รูปแบบการสื่อสารและการสร้างแรงจูงใจที่ใช้ในเฟซบุ๊กแฟนเพจยอดนิยมของไทย (The communication styles and motivation using in Thai popular facebook fanpages)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารและการสร้างแรงจูงใจในเฟซบุ๊กแฟนเพจ ยอดนิยมของไทย โดยศึกษาข้อความโพสต์ในเฟซบุ๊กแฟนเพจยอดนิยม 3 แฟนเพจ รวมทั้งสิ้น 90 โพสต์ และนำเสนอลักษณะร่วมของข้อความโพสต์ทั้งหมด ผลการวิจัยพบรูปแบบการสื่อสารเพื่อนำเสนอตัวตน 11 รูปแบบ คือ ความเป็นตัวเองของผู้ส่งสาร ความเปิดเผย ความชัดเจนตรงไปตรงมา ความใส่ใจ ความมีชีวิตชีวา หรือแสดงภาพประกอบ ความเป็นมิตร ความโดดเด่น การทิ้งให้เกิดความประทับใจ ความผ่อนคลาย การโต้แย้ง และความเกินจริง ตามลำดับ และพบการสร้างแรงจูงใจด้วยจุดจับใจ 2 ประเภท คือ จุดจับใจทางด้านเหตุผล และจุดจับใจทางด้านอารมณ์ ซึ่งจุดจับใจทางด้านอารมณ์พบ 6 ประเภทย่อย คือ จุดจับใจด้านความเป็นตัวเอง จุดจับใจด้านประสาทสัมผัส จุดจับใจโดยใช้ดาราหรือคนดัง จุดจับใจด้านอารมณ์ขัน จุดจับใจด้านความอบอุ่น และจุดจับใจด้านความกลัวหรือกังวลใจ ตามลำดับ จากผลวิจัยทำให้เห็นว่าการสร้างสรรค์เนื้อหาของเฟซบุ๊ก แฟนเพจยอดนิยมของไทยนั้น เกิดจากการเลือกรูปแบบการสื่อสารและการเลือกจุดจับใจสารที่ดึงดูดและตรงใจ ผู้รับสาร จึงทำให้เกิดความชื่นชมและเกิดยอดการติดตามของคนในสังคมเป็นจำนวนมาก
This study aimed at exploring the use of communication styles and motivation in Thai popular Facebook fanpages. The data was collected from the forum messages of 90 posts from three famous Facebook pages. Then the data was categorized according to the common traits in order to find information on the presentation being used. The study accordingly found that there were 11 types of the communication styles for presentation, namely personal, open, precise, attentive, animated, friendly, dominant, impression leaving, relaxed, contentious, and dramatic. In this study, there were 2 types of appeals used to provide motivation which were rational appeals and emotional appeals. Emotional appeals could be generated into 6 types, namely ego appeals, sensory appeals, star appeals, humor appeals, warmth appeals, and fear/anxiety appeals. The study revealed that the content generating occurring in Thai popular Facebook Fanpages was caused by the selection of communication styles and the selection of appeals that attracted recipients resulting in a lot of appreciation and followers.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Aramruang, Kritsana. (2006). Advertising Motivation and Opinion in Whitening Deodorant for Men in Bangkok (แรงจูงใจและความคิดเห็นในงานโฆษณาผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเพื่อใต้วงแขนขาวของผู้ชายในกรุงเทพมหานคร). Master’s dissertation, Thammasat University, Bangkok, Thailand.
Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Bandura, A. (1989). Social Cognitive Theory. Annals of Child Development, 6: 1-60.
Dutsadeepanit, Kanokwan. (2012). The Content Analysis Of Facebook Fanpages In Thailand (การนำเสนอเนื้อหาทางเฟสบุ๊คแฟนเพจในประเทศไทย). Doctoral dissertation, Sripatum University, Bangkok, Thailand.
Jithkraikroun, Passakorn. (2010). New Media Technology, Social Presence and Communication Behavior on Social Network (เทคโนโลยีของสื่อใหม่และการนำเสนอตัวตนต่อสังคมกับพฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์). Master’s dissertation, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
Norton, R. W. (1978). Foundation of a Communicator Style: Construct. Human Communication Research, 4: 99-112.
Sampattavanija, Porntip. (2003). Motivation and Advertising (แรงจูงใจกับการโฆษณา). Bangkok: Thammasat University.
Tang-Umphan, Athittharn. (2013). Communication Process for Self-Reputation Building through Online Social Network (กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างความมีชื่อเสียงของตนเองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์). Master’s dissertation, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.