กระบวนการและผลลัพธ์การนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติในเมืองท่องเที่ยวภูเก็ต
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสอดคล้องกลมกลืนของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อกระบวนการ และผลลัพธ์การนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ศึกษาระดับกระบวนการ และปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งทางตรงและอ้อมที่ส่งผลต่อกระบวนการนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติ 3) เพื่อศึกษาระดับผลลัพธ์ และปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งทางตรงและอ้อมที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติในเมืองท่องเที่ยวภูเก็ต โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้นำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติ 2) กลุ่มสถานประกอบการในภูเก็ต กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้อัตราส่วน 5 หน่วยต่อหนึ่งตัวแปรสังเกตได้ ได้กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ จำนวน 197 คน และกลุ่มตัวอย่างสถานประกอบการจำนวน 250 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดภูเก็ต โดยการใช้แบบสอบถามชุดที่ 1 และเก็บข้อมูลจากกลุ่มสถานประกอบการในเขตเทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลเมืองป่าตอง ที่ต่อใบอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สรรพสามิตจังหวัดภูเก็ตโดยใช้แบบสอบถามชุดที่ 2 วิเคราะห์ความสอดคล้องกลมกลืนโดยใช้ค่าสถิติ Chi-Square ค่าดัชนีระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก่แล้ว(AGFI) และดัชนีรากที่สองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) วิเคราะห์ระดับกระบวนการ และระดับผลลัพธ์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งทางตรงและอ้อมที่ส่งผลต่อกระบวนการ และผลลัพธ์การนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติโดยใช้สมการโครงสร้าง(SEM) และใช้ค่า Chi-Square ทดสอบความสัมพันธ์ ของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า
1) ความสอดคล้องกลมกลืนของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อกระบวนการ และผลลัพธ์ การนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติมีความกลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
2) ระดับกระบวนการนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติในเมืองท่องเที่ยวภูเก็ต มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง เท่ากับ 3.43 ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งทางตรงและอ้อมที่ส่งผลต่อกระบวนการนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติมี 4 ปัจจัย คือ เศรษฐกิจ กำหนดภารกิจและมอบหมาย ศักยภาพหน่วยปฏิบัติ การประชาสัมพันธ์
3) ระดับผลลัพธ์การนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติในกลุ่มสถานประกอบการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี เท่ากับ 4.06 ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งทางตรงและอ้อมที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การนำนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปปฏิบัติในเมืองท่องเที่ยวภูเก็ตในกลุ่มสถานประกอบการมีทั้งหมด 2 ตัวแปร คือ เศรษฐกิจ และทัศนคติ
คำสำคัญ: 1. กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ. 2. นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. 3. ผลลัพธ์การนำนโยบายไปปฏิบัติ. 4. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ.
Abstract
The research objectives were 1) To validate the causal structure model of the processes and outcomes of the alcoholic beverages control policy implementation and complied with the empirical data. 2) To study the level of processes and investigate the direct and indirect causal factors affecting the processes of the alcoholic beverages control policy implementation. 3) To study the level of the outcomes and investigate the direct and indirect causal factors affecting the outcomes of the alcoholic beverages control policy implementation in the touristic province of Phuket. This research employed quantitative methodologies. Questionnaires created by the researcher were used to gather data from two groups of subjects: officers and business establishments in Phuket. The sample size was determined based on the ratio 5 units per observed variables. The sample consisted of 197 officers and 250 of business establishments. The questionnaire no.1 was given to 197 officers that were responsible for controlling alcoholic beverages in Phuket. The questionnaire no.2 was given to the 250 establishments whose licenses for selling alcoholic beverages had been extended. In data analysis, the consistency calculated based on Chi-Square, GFI, AGFI and RMSEA. The processes and the outcomes were calculated by using means and standard deviation (S.D.). The casual factors, both direct and indirect to the processes and outcomes of the alcoholic beverages control policy implementation, were analyzed by using structural equation modeling (SEM) and using the Chi-Square test relationships among variables.
The study revealed that 1) the causal relations structure model of the processes and the outcomes of the alcoholic beverages control policy implementation were valid and well fit to the empirical data.
2) The means of processes of the alcoholic beverages control policy implementation in Phuket was found to be moderate (3.45). Both direct and indirect factors affecting the implementation processes of the alcoholic beverages control policy implementation consisted of 4 factors: (1) Economics, (2) Missions and Assignments, (3) The potential of operation units, and (4) Public relations. 3) The means score of results of the alcoholic beverages control policy implementation for the business establishments was found to be at a high level (4.06). Both direct and indirect factors affecting the outcomes of the alcoholic beverages control policy implementation consisted of 2 factors: Economics and Attitudes.
Keywords: 1. Process of the implementation of policy. 2. Alcoholic beverages control policy. 3. Outcomes of policy implementation. 4. Causal relationship.