ปัจจัยความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา (Successful factors of student assistance influencing student quality in primary schools)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัย โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ที่มีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 375 คน ในโรงเรียนประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัจจัยความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจัยความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและคุณภาพนักเรียน มีค่าเฉลี่ยระดับมาก 2) ปัจจัยความสำเร็จ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและคุณภาพนักเรียนมีความสัมพันธ์ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) แนวทางการพัฒนาปัจจัยความสำเร็จและการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน โรงเรียนประถมศึกษาควรจัดให้มีการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดังนี้ 1) ความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชน 2) การสนับสนุนจากหน่วยงาน 3) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา 4) ความพอเพียงของทรัพยากร 5) ความพร้อมของบุคลากร 6) การคัดกรองนักเรียน และ 7) การส่งต่อนักเรียน โดยปัจจัยความสำเร็จ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 97.8
The purpose of this research was to study the successful factors of student assistance influencing student quality in primary schools. The research methodology comprised quantitative and qualitative data collection. The samples consisted of 375 school administrators of primary schools in the north eastern region. The instruments used for data collection were a questionnaire on the successful factors of student assistance influencing student quality and in–depth interview with experts. Findings were as follows. 1) The conditions of successful factors of student assistance influencing student quality scored at a high level. 2) The successful factors, student assistance and student quality were positively correlated at the significance level of .01. 3) Regarding the guidelines for developing the successful factors and the student assistance that impacted student quality, schools should facilitate the following assistance: 1) cooperation from parents and community, 2) support from other organizations, 3) prevention and problem-solving, 4) sufficient resources, 5) personnel readiness, 6) student screening and 7) student referral. The successful factors and student assistance influenced student quality at the statistically significant level of .05 and predict 97.80 percent of student quality.
Article Details
References
Boontam, P. (2008). Student Support System for Developing Learners of Good Practices: Multiple Case Studies (ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนา ผู้เรียนของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี : พหุกรณีศึกษา). [Online]. Retrieved February 11, 2009 from Silpakorn Journal of Education Research, 1(2): 126-141.
Keawrod, S. (2010). A study of student support systems in basic education institutions. Nong Khai Educational Service Area Office (การศึกษา ระบบการดู แลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย). [Online]. Retrieved November 15, 2012 from https://www.grad.snru.ac.th
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining and Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3) : 607-610.
Ministry of Education. (2008). Core Curriculum Basic Education 2008 (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551). Bangkok: Agricultural cooperative rallies of Thailand.
Nilpan, M. et al. (2015). Evaluation of the Core Curriculum for Basic Education 2008 in the school curriculum (การประเมินผลการใช้หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร). Silpakorn Journal of Education Research, 7(1): 26-41.
Office of the Basic Education Commission. (2008). Success Stories and Guidelines for Strengthening Student Support System (สภาพความสำเร็จและแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน). The Office of the Basic Education Commission: Ministry of Education.
Rasameerat, P. (2012). Problems and Solutions for the Operation Process of Primary School Support System Under the Office of Nakhon Ratchasima Educational Service Area 4 (ปัญหาและแนวทางแก้ไข ปัญหากระบวนการดำเนินงานระบบดู แลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4). [Online]. Retrieved November 15, 2012 from https:// www.grad.snru.ac.th
Rodclai, K. (2014). The year of Student Care (ปี แห่งการดู แลช่วยเหลือนักเรียน) The Office of the Basic Education Commission Kawsod (ข่าวสด). [Online]. Retrieved April 20, 2014 from https://www.moe.go.th/moe/th/ news/
Sritrakul, O. (2013). Development of a Model for Administering care for Student in Education Institutions Under the Office of the Primary Education Service Area (การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา). Doctor of Ph.D. Faculty of Education College Naresuan University.
Sukjairoongwatana, T. et al. (2010). Study of Factors Affecting Behavior Good learning of Mathayomsuksa 3 students under the Office of the Promotion Board Private (การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดนครปฐม). Silpakorn Journal of Education Research, 1(2): 126-141.
Wongswan, T. (2010). Study of Factors Affecting Behavior Development of secondary school support system using participatory action research (การพัฒนาระบบการดู แลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาโดย ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม). Doctor of Philosophy thesis Educational Administration, Faculty of Education, Chulalongkorn University.