การจัดการความรู้ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการ (Management of the Prevention and Suppression of Crimes Relating to Entertainment Spots)
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการรวมถึงผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบสถานบริการ ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมรวมถึงค้นหาเทคนิคที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการในเขตพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลโดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยแบบการจัดการความรู้ ผลการวิจัยพบว่า ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัย 20-25 ปี และช่วงเวลาที่เกิดการกระทำความผิดมากที่สุด คือ เวลาประมาณ 01.00 – 02.00 นาฬิกา ในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ และมักเกิดกับร้านประเภทนั่งดื่ม ผับ เธค ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทะเลาะวิวาท ลักทรัพย์ และยาเสพติด ส่วนการค้าประเวณีและการพนันมีน้อยมาก รูปแบบของอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการซึ่งเกิดจากผู้ใช้บริการ ได้แก่ การทะเลาะวิวาท การลักทรัพย์ในและนอกสถานบริการ ยาเสพติด ความผิดทางเพศ ส่วนรูปแบบของอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชน ได้แก่ การขับขี่ในขณะมึนเมา ส่งเสียงดังรำคาญและการสร้างปัญหาจราจร
ด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่ามีปัญหาเรื่อง คำนิยามของ ”สถานบริการ” ไม่ชัดเจน บทลงโทษที่เบาเกินไป การบังคับใช้กฎหมายที่ยังขาดประสิทธิภาพ การใช้อิทธิพล การบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เท่าเทียมกันของเจ้าหน้าที่ การบริหารจัดการภายใต้งบประมาณและกำลังพลที่จำกัด และปัญหาการจัดเขตโซนนิ่ง
เทคนิคและแนวทางที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการ ได้แก่ การสุ่มตรวจ ล่อซื้อ จู่โจม ตั้งด่าน สังเกต ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการ พนักงาน และผู้ใช้บริการในการช่วยกันปฏิบัติตามกฎหมาย ควบคุม สอดส่อง รวมไปถึงการขอความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและคนในชุมชน
ข้อเสนอแนะ แก้ไขพระราชบัญญัติสถานบริการฯที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โดยเฉพาะคำนิยามและบทลงโทษ จัดโซนนิ่งให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป จัดระเบียบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ จัดโครงการสถานบริการสีขาว มีวิธีการตรวจสอบข้อมูลที่รวดเร็ว เพิ่มกำลังพลและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี จัดอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ เข้มงวดตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ ของสถานบริการ วางมาตรฐานร่วมกันให้กับพนักงานของสถานบริการเกี่ยวกับลักษณะผู้มาใช้บริการ ฝึกฝนพนักงานของสถานบริการด้านการป้องกันภัยในด้านต่าง ๆ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเท่านั้น
The purpose of this research is to study the patterns of crimes relating to the entertainment spots, including the impact on its surrounding places, the problems and obstacles in the prevention and suppression of crimes and to search for the technics leading to the success on prevention and suppression of crimes relating to entertainment spots in the area of Metropolitan Police Bureau. This research is the qualitative research. According to this research, it is found that most offenders are around 20-25 years old, mostly committed on holidays and mostly occur at bistros, bars and discotheques during 01.00–02.00 a.m. The patterns of crimes are quarrels, thefts and narcotics.There are few offences on prostitution and gambling.The patterns of crimes relating to the entertainment spots, caused by customers, are, namely, quarrels, thefts in and out of entertainment spots, narcotics and sexual offence.The patterns of crimes relating to entertainment spots which affect the community are, namely, drunk driving, noise nuisance and traffic problem.
The problems and obstacles are the unclear definition of “entertainment spots”, the too light penalty, the inefficient law enforcement, the influence of the magnates, the unequal law enforcement, the management under limited budget and man power, and the failure of zoning for entertainment spots.
The technics and guideline leading to the success on prevention and suppression of crimes relating to entertainment spots are, namely, the random inspection, the enticement of purchase, the attack, the checkpoint setting up, the request for the co-operation of entrepreneurs and customers in legal compliance, control and inspection, including the co-operation of the relevant organizations and people in communities.
It is recommended that the existing Entertainment Place Act is amended, especially on the definition and penalty.There should also be the appropriate zoning, the efficient transportation management, the arrangement of white entertainment spots project, the increment of necessary man power, the training on legal knowledge relating to entertainment spots for officers. In addition, there should be the strict inspection of various promotions offered by entertainment spots, the mutual standardization on the customers’ characteristics set up for the employees of entertainment spots and the training on the prevention of dangers for all employees but not limited to the security officers.
Article Details
References
Choksuansap, Y. (2011). Places of Amusement in Bangkok, 1945-2002 A.D. (กิจการสถานบันเทิงในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2488 – 2545). Master’s dissertation, Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand.
Community Safety Select Committee. (n.d.). Anti-Social Behaviour in the Night Time Economy. Retrieved on June 2, 2013., from https://mycouncil.surreycc.gov.uk/Data/Council/20050125/Agenda/$Com%20Saf%20 Sel%20GB.doc.pdf.
ENTERTAINMENT PLACE ACT, B.E. 2509 (1966). ENTERTAINMENT PLACE ACT, B.E. 2509 (พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509)
Inborisuth, S and Udjam, A. (n.d). Knowledge Management (การจัดการความรู้). Retrieved on June 2, 2013, from http://www.oic.go.th/km/oickm.htm.
Royal Thai Police. (2007). Crime Prevention Through Environmental Design (คู่มือการป้องกันอาชญากรรมโดยการออกแบบสภาพแวดล้อม). Bangkok: Research and Development Division.
Tunneekul, P. (2014). Knowledge Management of the Prevention and Suppression of Crimes relating to Entertainment Spots (การจัดการความรู้ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการ). Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).