ระบบอภิบาลกับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย (A good governance with organic agriculture development in Thailand)
Main Article Content
Abstract
สิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ปราศจากการปรุงแต่ง สิ่งที่แปลกปลอม เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง รากเหง้า อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมาสามารถเรียกได้ว่า “เป็นของจริง” ในทางกลับกัน สารเคมี สิ่งที่ผิดแปลกจากธรรมชาติได้สร้างอันตราย และหายนะอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของผู้ผลิตและผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ได้ทำลายความหลากหลาย และความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิถีความเป็นเกษตรกรแบบดั้งเดิม การปลูกพืชเชิงเดี่ยว การใช้สารเคมีภายใต้ความเชื่อแบบทุนนิยมได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า แนวทางดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้เกษตรกรมีเศรษฐานะที่ดีขึ้นจริง แต่ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้ยากจน เป็นหนี้เป็นสิน ดังนั้น เกษตรอินทรีย์จึงเป็นคำตอบ หรือทางออกหนึ่งที่เกษตรกรไทยจะสามารถทำได้ เพื่อกลับไปสู่ความเป็นธรรมชาติ ความพอเพียง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบระบบอภิบาลในการจัดการผลิตผลเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน ท้องถิ่น
ทั้งนี้ เกษตรอินทรีย์ที่สามารถเป็นทางเลือก ทางรอดของเกษตรกรไทย ควรมีรูปแบบของระบบอภิบาลในการจัดการผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ที่ประกอบด้วย 1) ระบบอภิบาลแบบจัดการตนเองโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายหลายระดับ 2) ระบบอภิบาลโดยธรรม 3) ระบบอภิบาลที่มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ และเหมาะสมกับบริบทของชุมชน ท้องถิ่น และ 4) ระบบอภิบาลโดยเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการในการทำเกษตรอินทรีย์
นอกจากนั้นระบบอภิบาลดังกล่าวควรมีองค์ประกอบ อื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ มีการขนส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทำอย่างไรเมื่อเก็บผลผลิตมาแล้ว สามารถที่จะยืดอายุผลผลิตให้ยาวนานขึ้น หรือไปถึงผู้บริโภคแล้วบอกช้ำ เน่าเสียน้อยที่สุด 2) รัฐ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่คนยากจน และเกษตรกรทั่วไปได้ทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อความยั่งยืนของอาชีพเกษตรกรรม และคุณภาพชีวิต รายได้ที่สูงขึ้นของเกษตรกร 3) นโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ต้องนำไปสู่การปฏิบัติจริง ไม่ใช่เพียงเขียนไว้เป็นตัวหนังสือเท่านั้น รวมถึง 4) รัฐควรสร้างคุณค่าจากการที่ประเทศไทยเป็นครัวของโลก และมีจุดเด่นอีกหลายประการ เช่น คนไทยมีจิตใจดี โอบอ้อมอารี ยิ้มง่าย และมีประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ประกอบกับมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ และสวยงาม รวมถึงมีที่ตั้งของประเทศที่ดีเลิศ มีการคมนาคม ขนส่งที่สะดวกสบาย ตลอดจนมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ดังนั้น เครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ควรร่วมมือกันพัฒนาให้ชุมชน ท้องถิ่นเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ เช่น ประยุกต์ให้เป็นบูติก กล่าวคือ กิจการมีขนาดปานกลาง เหมาะสม สินค้าหรือบริการสามารถขายได้ราคา เพราะเน้นคุณภาพ อาศัยความพิถีพิถัน ใส่ใจรายละเอียด ให้ชุมชน ท้องถิ่นได้จัดการตนเองในทุกกระบวนการ โดยมีเครือข่ายภาคส่วนอื่นที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยส่งเสริม สนับสนุน เพื่อสร้างรายได้ และความมั่นคงของเศรษฐกิจระดับฐานรากให้เข้มแข็ง อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนของชุมชน ท้องถิ่น
Something which is derived from nature, no artificial contamination, it is an identity a wisdom from ancestors which is continued to do and to be called “authenticity”. By contrast, impurity and toxic chemical are different from the nature. It can harm producer and consumer’s health. It disrupts the balance of the natural resource and environment. The authentic agriculture gradually disappeared. It turns out that a monoculture emerge instead. It is obvious that exploiting such chemical substances under the capitalism practice in the agriculture cannot improve farmers’ economic status, well-being and debt unceasingly. Thus, the organic agriculture can be for the pathway of improving Thai farmers and become the answer or natural sustainability. This can promote Thai farmers to be sustainable and self-reliance from the organic agriculture product management governance which can be suitable for the community context.
