การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและองค์ประกอบ ที่มีประสิทธิภาพของการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในรายวิชาการเขียนภาษาอังกฤษ

Main Article Content

อุมาพร คาดการณ์ไกล

Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) อธิบายการออกแบบและพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสานในรายวิช การเขียนความเรียงภาษาอังกฤษ  2) ประเมินองค์ประกอบที่มีประสิทธิภาพของการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบเอติวเตอร์ในรายวิชาการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษ  3) นำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีของการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 เอกภาษาอังกฤษ จำนวน 26 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ‘EN231 Composition I’ ในภาคการศึกษา 2/2555 เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาชาย 19.23% เปอร์เซ็นต์ หญิง 80.76% เปอร์เซ็นต์  การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในรายวิชานี้เป็นการเรียนในชั้นเรียนจำนวน 2.30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบเอติวเตอร์ เครื่องมือของการวิจัย คือการออกแบบระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Theory) ของ Jonassen และคณะ (1999) ซึ่งพัฒนาโดย Koohang (2009) และ Koohang และคณะ (2009) แบบสอบถามและบทสัมภาษณ์  ผลการศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยทำให้ได้องค์ประกอบ 5 ด้านในการออกแบบการเรียนการสอนรายวิชาการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษ ได้แก่ 1) เนื้อหารายวิชา 2) เนื้อหาวิชาประจำบท 3) สื่อการสอนหลายแบบ 4) กิจกรรมในการพัฒนาการเขียน และ 5) การประเมินผลการเขียน ผลของการประเมินองค์ประกอบรายวิชาการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษผ่านระบบเอติวเตอร์   พบว่า องค์ประกอบที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) การเขียนแสดงความคิดเห็นในกระดานสนทนา  2) การเขียนตามหัวข้อที่กำหนด 3) วิดีโอคลิปเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่หลากหลายและสร้างแรงจูงใจที่ดีในการเขียนความเรียง 4) การทำกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล และ 5) การประเมินผลการเรียนที่เน้นการแก้ไขโครงสร้างประโยคให้ถูกต้อง

ผลของการศึกษายังแสดงถึงแนวปฏิบัติที่ดีในการเรียนการสอนผ่านเอติวเตอร์ในรายวิชาการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษ คือ 1) มีกิจกรรมที่สร้างชุมชนแห่งการใฝ่รู้ใฝ่เรียนและการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น กระดานสนทนา บล็อกฯลฯ 2) มีปฏิสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการสื่อสารออนไลน์ เช่น จดหมายอิเล็คทรอนิกส์ ห้องสนทนาฯลฯ  ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน 3) สร้างกิจกรรมที่มีความหมายต่อผู้เรียน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ 4) มีสื่อหลายแบบที่เป็นจริงมีภาพ เสียงและความเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมทักษะการคิดแบบไตร่ตรองและการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง เช่น วิดีโอคลิป ภาพยนตร์ตัวอย่างฯลฯ 5) มีการประเมินผลการเรียนการสอนตอบสนองต่อผู้เรียนทันทีซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อย่างอิสระและเชื่อมั่นในตนเอง

คำสำคัญ: 1. การเรียนรู้แบบผสมผสาน. 2. การเรียนการสอนออนไลน์. 3. แนวคิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. 4. การเขียนความเรียง.  5. อีเลิร์นนิง.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ
Author Biography

อุมาพร คาดการณ์ไกล, Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University,

U-maporn Kardkarnklai is lecturer at Western Languages Department, Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University,
Bangkok, Thailand.

She received her Ph.D. in Linguistics Science from
the University of Reading, United Kingdom. She is one of the
contributors in a book titled ‘New Approaches to Discourse and
Business Communication’ by Palgrave Macmillan (2009).

Her research interest is in Inter-cultural Communication, Workplace Discourse, English for Specific Purposes, ICT in English Language Teaching.