แบบจำลองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ มีผลต่อยุทธศาสตร์ระยะยาวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย (A model of factors in creative economics and innovative behavioraffecting the long-run AEC strategies of Thailand)

Main Article Content

ขวัญกมล ดอนขวา Kwunkamol Donkwa

Abstract

การวิจัยเรื่อง แบบจำลองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์มีผลต่อยุทธศาสตร์ระยะยาวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย ได้กำหนดวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบจำลองสมการโครงสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของคนไทยมีผลต่อยุทธศาสตร์ระยะยาวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย และทำการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง 2) เพื่อศึกษาขนาดของความสำคัญในแต่ละองค์ประกอบ ได้แก่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ และยุทธศาสตร์ระยะยาวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 3) เพื่อศึกษาถึงผลของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของคนไทยที่มีต่อยุทธศาสตร์ระยะยาวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเน้นศึกษาประชากรเป้าหมาย 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น เชียงใหม่ และสงขลารวม 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ และแบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์มีผลต่อยุทธศาสตร์ระยะยาวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย ที่สร้างขึ้นนั้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยมีค่าไค-สแควร์ (2) มีค่าเท่ากับ 2338.022 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 1110 มีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (2/df) เท่ากับ 2.11 ค่าที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.052 และค่าดัชนีมาตรฐานของค่าความคาดเคลื่อน (SRMR) มีค่าเท่ากับ 0.047 ผลการวิจัยยังพบว่าน้ำหนักองค์ประกอบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีค่ามากที่สุด คือ ด้านการศึกษา (0.889) รองลงมา คือ ด้านการสร้างสรรค์งาน (0.880) ด้านการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (0.831) และด้านการใช้องค์ความรู้ (0.825) ตามลำดับ น้ำหนักองค์ประกอบพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่ามากที่สุด คือ ด้านการเป็นผู้นำความคิด (0.921) รองลงมาคือ ด้านการริเริ่มความคิด (0.871) ด้านการแสวงหาโอกาส (0.867) และด้านการประยุกต์ใช้ (0.837) ตามลำดับ สำหรับองค์ประกอบยุทธศาสตร์ระยะยาวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีค่ามากที่สุด คือ ด้านการเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน (0.926) รองลงมา คือ ด้านการเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์ (0.869) ด้านการเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (0.829) และด้านการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (0.662) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีผลต่อยุทธศาสตร์ระยะยาวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย เท่ากับ 0.473 และ 0.391 ตามลำดับ


The objectives of this research were 1) to develop and validate the structural equation model of the creative economics and innovative behavior affecting the long-run AEC strategies of Thailand, 2) to study the importance scale of each of the observed variables with the creative economics, innovative behavior, and long-run AEC strategies, and 3) to study the impacts of the creative economics, and innovative behavior affecting the long-run AEC strategies of Thailand. The main focus of this study took place in 4 provinces: Bangkok, Khon Kaen, Chiang Mai, and Songkhla. Stratified Random Sampling technique was used to arrive at 400 samples, and a questionnaire was administered to collect data, which were analyzed by quantitative analysis methods.


The descriptive statistics used in data analysis was based on the commutative frequency for percentage, mean, and standard deviation. The factor analysis, and structural equation model analysis used by inferential statistics. The results showed that the model was consistent with the empirical data. Goodness of fit measures were found to be: Chi-square 2338.022 (df=1110); Relative Chi-square (2/df) 2.11; Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) 0.052; and Standardization Root Mean Square Residual (SRMR) 0.047. It was also found that the factor loading of the creative economics with the highest point was education at 0.889, followed by work creativity, intellectual property, and knowledge at 0.880 0.831 and 0.825, respectively. The factor loading of the innovative behavior with the highest point was championing at 0.921, followed by Idea generation, opportunity exploration, and application at 0.871 0.867 and 0.837, respectively. Besides, the factor loading of the long-run AEC strategies with the highest point was equitable economic development at 0.926, followed by fully integrated into global economy, high competitive economic region, and single market and single production base at 0.869 0.829 and 0.662, respectively. The research found that the impacts of the innovative behavior and the creative economy affecting Thailand’s long-run AEC strategies were 0.473 and 0.391, respectively.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

AEC Knowledge Center. (2014). Knowledge of ASEAN economic community(องค์ควํามรู้ประชําคมเศรษฐกิจอําเซียน). [Online]. Retrieved February8, 2016 from http://www.thai-aec.com/

Browne, M. W., & Cudeck, R. (1993). Alternative ways of assessingmodel fit, in testing structural equation models. Sage Publication.

