สภาพการใช้และความต้องการข้อมูลสารสนเทศแรงงานนอกระบบในบริบทสุขภาพ เพื่อบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (The implementation and the requirements of informal labor health information for primary care in Southern Border of Thailand)

Main Article Content

วรรณกร ลิขิตปัญญโชติ (Wannakorn Likhitpanyachote)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้และความต้องการข้อมูลสารสนเทศแรงงานนอกระบบในบริบทสุขภาพเพื่อบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พื้นที่วิจัยได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส กลุ่มเป้าหมายเป็นหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิที่ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล เป็นบุคลากรที่ให้บริการสุขภาพในหน่วยบริการสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่า หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิใน เขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีภารกิจด้านการให้บริการสุขภาพ และด้านการบริหารจัดการหน่วยบริการสุขภาพ มีงานหลักเป็นงานด้านการรักษาพยาบาล ส่วนงานรองเป็นงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เจ้าหน้าที่ให้บริการ สุขภาพแก่แรงงานนอกระบบเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป แหล่งข้อมูลที่ใช้มีทั้งจากหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ และบุคคลในพื้นที่จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา มีการรวบรวม ข้อมูลจากงานประจำและจากการสำรวจ การออกชุมชน หรือมัสยิด ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นข้อมูลผู้มารับบริการ ข้อมูลหลักประกันสุขภาพ ข้อมูลอาการ ข้อมูลวินิจฉัยโรค ข้อมูลการรักษาพยาบาล ข้อมูลประวัติโรคเรื้อรัง ข้อมูลการให้เวชภัณฑ์ และข้อมูลผู้ให้บริการของสถานพยาบาล ปัญหาการใช้สารสนเทศ ได้แก่ ด้านความครบถ้วนและครอบคลุมของข้อมูล ด้านความซ้ำซ้อนของข้อมูล ด้านปริมาณข้อมูลและรายงาน ด้านการนำเสนอ และรายงานข้อมูล ด้านการใช้งานระบบสารสนเทศ ด้านการปรับปรุงระบบใหม่ และด้านทรัพยากรบุคคล ส่วน ความต้องการข้อมูลสารสนเทศพบว่า หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิไม่ต้องการสารสนเทศใดเพิ่มแล้ว แต่ต้องการ ด้านอื่นที่สนับสนุนการใช้สารสนเทศ ได้แก่ ด้านระบบสารสนเทศ ด้านการรายงาน ด้านบุคลากรทางเทคโนโลยี สารสนเทศ และด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ


 


The purpose of this research was to study the implementation and the requirements of informal labor’s health information for primary care in southern border provinces of Thailand. The data of this qualitative research were collected from in-depth interviews and were analyzed using the content analysis method. The designated research areas are Pattani, Yala and Narathiwat respectively. The target groups, therefore, were selected from the primary care units, namely sub-district health promotion and hospital units. The results showed that the assigned primary care units provide both health care services and systematical management with primary responsibility for treatment services and secondary for health promotion and disease prevention. They provide informal workers with health care services which are similar to the general public. The data on patients, health insurance information, symptoms, diagnosis, guidance of treatment, chronic disease records, medication history and health care visit records were collected from village health volunteers, local villagers, community leaders and a religious leader. The difficulties of usage are lack of completeness, information overlap, lack of system development, and lack of a capable workforce in each health care unit. The research indicated that there was adequate information in all health care units. However, information implementation is still in need of other contributions, such as working system, reporting, and human resources in the information technology system.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Ayuwat, Dusadee., & Sanchaisuriya, Pattara. (2006). Social Changes on Health Status of Migrant Laborers (การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อภาวะสุขภาพ กรณีศึกษาแรงงานย้ายถิ่น). Khon Kaen: Health Systems Research Institute.

Dendoung, Suphot. (1998). Health and Safety of Workers: Synthesis of Literature (สุขภาพและความปลอดภัย ของคนงาน: การสังเคราะห์วรรณกรรม). In The Social Dimension of Health and Safety of Labor. Bangkok: Program in Social Sciences and Medical and Public Health, Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University.

Faramnuayphol, Pinij. (2007). Proposal of Health Information System Development Concept for Primary Care (ข้อเสนอแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพสำหรับบริการปฐมภูมิ). In Development and Use Information System for Primary Care System, edited by Piyada Prasertsom, pp. 127-136. Nonthaburi: Institution of Community Based Health Care Research and Development.

Good, Suwajee. (2002). Review of Definitions Used for Drafting National Health Act (การทบทวนความหมายของคำและนิยามทางวิชาการและในภาคปฏิบัติการของกลุ่มคำที่ใช้ในการร่างหลักการของร่าง พรบ. สุขภาพแห่งชาติ). Nonthaburi: Health Systems Research Institute.

Health Systems Research Southern Institute, Prince of Songkla University. (2009). The Development of Primary Care Service in the Special Area: Pattani Yala Narathiwat Songkla and Satun Provinces, 2nd Year (การพัฒนาการจัดบริการปฐมภูมิในพื้นที่พิเศษจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล ปีที่ 2). Songkhla: Health Systems Research Southern Institute, Prince of Songkla University.

Kanokwong, Orasa., Wiripongsukit, Suwat., Lojanapiwat, Sugunya., Sornsrivichai, Vorasith., & Limchaiarunruang, Sawitri. (2010). The Synthesis of Health System Under the Violence Crisis in Southern Border Provinces Area (การสังเคราะห์ระบบสุขภาพในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้). Nonthaburi: Health Systems Research Institute.

Likhitpanyachote, Wannakorn., Ayuwat, Dusadee., & Vongprasert, Chollabhat. (2012). The Needs for Informal Labour Health Information System in the Area of Contracting Unit for Primary Care (ความต้องการระบบสารสนเทศสุขภาพแรงงานนอกระบบในระดับพื้นที่ของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ). Journal of Humanities and Social Sciences, 8(2): 65-82.

National Statistical Office. (2016). Informal Workers Survey 2009 (การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2559). Bangkok: Economic and Social Statistics Bureau, National Statistical Office.

Rodklai, Amorn., Wiripongsukit, Suwat., & Hasuwankit, Supat. (2005). Health Service System in the Critical Conditions of the Three Southern Border Provinces (การจัดระบบบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้). Songkla: Health Systems Research Southern Institute, Prince of Songkla University.

Sirisuwan, Somnuek., Kimakhom, Jamchan., Asonknew, Winai., & Asonknew, Wisai. (2005). Healthcare System During Violent Crisis in the Three Southern Border Provinces, Thailand (การศึกษาผลกระทบต่อบริการสุขภาพในภาวะวิกฤติ 3 จังหวัดชายแดนใต้). In The Health Care System in the Critical of Three Southern Border Provinces. Songkhla: Health Systems Research Southern Institute, Prince of Songkla University.

Srivanichakorn, Supattra. (2007). Community Health. “Leverage Point for Quality of Health Service System” (งานสุขภาพชุมชน “จุดคานงัดคุณภาพระบบบริการสุขภาพ”). In Crystallize Ideology “Leverage Point for Quality of Health Service System”, edited by Surasak Athicmanon, pp. 1-20. Nonthaburi: Institute of Community Based Health Care Research and Development.

Sutheravut, Pongthep., Rodklai, Amorn., Wiriyapongsukit, Suwat., & Hasuwannakit, Supat. (2007). Health System During Crisis in Restive Southern Provinces of Thailand (วิกฤตของระบบสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้). Journal of Health Systems Research, 1(2): 145-155.