การพัฒนาทักษะผู้นำกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษา (Development of English camp leadership skills in primary school teachers)

Main Article Content

อโณทัย พลเยี่ยม เพชรแสง (Anothai Ponyeam Pachsang)

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) เปรียบเทียบทักษะการเป็นผู้นำกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างในช่วงก่อนและหลังการฝึกอบรม 2) เปรียบเทียบความรู้ด้านการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างในช่วงก่อนและหลังการฝึกอบรม 3) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม 4) เปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนในช่วงก่อนและหลังการเข้าค่ายภาษาอังกฤษ และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ได้จากการสุ่มเลือกแบบเจาะจงซึ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 71 คน และครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 1, 2 และ 3 จำนวน 9 คน และกลุ่มที่ 2 คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 1, 2 และ 3 จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) แบบประเมินทักษะการเป็นผู้นำกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ 2) แบบประเมินความรู้ด้านการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม 4) แบบประเมินทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียน และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ ระยะเวลาฝึกอบรมทั้งหมด 2 วัน วันละ 6 ชั่วโมงระยะเวลาในการจัดค่ายภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวน 3 วัน (วันละ1 โรงเรียน) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยด้านทักษะการเป็นผู้นำกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษหลังการฝึกอบรมสูงขึ้นกว่าก่อนการฝึกอบรม 13.25 คะแนน 2) คะแนนเฉลี่ยด้านการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม 6.99 คะแนน 3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการใช้หลักสูตรฝึกอบรมผู้นำกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด 4) คะแนนเฉลี่ยด้านทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการเข้าค่ายภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนการเข้าค่ายภาษาอังกฤษ 14.16 คะแนน และ 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมากที่สุด


The main purpose of this research was to evaluate the effectiveness of the English camp leader training program in primary school teachers in these following aspects: 1) compare English camp leader skills before and after attending this program, 2) compare their knowledge about English camp activities before and after attending this program, 3) evaluate their satisfaction towards the training program, 4) compare students’ English skills before and after attending English camp, and 5) evaluate students’ satisfaction towards English camp. The samples selected through purposive sampling consisted of fourth-year undergraduate students, majoring in English at the Faculty of Education, Phetchabun Rajabhat University, in academic year 2017 and primary school teachers who were teaching the English subject in Phetchabun Primary Educational Service Area 1, 2 and 3, and 240 primary students in Phetchabun Primary Educational Service Area 1, 2 and 3. The research instruments were: 1) the evaluation of English camp leadership skills before and after attending this program, 2) the evaluation of knowledge about English camp activities before and after attending this program, 3) the satisfaction rate towards training program, 4) the evaluation of students’ English skills before and after attending English camp, and 5) the evaluation of satisfaction towards English camp. The training program was conducted for 2 days (6 hours a day) and 3 days for English camp. The mean score and standard deviation were applied to analyze the data. The study revealed that 1) the mean score of English camp leadership skills in the post-test was higher than that of the pre-test scores at 13.25, 2) the mean score of knowledge regarding English camp activities in the post-test scores was higher than that of the pre-test scores at 6.99, 3) the samples showed the satisfaction rate towards the training program was very high in teachers, 4) the mean score of students’ English skills in the post-test was higher than that of the pre-test scores at 14.16, and 5) the students showed that they are in favour of this English camp at the highest level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Damjang, Waraporn. (2008). A Development of English Listening Comprehension of Mathayomsuksa 1 Students by Using Camping Activities (การพัฒนาการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมค่าย). Master’s dissertation, Pibulsongkram Rajabhat University. Phitsanulok. Thailand.

Graddol, D. (2006). English Next. London: British Council.

Khaniwaranon, Siriya. (1998). English Camp: The Activity to Develop English Skills and Reinforce Students’ Positive Attitudes to English (ค่ายภาษาอังกฤษ: กิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน). Master’s dissertation, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.

Kennedy, P. (2002). Learning Cultures and Learning Styles: Myth-Understanding about Hong Kong Chinese Students. International Journal of Lifelong Education, 21(5): 430-445.

Lochana, M., & Deb, G. (2006). Task Based Teaching: Learning English Without Tears. [Online]. Retrieved July 26, 2010 from http://www.asian-efl-journal.com/Sept_06_ml&gd.php

Kositchaivat, Suneeta. (2012). Development of An English Camp Training Program to Enhance English Speaking Skills, English Camp Activity Knowledge and Social Skills for English Major Students, Faculty of Education, Silpakorn University (การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมค่ายภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษความรู้ด้านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ และทักษะสังคม สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร). Doctoral dissertation, Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand.

Ministry of Education. (2001). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2544 (A.D. 2001) (หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544) (3rd ed.). Bangkok: Kurusapa.

Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) (หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544). Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Morrow, K. (1983). Principles of Communicative Methodology. London: Longman.

Nayak, A. K., & Rao, V. K. (2002). Classroom Teaching Methods and Practices. New Deli: Nangia and A.P.H. Publishers.

Office of the Primary Education Commission. (2001). Telling the English camp, cooperative learning, study to be in the special ability (เล่าเรื่องค่าย เรียนร่วม...ร่วมเรียนสู่ความสามารถพิเศษ). Bangkok: Office of the Primary Education Commission Press.

Photong, Rattanaporn. (2001). English Camp Activity for Increasing Motivation in English Learning for Mathayomsuksa 1 Students, The College of Dramatic Arts, Supanburi (กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลป์สุพรรณบุรี). Master’s dissertation, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.

Sa-e-dee, Arin., & Sulaiman, Suraiya. (2008). Attitudes and Satisfaction of Mattayom 4-5 Students in Pattani Towards The English Camp Activities (การประเมินกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ เจตคติต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 ในจังหวัดปัตตานีที่มีต่อกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ). Journal of Humanities and Social Sciences, 4(1): 56-81.

Sukprasert, Hataikarn. (2009). The Increasing of Mathayomsuksa 3 Students’ Motivation for English Learning and The Learning Achievement by Using English Camp (การพัฒนาแรงจูงใจในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ). Master’s dissertaion, Thepsatree Rajabhat University, Lopburi, Thailand.

Thongjean, Waraporn. (2008). Development of An Instructional Model Based On Inquiry-Based Learning and 360 Degree Feedback Approaches to Enhance English Argumentative Writing Ability of Undergraduate Students (การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับแนวคิดการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงโต้แย้งของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต). Doctoral dissertation, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Trakulsu, Siriya. (1998). The study of English camp management in Mathayomsuksa level (การศึกษาแนวทางการจัดค่ายภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา). Master’s dissertation, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.

Willis, J. (1998). A Framework for Task-Based Learning. Harow: Longman.