Charerk, P., & Donkwa, K. (2014). Employee engagement and innovativebehavior of staff members at synchrotron light research institute(public organization) (ความผูกพันต่อองค์กรและพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)). Suranaree Journal of Social Science, 8(2), 61-69.

Choksuchat, T. (2010). Asian Economic Community: importance and Thai preparations (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย). HCU Journal, 14(27), 99-112.

Chollatep, N. (2011). Application of creative economy concept of small enterprises agro-industry entrepreneurs in Chiang Mai province (กํารประยุกต์เศรษฐกิจสร้ํางสรรค์ของผู้ประกอบกํารอุตสําหกรรมเกษตรขนําดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่). Master’s dissertation, ChiangMai University, Chiang Mai, Thailand.

Chunlapanon, W. (2012). The development of the ASEAN economic community and its impact on Thailand (พัฒนํากํารของประชําคมเศรษฐกิจอําเซียนกับผลกระทบต่อไทย). Doctoral dissertation,Ramkhamhaeng University, Bangkok, Thailand

Dechawatanapaisal, D. et al. (2014). A study of viewpoints and expectations of generational characteristics between generation X and generation Y (การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น).Chulalongkorn Business Review, 36(141), 1-17.

De Jong, J. P., & Den Hartog, D. N. (2008). Innovative work behavior:measurement and validation. EIM Business and Policy Research,1-27.

Donkwa, K. (2013). Model of sufficiency economy philosophy and socioeconomicsof rural community households in northeastern Thailand (แบบจำลองปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนในชุมชนชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ).RMUTP Research Journal, 7(2), 139-153.

Donkwa, K. (2015).A model of factors in the sufficiency economy and philosophy creative economics affecting the economic development of Thailand (ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย). Journal of Sahasat, 15(1), 180-210.

Donkwa, K.,& Limpasirisuwan, N. (2015). A causal and effect model in the process of the community’s economy in the northeast of Thailand(โมเดลเชิงสาเหตุและผลของกระบวนการเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). Journal of the Association of Researchers, 20(2) ,127-137.

Donkwa, K. (2016).The effects of the sufficiency economy on community businessmanagement (การจัดการธุรกิจชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง). Suranaree Journal of Social Science, 10(2), 33-51.

Field, A. P. (2005). Discovering statistics using SPSS.(2nd ed.). London: Sage.

Gozzoli, P. C. (2010). The creative economy study abroad course (ถอดบทเรียนเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากต่างประเทศ). Journal of Economic and Social,47(4), 32-37.

Hair, J., Black,W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006). Multivariate data analysis. (6thed.). New Jersey: Pearson Educational International.

Khonkumkard, R. (2013). Strategic management for hospitality business of frontier tourism at Nakhon Phanom provience in ASEAN Economic Community (AEC) context for sustainable tourism development (กํารจัดก ํารเชิงกลยุทธ์ด้ํานธุรกิจบริกํารของกํารท่องเที่ยวชํายแดนจังหวัดนครพนมภํายใต้บริบทประชําคมเศรษฐกิจอําเซียน (AEC) เพื่อพัฒนํากํารท่องเที่ยวอย่ํางยั่งยืน). Master’s dissertation, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand.

Kline,R. B. (2011). Convergenceofstructuralequationmodelingandmultilevelmodeling. In M.Williams & W.P. Vogt (Eds.), Handbookofmethodologicalinnovationinsocialresearchmethods.London: Sage.

Kusuma Na Ayuthya, S. (2010). Creative economy: alternative of Thailand economic development (Creative economy ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย). Executive Journal, 30(1), 23-28.

