การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวกับความพึงพอใจ ในส่วนประสมทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยว ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม

Main Article Content

รัมภาภัค ฤกษ์วีระวัฒนา
อลิสา ฤทธิชัยฤกษ์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของ   นักท่องเที่ยวกับความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยว ดอนหอยหลอด สมุทรสงครามโดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 คือ  ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่จัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ความพึงพอใจโดยรวมโดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว 400 คนในแหล่งท่องเที่ยวดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ  (F-test) การทดสอบการแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ Sheffe ผลการวิจัยได้ดังนี้


            นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 224 คน ร้อยละ 56 อยู่ในช่วงอายุ  20-30 ปี 172 คน ร้อยละ 43 การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 277 คน    ร้อยละ 69.3 อาชีพนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 138 คน ร้อยละ 34.5 รายได้ต่อเดือน  8,001-15,000 บาท จำนวน 172 คน ร้อยละ 43 ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และจากการทดสอบสมมุติฐาน พบว่าเพศที่แตกต่างกันของนักท่องเที่ยวทำให้ความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนอายุที่แตกต่างกันของนักท่องเที่ยว ทำให้ความพึงพอใจในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .012 โดยพิจารณารายด้านแล้ว  พบว่าความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวจะแตกต่างในด้านสถานที่  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .004 และด้านการส่งเสริมการตลาด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .005 ระดับ การศึกษาที่แตกต่างกันของนักท่องเที่ยว ทำให้ความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีระดับ


นัยสำคัญทางสถิติ .05 และอาชีพที่แตกต่างกันของนักท่องเที่ยว ทำให้ความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .000 เมื่อพิจารณารายด้านแล้วพบว่าด้านผลิตภัณฑ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .000 ด้านราคา มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .000 ด้านสถานที่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 และด้านการส่งเสริมการตลาด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .000 และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันของ นักท่องเที่ยว ทำให้ความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .000 เมื่อพิจารณารายด้านแล้วพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .000  ด้านราคา มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .000 ด้านสถานที่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .007 และด้านการส่งเสริมการตลาด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .000

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