การใช้สารสนเทศและแหล่งสารสนเทศของผู้ประกอบการฟาร์มสุกรในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ระเบียบ สุภวิรี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ และปัญหาการใช้สารสนเทศของผู้ประกอบการฟาร์มสุกรในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามขนาดของฟาร์ม พันธุ์สุกรที่เลี้ยง ประสบการณ์การเลี้ยง และเขตการเลี้ยง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามที่ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลักคือ การใช้สารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ และปัญหาการใช้สารสนเทศ  เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการฟาร์มสุกรขนาดกลางและขนาดใหญ่จากทุกอำเภอของจังหวัดนครปฐม (ยกเว้นอำเภอพุทธมณฑลที่ไม่มีผู้ประกอบการฟาร์มสุกร) รวม 6 อำเภอ ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของฟาร์มและเขตการเลี้ยง อำเภอละ 60 เปอร์เซ็นต์ตามหลักการกำหนดขนาดตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน รวม 194 คน (จากประชากร 319 คน)  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย (x) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปรโดยใช้ T-test และ ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า

1.  เนื้อหาสารสนเทศที่ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรฯ ใช้ในระดับมากคือ เรื่องปศุสัตว์สูงสุด รองลงมาคือเศรษฐกิจรายได้ ใช้สารสนเทศปีใหม่ล่าสุดมากกว่าปีอื่นๆ ได้สารสนเทศมาด้วยการเสาะหาหรือค้นหาด้วยตัวเองมากที่สุด รองลงมาคือให่บุคคลอื่นหาให้ ใช้สารสนเทศที่เสนอเนื้อหาในเรื่องที่ต้องการอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากที่สุด รองลงมาคือเสนอเนื้อหาทั้งหมดอย่างละเอียดครบถ้วน 2. แหล่งสารสนเทศที่ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรฯ ใช้มากที่สุดคือประสบการณ์และความรู้ของตนเอง รองลงมาคือโทรทัศน์โดยใช้ในระดับมาก แหล่งสารสนเทศที่ใช้ในระดับปานกลางตามลำดับคือ ญาติพี่น้อง/คนในครอบครัว กลุ่มเกษตรกร และหนังสือพิมพ์ 3. ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรฯ มีปัญหาการใช้สารสนเทศในระดับมาก ดังนี้ 1) ปัญหาที่เกิดจากตัวสารสนเทศ: มีปัญหามากที่สุดคือ ต้องใช้เวลามากกว่าจะได้ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ  รองลงมาคือต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ  2) ปัญหาที่เกิดจากตัวผู้ประกอบการฟาร์มสุกรฯ: ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ไม่มีเวลาที่จะไปค้นหาข้อมูลข่าวสารจากแหล่งความรู้ต่างๆ รองลงมาคือไม่มีเวลาติดตามรายการจากวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ 3) ปัญหาที่เกิดจากแหล่งสารสนเทศ: ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ แหล่งข้อมูลข่าวสารที่ต้องการอยู่ไกลไม่สะดวกในการเข้าไปใช้ รองลงมาคือ มีแหล่งข้อมูลข่าวสารแต่ไม่ตรงกับความต้องการ 4. เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ และปัญหาการใช้สารสนเทศ ดังนี้ 1) ขนาดของฟาร์ม: ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรขนาดกลางกับขนาดใหญ่มีการใช้สารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ และมีปัญหาการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่แตกต่างกัน  2) พันธุ์สุกร: ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรสายพันธุ์เดียวกับสายพันธุ์ผสมมีการใช้แหล่งสารสนเทศ และมีปัญหาการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีการใช้สารสนเทศไม่แตกต่างกัน  3) ประสบการณ์การเลี้ยง: ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรที่มีประสบการณ์การเลี้ยงแตกต่างกัน มีการใช้สารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ และมีปัญหาการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  4) เขตการเลี้ยง : ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรในเขตอำเภอเมืองและอำเภออื่นๆ มีการใช้สารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ และมีปัญหาการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ:    1. การใช้สารสนเทศ.   2. แหล่งสารสนเทศ.   3. ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรในจังหวัดนครปฐม.

Abstract

In this research, a quantitative method was employed to analyze how pig farmers in Nakhon Pathom province used information and information sources and what problems they encountered in their use information and information sources.  Additionally, this research involved a comparative study of how pig farmers with different sizes of farm, breeds of pig, amounts of experience, and farming areas differed in their use of information, information sources and problems.  Data for the analysis came from questionnaires completed by pig farmers who owned medium-sized and large farms in every Amphoe in Nakhon Pathom (except Putthamonthon), there were 6 Amphoes involved.  Employing a purposive sampling approach as the table of Krejcie and Morgan, 60 percent of the pig farmers in each of the Amphoes were included in this study. The sampling group consisted of 194 pig farmers (from a population of 319 pig farmers).  In analyzing the data, statistical methods of percentages, mean (), and standard deviation (S.D.) were used as well as the T-test and ANOVA which were used for the comparative analysis of different variables.

Findings are as follows.

1. There were two areas of information which pig farmers were often used. Information about livestock was most highly used while information about economy of income came the second level. Moreover, the latest year’s information was most frequently interested. Searching the information by themselves was their most popular way to get the desired information; asking someone to search for them came the second. The most important of information kind was not complicated and presented in a simple way. Complete and thorough information were significant.

2. Information sources which the pig farmers exhibited the highest level of use were their own accumulated experience and knowledge. The information that had gained the second level was television programs. Relatives and family members, agricultural groups, and newspaper were information sources that gained average importance among them.

3. The problems that the pig farmers really encountered in their use of information were shown as follows:  1) The problems that emanated from the information itself: the most important of which was the great amount of time spentin getting the information. The high amount of money they had to pay for the information in need was less important.  2) The problems that arose from the pig farmers themselves: the most serious of which was their lack of time to search for information at various sources. A lack of time to get information from radio and television programs and newspapers was less important.  3) The problems derived from the information itself: the problem most frequently found was that the information sources were located too far for an accessible convenience. The minor problems lay in the fact that the information available at the sources was not the right one they needed.

4. A comparative study of information usage, information sources, and their problems reveals the following findings: 1) The size of farms: the pig farmers who owned medium and large farms showed no significant difference in their use of information, information sources, and the problem of their use.  2) Pig breeding: the farmers at single and mixed breeding farms showed significant difference in the information sources and problems in their use, but their use of information showed no significant difference.  3) Farming experience: pig farmers with different experiences revealed significant differences in the use of information, information sources, and problems in their use. 4) Farming zone: pig farmers in Amphoe Muang and other Amphoes in Nakhon Pathom displayed significant differences in the use of information, information sources, and problems in their use.

Keywords:        1. Information uses.  2. Information sources.  3. Pig farmers in Nakhon Pathom Province

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