การออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับเครื่องปั้นดินเผา ผ่านแนวความคิด ลวดลายลูกไม้ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (Designing and creating jewelry from ceramics based on lace concept, Chomphu sub-district, Muang district, Lampang province)

Main Article Content

เจษฎา ทองสุข (Jessada Thongsuk)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับเครื่องปั้นดินเผา ที่ได้ แรงบันดาลใจจากลวดลายลูกไม้ โดยใช้องค์ความรู้ด้านหลักการออกแบบ และศึกษาข้อมูลจากโรงงานเครื่องปั้นดินเผาในพื้นที่ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2. เพื่อช่วยให้โรงงานและผู้ประกอบการที่สนใจ มีทางเลือกในการสร้างผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่และสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้วยตนเองได้ งานวิจัยนี้แสดงเนื้อหา กระบวนการ แนวความคิดของการออกแบบและสร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผาในรูปแบบของงานเครื่องประดับอย่างเป็นขั้นตอน ในการทำงานวิจัยมีการศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่ ปัญหาของการวิจัยจากโรงงานและการคัดเลือกโรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานในตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และแนวทางการพัฒนา รูปแบบผลงาน ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เครื่องประดับกับโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ มีการศึกษาข้อมูล แนวความคิด คือ ลวดลายลูกไม้ ผ่านการวิเคราะห์การออกแบบโดยอ้างอิงจากหลักองค์ประกอบศิลป์ และหลักการออกแบบ การเขียนแบบร่างต้นแบบ ไปจนถึงกระบวนการทำต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ การทำแม่พิมพ์ การหล่อน้ำดิน และการทดลองการเผาเคลือบ ได้ผลงานเครื่องประดับ แบบชุดจำนวน 6 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย ต่างหู สร้อยคอ กำไรข้อมือ แหวน และแบบชิ้นเดียวจำนวน 8 ชิ้น คือ จี้สร้อยคอ จากการวิเคราะห์ผลงานทั้งหมด พบว่า การตัดทอนรูปทรงเครื่องประดับมีการจัดวางองค์ประกอบของลูกไม้ ให้เกิดความลงตัว คำนึงถึงการไหลตัว ของเคลือบ เกิดความรู้สึกเรียบง่ายในผลงานเครื่องประดับ ทำให้ได้ ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบใหม่ มีการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่โรงงานและผู้ที่สนใจ โดยอบรมหลักการ ทักษะการออกแบบ การสร้างสรรค์ ทำให้ผู้ประกอบการมีทักษะการสร้างสรรค์ได้ด้วยตนเอง


 


This research aims to 1) design and create jewelry ceramics products inspired by “lace” and also acquire the designing knowledge from a local factory in Chomphu sub-district, Mueang district, Lampang Province, and 2) help the factory and entrepreneurs to produce new and innovative products. This paper illustrates the conceptual content of the design and creation of products in the form of jewelry step by step. Consultation was also made to find the development of the product model and an agreement. Design principles include the stages of the creation of a systematic work, such as drawing a masterpiece of a lace pattern, making a jewelry prototype, mold making, soil casting and glazing experiments. The completed 6-set jewelry products consist of earrings, necklaces, bracelets, rings and 8 pieces of lockets. An analysis shows that the lace pattern can be developed to create jewelry products to market. This project has workshops for factories and interested persons.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Jutawipak, Wattana. (2002). Ornament Designing (การออกแบบเครื่องประดับ). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Leksawat, Sukumal. (2005). Ceramics: fundamental of Design and Operation (เครื่องปั้นดินเผา : พื้นฐานการออกแบบและปฏิบัติงาน). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Nimsamer, Chalood. (2001). Composition (องค์ประกอบศิลป์). Bangkok: Thai Watana Panich.

Pichayasoonthorn, Prasert. (2014). Fundamental Art and Design (ศิลปะและการออกแบบเบื้องต้น). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Prompreuk, Tawee. (1980). Fundamental Ceramic (เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น). Bangkok: Odian Store Limited Partnership.

Suttipan, Aree. (1989). Visual Art and Beauty (ทัศนศิลป์และความงาม). Bangkok: Tonaor Publication.

Suaymai. (2012). Lacy lace (ผ้าลูกไม้ มาจากไหน). [Online]. Retrieved March 12,2017 from http://oknation.nationtv.tv/blog/suaymai