ความเชื่อและความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้านการรักษาโรคของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย จังหวัดเพชรบุรี (Beliefs and faith in holy objects for treatment among Thai traditional medical practitioners in Phetchaburi Province)

Main Article Content

กิติศักดิ์ รุจิกาญจนรัตน์ (Kitisak Rujiganjanarat)
กนก พานทอง (Kanok Panthong)

Abstract

ความเชื่อและความศรัทธาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่คนไทยมายาวนาน เปรียบเสมือนกำลังใจในการใช้ชีวิตของคนไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้านการรักษา รวมถึงความเชื่อและความศรัทธาของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้านการรักษาโรค กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 คนประกอบด้วย แพทย์แผนไทย ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลและจากเอกสาร ตำรา ผลการวิจัยพบว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้านการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ รูปพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเจ้า รูปปั้นหมอชีวกโกมารภัจจ์ พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5 บทสวดและคาถาปรุงยาสมุนไพรสมัยโบราณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีความเชื่อในเรื่องของการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าจะช่วยให้เกิดความสบายใจและความมั่นใจในการรักษามากขึ้นซึ่งเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่ง และประสบการณ์จริงของผู้ให้ข้อมูลส่งผลให้เกิดความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติมากขึ้น นอกจากนี้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ยังมีผลต่อภาวะทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย และยังส่งผลต่อผู้ป่วย คนในชุมชนและสังคม โดยแสดงออกผ่านกิจกรรม ได้แก่ การกราบไหว้และการสวดบทคาถา ทำให้เกิดความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้านการรักษา ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ นั้น สามารถทำได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน โดยไม่มีขั้นตอนหรือรูปแบบที่แน่นอน ผลจากความมีศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยเกิดขวัญและกำลังใจ มีสมาธิในการรักษาผู้ป่วย และเกิดความสบายในการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยให้ได้ผลการรักษาที่ดีอีกด้วย


Belief and faith in sacred things have been with Thai people for a long time like the encouragement for their livings. This qualitative research aimed to study the sacred objects in treatment, including the beliefs and faith of Thai traditional medicine practitioners towards sacred things in the treatment of diseases. The data from nine key informants including Thai traditional medical practitioners, Thai traditional medical assistants, and an expert in Thai traditional medicine were specifically collected and acquired by a specific method using in-depth interview and content analysis from the data providers and textbooks. The results revealed that the holy objects in treatment for Thai traditional medical practitioners in Phetchaburi Province were composed of Bhaisajyaguru, Jivaka statue, the King Rama V, and the spells in compounding medicine. Moreover, the key informants believed that respecting the sacred items could increase comfort and confidence in their treatment. Thanks to the key informants’ real experiences from, they believed more in the supernatural power. In addition, the holy objects in treatment influenced their emotions, and affected the patients, people, or social communities such as the belief in sacred items and the spells. These can be done at home or workplace even though they did not know how exact procedure was. The results of faith were found to occur in their minds like confidence or concentration, and affect the effectiveness of good treatment for patients.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Duangwiset, Naruphon. (2017). Anthropological Concepts and The Study of Beliefs Sacred Things in Thai Society (แนวคิดมานุษยวิทยากับการศึกษาความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสังคมไทย). Academic Journal Humanities and Social Sciences, 25(47): 173-197.

Duangwiset, Naruphon. (2017). Community and Faith, Sacred In Ban Phaeo District and Krathum Baen District Samut Sakhon (ชุมชนกับความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในอำเภอบ้านแพ้ว และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร). Bangkok: Sirindhorn Anthropology Center (Public Organization).

Morris, B. (2006). Religion and Anthropology: A Critical Introduction. Cambridge: Cambridge University Press.

Phothong, Krittiya. (2014). Thai Contemporary Worship (ไทยบูชาร่วมสมัย). Master’s dissrtation, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Phrakhru Sirirattananuwat. (2013). Worshiping Sacrifices: Concepts, Principles, Influences on Thai Society (การบนบาน บวงสรวง: แนวคิด หลักการอิทธิพลต่อสังคมไทย). Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Pichiensuntorn, Chanyan. (2008). Thai Traditional Medicine (แพทย์แผนไทย). Bangkok: Thai Encyclopedia Project.

Ponmanee, Tattai. (2017). Beliefs and Rituals of The Community Towards Prasat Phu Temple, Champasak District, Lao (ความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนต่อปราสาทวัดพู แขวงจำปาสัก สปป. ลาว). Journal Fine Arts Khon Kaen University, 9(1): 45-66.

Pornsiripong, Saowapa., & Usupararat, Pornthip. (2000). Problems and Guidelines for The Development of Thai Traditional Medical Personnel Production (สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการผลิตบุคลากรแพทย์แผนไทย). Nakhon Pathom: Institute for Language and Culture Research for Rural Development, Mahidol University.