รูปแบบและความต้องการใช้งานบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์สินค้าเชิงวัฒนธรรมรูปหนังตะลุงของจังหวัดนครศรีธรรมราช (Packaging formats and requirements to promote the identity of Nang Talung cultural products of Nakhon Sri Thammarat)

Main Article Content

ณปภัช จันทร์เมือง (Napaphach Chanmuang)

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและความต้องการใช้งานบรรจุภัณฑ์สินค้าเชิงวัฒนธรรมรูปหนังตะลุงของจังหวัดนครศรีธรรมราช  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จำหน่ายสินค้า 10 คน ผู้ซื้อสินค้า 35 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบในท้องถิ่นภาคใต้ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบสร้างข้อสรุปและใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบบรรจุภัณฑ์รูปหนังตะลุงในปัจจุบัน มี 2 รูปแบบ คือ บรรจุภัณฑ์ถุงใสเพื่อบรรจุผลิตภัณฑ์รูปหนังตะลุงเฉพาะหน่วย และบรรจุภัณฑ์ถุงมีหูเพื่อการกระจายขาย 2) ความต้องการใช้งานบรรจุภัณฑ์แยกตามบริบทของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผู้จำหน่ายสินค้ามีความต้องการบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้ารูปหนังตะลุงแบบตัวเชิด รูปหนังตะลุงประดับฝาผนังแบบใส่กรอบ และรูปหนังตะลุงประดับฝาผนังแบบไม่ใส่กรอบ ผู้วิจัยพบว่าผู้ซื้อสินค้ามีปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการสินค้าเชิงวัฒนธรรมรูปหนังตะลุง 4 ปัจจัย คือ การเป็นของสะสม การเป็นของฝาก/ของที่ระลึกในโอกาสสำคัญ การนำไปใช้เล่นหนังตะลุง และการนำไปจำหน่าย ปัจจัยด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ สามารถป้องกันความชื้น สามารถบอกเล่าเนื้อหาของผลิตภัณฑ์และความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ ในส่วนองค์ประกอบของอัตลักษณ์หนังตะลุง ที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์นั้น ผู้วิจัยได้วิเคราะห์การให้ข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบในท้องถิ่นภาคใต้จำนวน 5 ท่าน ได้ข้อสรุปดังนี้ คือ 1) รูปร่างเค้าโครงของรูปหนัง เช่น เค้าโครงขดมวยผมของตัวหนัง “ยอดทอง” เป็นต้น 2) ลวดลายของรูปหนัง เช่น ลายเรขาคณิตที่เกิดจากการตอกหนัง หรือ ลายไทยที่อยู่บนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของตัวหนัง “เจ้าเมือง” อาทิ ลายกระจังตาอ้อย ลายประจำยาม เป็นต้น 3) แสงและเงา ที่เกิดจากการเชิดหนังตะลุงบนจอผ้าที่มีแสงส่องผ่าน 4) เทคนิคการแกะ ที่ทำให้เกิดลวดลายต่างๆ 5) สีสันของรูปหนัง เช่น สีธรรมชาติของหนัง สีแดง สีเขียว และสีอื่นๆ ที่ใช้ระบายบนตัวหนัง 6) ลักษณะการเชิด ทั้งนี้การศึกษารูปแบบบรรจุภัณฑ์และความต้องการบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มนี้ ทำให้ทราบถึงสภาพ ปัญหา และความต้องการบรรจุภัณฑ์ในบริบทที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และนำอัตลักษณ์ไปสู่การออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าเชิงวัฒนธรรมรูปหนังตะลุงของจังหวัดนครศรีธรรมราชต่อไป 


