การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล

Main Article Content

มาเรียม นิลพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนแกนนำและโรงเรียนเครือข่ายในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เข้าร่วมโครงการ  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล (Differentiated Instruction) และ 3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณค่าความแตกต่างระหว่างบุคคล (Differentiated Instruction) โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประเภทผสมผสานวิธี (Mixed Methods) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครูของโรงเรียนแกนนำ 7 แห่ง และโรงเรียนเครือข่าย 70 แห่ง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารของโรงเรียนแกนนำและโรงเรียนเครือข่าย พยายามส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้วยการนิเทศ ติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่มีแบบแผนที่เป็นรูปธรรม การจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้ครูผู้สอนมีภาระเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้เรียน นวัตกรรมการเรียนการสอนที่ครูใช้มาจากประสบการณ์ของครูโดยไม่ผ่านกระบวนการวิจัย นักเรียนมีความกระตือรือร้นในกิจกรรมการเรียนการสอน และมีพัฒนาการดีขึ้น ครูมีความรู้ความเข้าใจและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนและออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนได้ มีความพึงพอใจในเนื้อหาของหลักสูตรการอบรมและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล แต่ต้องการให้เพิ่มตัวอย่างให้กับโรงเรียน รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล (Differentiated Instruction) มีชื่อว่า “รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล” ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีการดำเนินงาน 4 ขั้น คือ ขั้นการวิเคราะห์ผู้เรียน ขั้นการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และขั้นการประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และ 4) กระบวนการขับเคลื่อนสู่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีกระบวนการของรูปแบบ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การอบรม(Training) ขั้นที่ 2 การสอน (Teaching) และขั้นที่ 3 การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)  ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ และหลักสูตรการอบรมที่ส่งเสริมศักยภาพของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณค่าความแตกต่างระหว่างบุคคล พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยภาพรวมทุกด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ความเข้าใจที่ร้อยละ 80 มีจำนวน 283 คน คิดเป็นร้อยละ 87.89 ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล และมีความสามารถในการเขียนงานวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบฯ และหลักสูตรการอบรมฯ พบว่า ครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : 1. นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน.   2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล.

Abstract

The main purpose of this study were: 1) to analyze educational states of leading schools and schools network under Office of The Basic Education Commission in terms of differentiated instruction, 2) to develop the differentiated instruction model based on differentiated instruction and 3) to develop the curriculum for training to enhance teacher’s ability on the differentiated instruction. The study employed research and development approach and is based on mixed methods. Samples were the directors, the supervisors and the teachers from 7 leading schools and 70 schools network. The obtained data were analyzed by percentage (%), mean (), standard deviation (S.D.) and content analysis.  It was found that the directors of the leading schools and the schools network attempt to enhance the teachers’ knowledge about the differentiated instruction by supervision by supervisors.  However, no plan was found.  The grouping of the students for supporting the differentiated instruction affected students’ feeling in good, moderate and weak level. The teachers’ instructional innovations to develop the students were selected based on the teachers’ decision.  Lacking research and development methodology, the selection is based on their experiences. The teachers who had more cognitive skills could design the activities for the students. They could analyze students and decide what is appropriate for the students.  With respect to satisfaction on the training curriculum, it was found that most of the teachers were satisfied with the content of the curriculum and the differentiated instruction models.  However, they needed to know techniques, lesson plans and instructional innovation. They suggested that document preparation, research, text book and media for the school would be helpful. The different instruction model which was called “the differentiated instruction model” consists of 4 elements: 1) the concept of the differentiated instruction, based on child center and thinking instruction, 2) the objective, 3) the 4 stages of the differentiated instruction which analyze students, contents, activities and assessment, and 4) the 3 processes of the differentiated instruction which were training, teaching, and monitoring.  With respect to the assessment of  effectiveness of the differentiated instruction model and the training curriculum to enhancing teachers’ ability in terms of the differentiated instruction, it was found that the teachers who had the cognitive skills showed  development of instructional innovation based on differentiated instruction. About 283 teachers passed the 80% criteria and had competency in writing unit and lesson plans based on the differentiated instruction.  Their ability in writing research, however, was at a moderate level.  As regards their satisfaction, the teachers, administrators and supervisors’ satisfaction of the differentiated instruction model and the curriculum for training was at a high level.

Keywords: 1. Instructional innovation.   2. Differentiated instruction.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