฏในเนื้อหา
ภาพประกอบ: ภาพประกอบควรมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi และเป็นภาพสี กำหนดขนาดเท่ากับที่จัดในเนื้อหาบทความ อักษรและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ควรจัดขนาดให้เหมาะสมกับขนาดกระดาษหรือการจัดคอลัมน์

การส่งบทความ 
ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้อง ผลการวิจัย และบทสรุปในเนื้อหาบทความที่เขียนขึ้น ทั้งนี้การส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะตอบรับการพิจารณาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และบทความที่ส่งมาอาจถูกส่งกลับให้ปรับแก้พร้อมข้อเสนอแนะการปรับแก้ของผู้ทรงคุณวุฒิประมาณ 3-4 เดือน อาจน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

การส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร ผู้เขียนจะต้องลงทะเบียนและกรอกแบบฟอร์มพร้อมแนบไฟล์บทความแบบออนไลน์ และผลการตรวจอักขราวิสุทธิ์ โดยเข้าไปที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/submission/wizard หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ประสานงานวารสารได้ที่อีเมล [email protected] 

การตรวจสอบ Plagiarism

ก่อนการส่งบทความ ผู้เขียนมีหน้าที่ต้องดำเนินการตรวจสอบการคัดลอกบทความด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ โดยเข้าไปที่ http://plag.grad.chula.ac.th/ จากนั้นกรอกอีเมลที่เป็นอีเมลมหาวิทยาลัย (@su.ac.th , @swu.ac.th, @ku.ac.th, @chula.ac.th.... เป็นต้น) ของท่าน และแนบไฟล์บทความ แล้วคลิกยืนยัน ระบบจะดำเนินการตรวจการคัดลอกสักครู่หนึ่ง เมื่อเสร็จสิ้น ระบบจะส่ง Link ผลการตรวจไปยังอีเมลที่ท่านได้กรอกไว้ ให้ผู้เขียนคลิกเข้าไปยัง Link ที่นำไปหน้าผลการตรวจ จากนั้นสั่ง Print to PDF จะได้ผลการตรวจที่เป็นไฟล์ PDF ให้แนบไฟล์ผลการตรวจอักขราวิสุทธิ์ดังกล่าวเข้ามาพร้อมกับบทความ
* บทความที่สามารถรับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาได้ จะต้องมีผลการซ้ำซ้อนไม่เกิน 17% และต้องไม่มีการซ้ำซ้อนในส่วนผลการวิจัย 

การสงวนลิขสิทธิ์
ขอสงวนสิทธิ์เนื้อหาทั้งหมดของวารสาร ยกเว้นการใช้เพื่อการวิจัย การศึกษาส่วนบุคคล หรือการวิพากย์วิจารณ์และการปริทัศน์ ห้ามทำซ้ำ จัดเก็บหรือเผยแพร่โดยปราศจากการยินยอมของผู้จัดพิมพ์

คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคล
ชื่อและอีเมลที่ให้ไว้กับทางวารสาร ใช้ตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานวารสารเท่านั้น มิได้นำไปใช้เพื่อการอื่น หรือมอบให้แก่หน่วยงานอื่น

Author Guidelines

Editorial Policy
Manuscripts submitted for publication in this journal must not have been previously published and are not under consideration for publication in any other media. All manuscripts accepted for publication are peer-reviewed. As a result of the technical review process, a manuscript may be accepted without change, recommended for modification and further review, or rejected.
Manuscripts are accepted with the understanding that authors have obtained the authority for publication. If accepted, the manuscript shall not be published elsewhere in the same form, in either the same or another language, without the consent of the editors. Authors are responsible for the scientific accuracy of the papers. The SUJ assumes no responsibility for conclusions and errors made by authors.

Publication charges

There are publication rates for accepted articles to be published in Journal as follows. 

1. Silpakorn University outsiders                 4,000 Baht

2. Silpakorn University insiders                

     2.1 College teachers                                  1,500 Baht

     2.2 College students (Bachelor Degrees, Master degrees and Doctor degrees)        no charges 

The invoice will be requested after the article was accepted for publication.

Types of manuscript Manuscripts submitted for publication in this journal must not have been previously published or not be under consideration for publication in any other media and not over 17 pages including references.
1. Research articles 
Research articles are comprehensive accounts of significant empirical, experimental or theoretical results as well as case studies.
2. Academic articles / Review articles 
Review articles provide a summary of topics of general interest to audiences. There would be criticism or academic comment. Furthermore, the comprehension of the topic would be projected.

