พรรณพฤกษากับการออกลวดลายปูนปั้นประดับหน้าบันอาคาร ในศิลปะสกุลช่างเพชรบุรี

Main Article Content

ดวงกมล บุญแก้วสุข

Abstract

การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบลวดลายปูนปั้นประดับหน้าบันอาคารในศิลปะสกุลช่างเพชรบุรีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เน้นความสำคัญกับแบบแผนลวดลายแนวประเพณี ประเภทลวดลายก้านขด และลวดลายเครือเถากระหนกแบบต่างๆ เป็นหลัก  เนื่องจากเป็นแบบแผนที่ปรากฏเด่นชัดในงานศิลปะไทยแนวประเพณีโดยทั่วไป บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบลวดลายพรรณพฤกษาในงานปูนปั้นสกุลช่างเพชรบุรี โดยทำการศึกษาตัวอย่างลวดลายประดับหน้าบันในศิลปะปูนปั้น ร่วมกับงานสลักไม้สกุลช่างเพชรบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสร้างสมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2510 ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ก่อนนำผลมาเทียบเคียงกับกลุ่มตัวอย่างงานปูนปั้นประดับหน้าบันอาคารของช่างปูนปั้นเพชรบุรีที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน (พ.ศ. 2511 ถึงปัจจุบัน) 

ผลการศึกษาพบว่าลวดลายประเภทพรรณพฤกษาเป็นแบบลวดลายสำคัญที่ปรากฏหลักฐานมาตลอดในงานประดับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเป็นลวดลายทางเลือกสำหรับการประดับองค์ประกอบปลีกย่อยที่ช่างต้องการปรับให้มีความหลากหลายของลวดลาย ทั้งยังปรากฏแบบแผนการออกลายประเภทก้านขด และเครือเถากระหนกในงานประดับหน้าบันอาคารกลุ่มหนึ่ง ที่แสดงความสัมพันธ์กับการออกลายอันมีพื้นฐานมาจากความเข้าใจในการออกลวดลายประเภทต่างๆ ว่ามีนิมิตจากลายเถาวัลย์ในธรรมชาติ และนับว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งในงานศิลปะสกุลช่างเพชรบุรีที่มีการสืบทอดมาในงานปูนปั้นยุคปัจจุบัน

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ
Author Biography

ดวงกมล บุญแก้วสุข, อาจารย์ประจำสาขาการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี

2009-now.   Lecturer at faculty of management, Silpakorn University

2005.   M.A. Art History

2002.   B.A. Art History