This research aims to study the packaging formats and requirements to promote the identity of Nang Talung cultural products of Nakhon Sri Thammarat Province to be used as a guideline for packaging development. The samples in this study were 10 vendors, 35 buyers and 5 local southern design specialists. Research instruments were observational and interview forms. Data analysis involved document analysis to draw conclusion and descriptive statistics. The results were as follows. 1) There are two types of Nang Talung packaging: the plastic bag for unit packaging and the plastic bag with handle packaging for distribution. 2) In terms of packaging requirements divided based on the contexts of the sample groups, it was found that the suppliers need packaging for Nang Talung shadow puppet, Nang Talung photo frame and Nang Talung without photo frame. 4 factors for buyers’ product requirements for this cultural products were as follows: collectability, souvenirs/commemorative occasions, purchase for use in Nang Talung shadow play and purchase for sales. The packaging factors that influenced the decision to buy shadow play material were: humidity protection, the tellability of the product and packaging durability. Regarding the components of Nang Talung identity which could be used for packaging design and development, the researchers analyzed the data collected from the 5 design specialists in the south and identified the following components: 1) the shape and outline of the figure such as the curls of “Yodtong’s” hair bun; 2) leathering patterns on the figure such as geometric patterns from leather embossing or the Thai motif patterns on governor's costume such as the Krachang Ta Oi and Prachumyam Patterns; 3) the light and shadow resulting from the shadow of the figure on the screen shone with light; 4) leather carving techniques to create patterns; 5) the color of leather such as the leather natural colors, red, green and other colors; and 6) methods of shadow play. This study on packing formats and requirements of the 3 samples has cast light on packaging conditions, problems and different packaging requirements. The research findings can be used as information for knowledge sharing and exchanges and the identity can be applied to the packaging design of Nang Talung cultural products of Nakhon Sri Thammarat.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Boonwong, N. (1996). Principles of Design (หลักการออกแบบ). Bangkok: Chulalongkorn University.

Chantachon, S., Boonchai, P., & Thidpad, P. (2009). Cultural Identity and Local Art Values and Application of Local Products for Economic and Cultural Tourism Value Added of The Northeast The Central, and The South of Thailand (คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการนำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้). Isan Institute of Art and Culture Mahasarakham University, Mahasarakham, Thailand.

Chomraka, I. (2012). Design and Development of Packaging in Teen Jok Fabrics Lablae For the Local Product Identity into the Commercial Market (การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผ้าซิ่นตีนจกลับแลเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ สู่ตลาดเชิงพาณิชย์). Area Based Development Research, 4(5): 5-22.

Chuaykrod, M. Group chairman of young Nangtalung manufacturer in Nakhon Si Thammarat. Interview, March 31, 2017.

Klinkairwnarong, S. (2015). Packaging design to promote OTOP products (การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ OTOP). Department of Science Service Journal, 63(199): 19-21.

Krasesawet, P., Louhapensang, C., & Saribut, U. (2015). Study and Development of Prototype Souvenirs and Packaging for Architectural Attraction, Sanam Chandra Palace, Nakhom Pathom Province (การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกต้นแบบและบรรจุภัณฑ์สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสถาปัตยกรรมพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม). Art and Architecture Journal Naresuan University, 6(2): 70-79.

Manager Online. (2013). Nakhon Si Thammarat has launched 20 aggressive campaigns in an integrated manner (นครศรีธรรมราช เปิด 20 แคมเปญเชิงรุกในลักษณะบูรณาการ). [Online]. Retrieved July 30, 2017 from https://manager.co.th/south/viewnews.aspx?News

Office of the National Economic and Social Development Board. (2009). The Creative Economy (เศรษฐกิจสร้างสรรค์). [Online]. Retrieved July 12, 2017 from https://thaiembassy.org/seoul/ contents/files/ business-20130905-090645-658148.pdf

Suksikarn, R., Suksikarn, J, and Chuaykrod, M. (2011). The Development on Shadow Puppet Carving Handicraft by Participatory Action Research: A Case Study of Shadow Puppet Leather Carving in Nakhon Si Thammarat (การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหนังตะลุง โดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติ การแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนสร้างสรรค์หัตถกรรมภาพแกะหนังตะลุง ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช). Sipakorn University Journal, 31(2): 69-82.

Yootong, J. (2001). List of Nangtalung Players (ทำเนียบนายหนังตะลุง). Songkhla: Institute of Thaksin Studies, Thaksin University.