The arrangement of full length articles should accord with the followings: 
a. Title and running title 
The full title is not limited in length but the running title should not exceed 85 characters including spaces between words.

b. List of authors and affiliations 
Full names, affiliations, email address and work telephone (marked with superscript number) should be provided for all authors on the page footnote.

c. Abstract 
First page of the content starts with an abstract in Thai language. The abstract must include the basic contents of the article. It should be in a single paragraph not over 300 words summarizing the question(s) being addressed and the findings. In second page, an English abstract must be present content conform with Thai abstract.

d. Keywords 
Keywords or short phrases suitable for indexing should be supplied (3-6 keywords).

e. Body text 
The body text must be divided into main sections, such as the followings: 1) Introduction  2) Methods  3) Analysis Results   4) Discussion/Conclusion 5) Acknowledgements (if any) 6) References.

f. Figure and Table 
Legends, tables and footnotes should be typed on separate sheets. Footnotes, to be numbered consecutively in superscript throughout the text, should be used as little as possible. 
Figures should have a resolution of at least 300 dpi.

g. References 
See below for full details.
References
SUJ uses the APA style of citing and referencing:
In-text citation: Refer to the author’s last name (without first name or initials), year of publication and page number, e.g.,
- โสเกรติสย้ำว่าการอ่านสามารถจุดประกายได้จากสิ่งที่นักอ่านรู้อยู่แล้วเท่านั้นและความรู้ที่ได้รับมาไม่ได้มาจากตัวหนังสือ (Manguel, 2003: 127)
สุมาลี วีระวงศ์ (Weerawong, 2009: 37) กล่าวว่า การที่ผู้หญิงจะไปสื่อชักผู้ชายมาบ้านเรือนของตัวเองทั้งๆ ที่เขายังไม่ได้มาสู่ขอนั้น เป็นเรื่องผิดขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี
* If a citation has more than two authors, please use all authors’ last name in the first place and use ‘et al’ in the next, e.g.
- ...ในขณะที่ Alraimi, Zo, & Ciganek (2015) ได้อธิบายว่า MOOC ให้ความสำคัญกับความเปิดกว้าง... เช่นเดียวกับ Alraimi et al. (2015) ได้อธิบายว่า ชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นภาพที่สะท้อนต่อคุณภาพ…

References list: References list is a bibliography of a citation in text (except for interview, chat, electronic mail, because it can’t be search later and reason of ethics on human research
- Author’s name: refer to last name, initials (outland’s author) or full name (Thai’s author).
- Document’s name: refer to English name and other’s language in bracket.
- If a reference has more than 1 author, use ‘&’ before last author.
- If a reference is longer than one line, the next line must indent for 8 characters by starting at position 9.

Book
Last name,\initials (foreign author) or full name (Thai’s author).\(Year).\Book’s name\(Edition).\City of publication:\Place of publication.    
Example

Weerawong, Sumalee. (2009). The thai Way of Life in Phra Lor (วิถีชีวิตไทยในลิลิตพระลอ)
             (3rd ed.). Bangkok: Sataporn Books.

Tidd, J., Bessant, J., & Pavitt, K. (2001). Managing Innovation (2nd ed.). Chichester: John Wiley
              and Sons.

Book chapter
Last name,\initials (foreign author) or full name (Thai’s author).\(Year).\Chapter’s name\In Editor’s name,\Book’s name,\Edition.\(Page number).\ City of publication:\Place of publication.
Example

Sharp, S. F., & Eriksen, M. E. (2003). Imprisoned Mothers and Their Children. In B. H. Zaitzow & J.   
             Thomas (Eds.), Women in Prison: Gender and Social Control, (pp. 119-136). Boulder,
             CO: Lynne Rienner Publishers.

(If book does not have the editor's name, you can put the book's name after "In")

Srisamang, Surasak. (1994). History and Art (ประวัติศาสตร์ และศิลปะ). In Muang Nan, Archaeology,
              History and Art (เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ), 2nd ed. (pp. 42-174). Bangkok:
              Chuan Pim.

Article in a journal
Last name,\initials (foreign author) or full name (Thai’s author).\(Year).\Article’s name.\Jounal’s name,\Volume’s number(Issue’s number):\Page number. 
Example

Pakdeekham, Santi. (2005). Sri Ramadeba Nagara (ศรีรามเทพนคร : สร้อยนามหรือชื่อเมือง).
              Damrong  Journal, 4(2): 156-171.

Shani, A., Sena, J., & Olin, T. (2003). Knowledge management and new product development: A
              study of two companies. European Journal of Innovation Management, 6(3): 137-149.