Marsh, H.W., & Hocevar, D. (1985). Application of confirmatory factor analysis to the study of self-concept: first-and higher order factor models and their invariance across groups. Psychological bulletin, 97(3), 562.

Mitrchob, C. (2010). Creative economy: The new concept-driven economy of Thailand (เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แนวคิดใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในทศวรรษหน้า). Sukhothai Thammathirat Economic Journal, 5(1), 81–114.

Office of the Permanent Secretary. (2014). Strategic plan of the ministry of industry from 2016 to 2021 (แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2559-2564). [Online]. Retrieved Febuary 20, 2016 from http://www.industry.go.th

Office of Small and Medium Enterprises Promotion. (n.d.). The overall long-term strategic planning (2555-2559) (ภําพรวมแผนยุทธศําสตร์ระยะยาว ปี 2555-2559). [Online]. Retrieved March 3, 2016 from http://www.sme.go.th

Office of The National Economic and Social Development Board. (2011).Theeleventhnationaleconomicandsocialdevelopmentplan (2012-2016) (แผนพัฒนําเศรษฐกิจและสังคมแห่งชําติ ฉบับที่11 (พ.ศ.2555-2559)). [Online]. Retrieved February 8, 2016 from http://www.nesdb.go.th.

Onoparatvibool, P. (2011). Sufficiency competition: similarity on the different (แข่งขันอย่างพอเพียง ความเหมือนบนความแตกต่าง).Journal of Economic and Social, 48(1), 35-40.

Pholphirul, P. (2013). Creative economy and development issues in Thailand (เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย).NIDA Economic Review, 7(1), 1-69.

Pimsakul, P. (2014). The prediction of effects on Asean economic community policy in business commerce and tourism industry in the border cities of Chiang Rai province (กํารคําดกํารณ์ผลกระทบจํากนโยบายประชําคมเศรษฐกิจอําเซียนต่ออุตสําหกรรมการค้าและการท่องเที่ยว ในเขตเมืองชํายแดนจังหวัดเชียงรําย). Master’s dissertation, Mea Fah Luang University, Chiang Rai, Thailand.

Policy and Planning Bureau. (n.d.). The opportunities and impacts of AEC on ministry of interior (รํายงํานกํารศึกษําโอกําสและผลกระทบของประชําคมเศรษฐกิจอําเซียนต่อกระทรวงมหําดไทย). [Online]. RetrievedFebruary 18, 2016 from http://www.dpt.go.th/ foreign/index2php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=47

Pornpipat, P. (2010). Creative economy: the passion of the economy, Thailand (เศรษฐกิจสร้างสรรค์ : พลังขับเคลื่อนใหม่ของเศรษฐกิจไทย). Journal of Economic and Social, Oct–Dec, 6-12.

Proyanont, S. (2011). Leader behaviors and work environments that affect creativity at work: a case study of Thailand’s most innovative companies 2009 (พฤติกรรมของผู้นำและสภําพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อควํามสร้ํางสรรค์ในงํานของบุคลากร: กรณีศึกษํา องค์การธุรกิจไทยที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมปี 2552). Master’s dissertation, NationalInstitute of Development Administration, Bangkok, Thailand.

Punlumjeak, K., & Sangdean, S.(2011). Creative knowledge management to creative society and economy in undergraduate learning (กํารจัดกํารควํามรู้เชิงสร้ํางสรรค์สู่สังคมและเศรษฐกิจสร้ํางสรรค์ในกํารเรียนรู้ระดับปริญญําตรี). Research, RajamangalaUniversityofTechnologyThanyaburi, Bankok, Thailand.

Rovinelli ,R.J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialist in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Santos, J. R. A. (1999). Cronbach’s alpha: a tool for assessing the reliability of scales. Journal of extension, 37(2), 1-5.

Social Integrated.(2013). The difference of generation (ความแตกต่ํางของคนหลาก Generation). [Online]. Retrieved March 25,2016 from http://socialintegrated.com

Yamane, T.(1967). Statistics, an introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.