การจัดทำแผนที่ออนไลน์เชิงประวัติศาสตร์ชุมชนปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์อย่างมีส่วนร่วม สู่การเป็นแผนที่ชุมชนอัจฉริยะ (The online historical mapping of Pak Praek community, Muang district, Kanchanaburi with the Participatory Geographic Information Systems (PGIS) toward the smart community map)

Main Article Content

คมสัน ศรีบุญเรือง (Komsan Sriboonruang)
ณรงค์ พันธุ์คง (Narong Punkong)

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนที่เชิงประวัติศาสตร์ ชุมชนปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และ 2) เพื่อจัดทำแผนที่ออนไลน์เชิงประวัติศาสตร์ ชุมชนปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ชาวบ้านชุมชนปากแพรก ปราชญ์ชุมชนปากแพรก นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกาญจนบุรี และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ โดยงานวิจัยเรื่องดังกล่าวนี้ได้ใช้แนวคิดภูมิสารสนเทศ แนวคิดแผนที่เดินดิน และแนวคิดระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์อย่างมีส่วนร่วม (PGIS) เป็นแนวคิดหลักในการศึกษา ผลการวิจัยปรากฏดังต่อไปนี้ 1) การสำรวจข้อมูล สำหรับการจัดทำแผนที่เชิงประวัติศาสตร์ ชุมชนปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ได้ผลสรุป 2 ประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง การสำรวจแผนที่เศรษฐกิจชุมชนปากแพรก พบร้านค้าจำนวนทั้งหมด 97 ร้านค้า โดยแบ่งประเภทร้านค้าได้ 22 ประเภท และประเด็นที่สอง การสำรวจแผนที่บ้านประวัติศาสตร์ชุมชนปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี พบว่ามีแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์จำนวน 40 แห่ง และ 2) จัดทำแผนที่ออนไลน์เชิง ประวัติศาสตร์ ชุมชนปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ผู้วิจัยได้พัฒนาและออกแบบแผนที่ ออนไลน์ โดยใช้กระบวนการจากแนวคิดระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการพัฒนาแผนที่ชุมชนปากแพรก ได้แก่ กิจกรรมภาคสนาม การนำเข้าข้อมูล การปรับแต่งข้อมูล การบริหารข้อมูลการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล อีกทั้งนำแนวคิดระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์อย่างมีส่วนร่วมมาเป็นหนึ่งในกระบวนการทำงาน โดยใช้กลุ่มซอฟแวร์รหัสเปิด (free and open source software) และใช้กระบวนการจัดทำแผนที่ออนไลน์ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การปรับแก้ข้อมูลจากภาคสนามเปรียบเทียบกับแผนที่ในโปรแกรมแผนที่ออนไลน์ 2) ทดสอบการนำเข้าแผนที่ออนไลน์ และ 3) การปรับแต่งหน้าเว็บและแสดงผลแผนที่ร่วมกับชั้นข้อมูลก่อน แสดงผลในเว็บเซิฟเวอร์


 


This research had two objectives 1) to survey the data for the Pak Phraek community historical mapping, and 2) to make the online historical map of Pak Phraek community, Kanchanaburi. The key Informants included people from the community, villagers, philosophers, local historical scholars, and government agencies. This research used the geoinformatics concept, the walking map concept, and participatory geographic information system (PGIS) concept as the main approach and methodology. The findings showed as follows: 1) the surveyed data for the Pak Phraek community historical mapping led to 2 conclusions. The first conclusion is that there were 97 stores in the Pak Praek economy map which can be categorized into 22 types. The second conclusion is that there were 40 historical learning resources in the historical mapping of Pak Phraek community. 2) The online historical mapping of Pak Phraek community used the geographic information system processing for developing the Pak Phraek historical map including fieldwork, data input, data edited, data management, data manipulation, data analysis and data display. The participatory geographic information system (PGIS) concept was used in free and open source software processing in three steps: 1) to edit the data from the fieldwork in the online map software, 2) to test the online map import, and 3) to edit a web page and display layers before showing on the web server

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Chungsathiansap, Komat., Tengrang, Kanisorn., Pinkaew, Ratree., & Petchkong, Waranya. (2002). Communities Way of life : A learning guide that makes community work easy, effective and fun (วิถีชุมชน คู่มือการเรียนรู้ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผล และสนุก). Nonthaburi: Health System Research Institute Ministry of Public Health.

Department of Geography ChiangMai University. (2003). The Geoinformatics Skills Workshop (การอบรมเสริมทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ). Training Document. Chiang Mai: Chiang Mai University.

Dontree, Suthinee. (1999). The Principle of Remote Sensing (ความรู้พื้นฐานด้านการสํารวจจากระยะไกล Remote Sensing). Chiang Mai: The Department of Geography, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University.

Hemwan, Pholpat. (2013). Workshop of Basic GIS in The Open Source Software: MapWindow GIS (คู่มือปฏิบัติการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้นด้วยโปรแกรมปฏิบัติการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เปิดรหัส Map Window GIS). Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Khunrattanasiri, Weeraphart. (2019). Geometric coordinate transformation (การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนของภาพดาวเทียมทางเรขาคณิต). [Online]. Retrieved February 14, 2019 from https://www.dnp9.com/dnp9/web1/file_editor/file/Fundamental%20-%203%20Geomatric%20Correction.pdf

Ministry of Digital Economy and Society. (2016). Smart City (สมาร์ทซิตี้). [Online]. Retrieved January 13, 2018 from mdes.go.th/view/1/ข่าวกระทรวงฯ/ข่าวกระทรวง/1650/

Office of Tourism and Sport, Kanchanaburi. (2016). Pak Preak: The old road, Tell a Stories of Kanchanaburi. Kanchanaburi (ปากแพรกถนนเก่าเล่าเรื่องเมืองกาญจน์). Kanchanaburi: Department of Tourism and Sport.

Orban-Ferauge, F. (2011). Participatory Geographic Information Systems and Land Planning. Namur: FUNDP.

Ratanopad, Savitri. (2015). Web site Mapping in archaeological site “KU” Tung Gula Ronghai area, Roi Et (การสร้างแผนที่ Web site แหล่งที่ตั้งโบราณสถานกู่ บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด). Mahasarakam: The Department of Geography , Human and Social Science Faculty, Mahasarakam University.

Sriboonruang, Komsan., & Kumkrua, Malinee. (2017). Community way of life Research Process for the Thung- SamoRelation re-Building in Walking Map and Community Calendar Concept (กระบวนการสืบค้นความรู้วิถีชุมชนท้องถิ่น เพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์ของชุมชนทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้แนวคิดแผนที่เดินดินและปฏิทินชุมชน). Kanchanaburi: Research and Development Institute, Kanchanaburi Rajabhat University.

Thailand Sustainable Development Foundation. (2016). Technique and Tools for Communities Thinking Study (เทคนิคและเครื่องมือสื่อความคิดในการศึกษาชุมชน). Bangkok: Thailand Sustainable Development Foundation.

United States Geological Survey. (2019). Sentinel-2. [Online]. Retrieved February 26, 2019 from https://earthexplorer.usgs.gov/