Thesis
Last name,\initials (foreign author) or full name (Thai’s author).\(Year).\Thesis’s name.\Degree,\University,\City of university,\Country of university.
Example

Saisingha, Sakchai. (1989). The Payao School Sandstone Buddha Image (พระพุทธรูปหินทราย
              สกุลช่างพะเยา)
. Master's dissertation, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Chuvichean, Praphat. (2009). Wat Worachet Thepbamrung : A Model of Ayutthaya Art in
              17th Century A.D (วัดวรเชษฐ์เทพบำรุง : แบบอย่างงานช่างของอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 22). Doctoral
              dissertation, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Conference

นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ.\ชื่องานประชุมวิชาการ,\เมือง.\เดือน\วันที่จัดงานประชุมวิชาการ

Laviosa, F. (1991). An Investigation of the Listening Strategies of Advanced Learners of Italian as a
              Second Language. Paper presented at the Conference on Bridging Theory and Practice
              in the Foreign Language Classroom
. Baltimore, MD. October 18-20.

Proceedings
นามสกุลผู้เขียน,\ชื่อผู้เขียน.\(ปี).\ชื่อบทความ\In ชื่อบรรณาธิการ. นามสกุล,\ชื่อเล่มProceedings,(เลขหน้า).\เมืองที่พิมพ์:\สำนักพิมพ์.

Kafyulilo, A., Fisser, P., & Voogt, J. (2013). TPACK development in teacher design teams: Assessing   
               the teachers’ perceived and observed knowledge. In R. McBride & M. Searson (Eds.), 
               Proceedings of SITE 2013--Society for Information Technology & Teacher Education
               International Conference
, (pp. 4698-4703). New Orleans, LA: Association for the
               Advancement of Computing in Education.

Electronic book, website
Last name,\initials (foreign author) or full name (Thai’s author).\(Year).\Name.\[Type of document].\Searching date\from\URL
Example

De Huff, E. W. (2009). Taytay' s Traditional Pueblo Indian Tales. [Online]. Retrieved January 8,
               2010 from https://digital.library.upenn.edu/women/dehuff/taytay/taytay.html

Fine Art Department. (2016). The Buddha Images: Auspicious Treasures of the Front Palace 
              Pay
Homeage to The Holy Icons that are Associated with Our Gracious Kings
              (พระพุทธรูป ณ วัง
หน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน กราบบูชาพระพุทธปฏิมา ในพระมหากรุณาพระ 
               มหากษัตริยาธิราชเจ้า)
. [Online]. Retrieved July 5, 2019 from                   
               www.finearts.go.th/parameters/search/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์/book/148.html?page=3

Electronic journal
Last name,\initials (foreign author) or full name (Thai’s author).\(Year).\Article’s name.\Jounal’s name,\Volume’s number(Issue’s number):\Page number.\ [Type of document].\Searching date\from\URL
Example
Chaiyajak, Nichakan. (2022). The development of community’s souvenirs with Dvaravati Art. 
              Silpakorn University Journal, 42(4): 15-28. [Online]. Retrieved August 20, 2009 from
              https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/256058

Database
Last name,\initials (foreign author) or full name (Thai’s author).\(Year).\Name.\[Type of document].\ Searching date\from\URL
Example
Beckenbach, F., & Daskalakis, M. (2003). Invention and innovation as creative problem solving
               activities - A contribution to evolutionary microeconomics
. [Online]. Retrieved
               September 12, 2009 from
               https://www.wiwi-online.de/Literatur/Fachartikel/274/Invention+and+innovation+as+
               creative+problem+solving+activities+-+A+contribution+to+evolutionary+microeconomics

Interview    
Last name,\initials (foreign author) or full name (Thai’s author).\Position.\Interview,\Date of interview.
Example
Boonmak, Ubon, ThaiPBS citizen journalist in Ubon Ratchathani. Interview, December 26, 2011.

Tables and figures 
Each table and figure must be on a separate page of the manuscript. 
Tables:  Number the tables according to their sequence in the body text.
Figures:  Figures should be of high quality (not less than 300 dpi PNG or TIFF format), in colour only, with the same size as the author would like them to appear in press.

Submission of manuscripts 
All information contained in a manuscript is a full responsibility of the authors, including the accuracy of the data and resulting conclusion. The editorial office will acknowledge receipt of the manuscript atleast 2 weeks of submission. The manuscript may be returned to authors for revision. Authors will be given 3-4 month after receipt of the reviewers’ comments to revise the manuscript. 
Please register and submit the manuscript with a submission form online at https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/submission/wizard or contact the managing editor at [email protected] 

Plagiarism checking
The author must let the manuscript checked by Akarawisut and export the result into PDF file before submitting.
* A manuscript must has plagiarism less than 17%. 

Copyright Notice
All rights reserved. Apart from citations for the purposes of research, private study, or criticism and review, no part of this publication may be reproduced, stored or transmitted in any other form without prior written permission by the publisher.

Privacy Statement
The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.