ศิลปะวิสัย (Nature of Art)

Main Article Content

ธีระ ปาลเปรม Teera Palprem

Abstract

            “ศิลปะเกิดจากชีวิต และเพราะชีวิตทำให้เกิดศิลปะ”


            ศิลปะได้ปรากฏและดำรงอยู่ สัมพันธ์เคียงคู่กับชีวิตมนุษย์มาแต่อดีตกาล โดยเมื่อแรกเริ่ม ศิลปะได้เกิดขึ้น อาจจะเพราะความบังเอิญ หรืออุบัติขึ้นอันเนื่องด้วยเหตุปัจจัย ที่ทำให้มนุษย์พินิจคิดสร้างสรรค์ผลงานที่สอดคล้องกับสัญชาตญาณ การดำรงชีพ และเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิต แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ก็ได้มีการวิวัฒน์-พัฒนา ตามความปรารถนา เพื่อความพึงใจหมายของมวลมนุษย์ ทำให้ปรากฏมีความแตกต่างหลากหลาย อันเนื่องด้วยความเชื่อ ความศรัทธา และด้วยความมุ่งมั่น ความคิด ผสานจิตวิญญาณ ทำให้ปรากฏลักษณะเฉพาะ ของผลงานการสร้างสรรค์ อันเป็นศิลปะวิสัยแห่งชีวิตมวลมนุษย์ของแต่ละเผ่าพงศ์ และเมื่อศิลปะมีสัมพันธ์เคียงคู่กับชีวิตมนุษย์มาตลอดกาล ก็เป็นเหตุปัจจัย นำมาสู่การตั้งสมมติฐาน เทียบเคียงให้ศึกษาได้ ระหว่างศิลปะวิสัย กับองค์ประกอบแห่งชีวิต ให้ได้แสดงผลเป็นองค์ความรู้ อันเป็นส่วนหลักแห่งความเข้าใจและเข้าถึงเรื่องของชีวิต คือ ญาณวิทยา ซึ่งก็คือปรัชญาสาขาหนึ่ง ว่าด้วยกำเนิดลักษณะและความถูกต้องแห่งความรู้ ตลอดจนวิธีหาความรู้ อันเป็นภาคส่วนสำคัญแห่งชีวิต ในการสรรสร้างความคิด และจินตนาการ


            “Art originates from life because life creates art.”


            Art has come into existence and co-existed with humans since the ancient time. In the beginning, art may have emerged accidentally or because of certain factors that caused humans to create artwork which corresponded to their instinct, way of living and security in life. Later on, art evolved and developed in accordance with human’s desire and satisfaction, resulting in diversity. Due to beliefs, faith, determination, thoughts and spirituality, unique features of creative work emerged and became the nature of art of different groups of humans. As art has always co-existed with humans, it is hypothesized that there is a relationship between the nature of art and elements of life. This can lead to new knowledge of epistemology, which is a key element in understanding and appreciating life. Epistemology is a branch of philosophy concerned with the emergence, the accuracy and the search of knowledge, which is a crucial part of life in creativity, thoughts and imagination.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Fine Arts Department. (1944). Theory of Composition (ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบ). Nakornluang: Fine Arts Department.

Phraya Anuman Rajadhon. (1972). Sources of Art Assistance. (ศิลปะสงเคราะห์). Nakornluang: Bannakarn Publishing.

Silpa Bhirasri. (1959). A Bare Outline of History and Styles of Art. (ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ). Nakhon Pathom: Silpakorn University Publishing.