Therefore, the organic agriculture approach can be a choice for the better life of the Thai Farmers. This approach consists of: 1) a self-governance-the collaboration of the various level; 2) a good governance; 3) a natural governance was suitable for the community context; and 4) agricultural governance being the organic agriculture entrepreneur.
This approach should incorporate these features, namely 1) a development of a logistic system and an organic product transportation in order to keep the quality of products a long time; 2) public organization involving land management for the poor and farmers in order to do the organic agriculture for sustainability; 3) promoting authentic organic agriculture policy; 4) the urging Thai Government to promote Thailand as the world kitchen as Thailand inherit numerous unique and positive attributes. Each year, there are many tourists to travel in Thailand, so public organization networks should cooperate to develop the community and rural area to be the organic agricultural tourist attractions such as to arrange the boutique – a small building, cheap price products, best quality products and the people in the community can manage and do themselves but it should have the supporters from the specialists of Public Organization Network to support to increase the outcome for the sustainment and firm in the economy of community and people.
Article Details
References
Chaiamporn, Supannee. (1987). Development of self-reliant measurement tool (การพัฒนาเครื่องมือวัดความพยายามพึ่งตนเอง). Academic documents (social science) 25th February 3-5, 1987. Bangkok: Faculty of Social Sciences, Kasetsart University.
Hunnak, Chompoonuch. (2016). Governance without Government (ระบบอภิบาลโดยปราศจากรัฐ). Interdisciplinary Studies Journal Mahidol University, 16(2): 53-76.
Hunnak, Chompoonuch. (2017). Patterns of Governance in Organic Agricultural Products Management for Sustainable Self-Reliance (รูปแบบของระบบอภิบาลในการจัดการผลิตผลเกษตรอินทรีย์เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน). Nakhon Pathom: College of Innovation Management, Rajamangala University of Technology Rattanakosin.
Kaewthep, Karnjana. and Kaewthep, Kanoksak. (1987). Self-reliance Potential in Countryside Development (การพึ่งตนเอง ศักยภาพในการพัฒนาชนบท). Bangkok: Rung Rueang San Printing.
Kasetsart University. (1996). Royal Academy of Arts (สรรพศิลปศาสตราธิราช). [Online]. Retrieved January 2, 2018 from https://web.ku.ac.th/king72/2539/menu.htm
Kooiman, J. (2003). Governing as Governance. London: Sage Publications.
Louis, M. (2008). Public Management and the Metagovernance of Hierachy Network and Markets: The Feasibility of Designing Style Combinations. A Spring Company: Physicn-Verlag.
Office of The National Economic and Social Development Board. (2016). Economic and Social Development Plan (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ). [Online]. Retrieved January 2, 2018. from http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=62
Provan, K.G., and Kenis, P. (2007). Modes of Network Governance : Structure, Management, and Effectiveness. Journal of Public Administration Research and Theory,18(2): 229-252.
Rhodes, R.A.W. (1996). The New Governance : Governing without Government. Political Studies, 44(4): 652-667.
Rhodes, R.A.W. (1997). Understanding Governance, Policy Networks, Governance, Reflexivity and Accountability. Berkshire: Open University Press.
Robichau, R.W. (2011). The Mosaic of Governance : Creating a Picture with Definitions, Theories, and Debates. The Policy Studies Journal, 39(S1): 113-131.
Roiseland, A. (2011). Understanding Local Governance : Institutional Forms of Collaboration. Public Administration, 89(3): 879-893.
Sanyapiwat, Sanya. and Petchmunee, Supatra. (1983). The Role of The Press Affect to Living of People in Bangkok (บทบาทของสื่อมวลชนที่มีต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในกรุงเทพมหานคร). Bangkok: Faculty of Political Science Chulalongkorn University.
Thongpan, Sopin. (1993). Thailand Agricultural Policy (นโยบายเกษตรไทย) (2nd ed). Nonthaburi: Lertchai Printing.
Thongyoo, Apichart., et al. (1987). Institute of Housing with Self-reliance (สถาบันหมู่บ้านกับการพึ่งตนเอง). Bangkok: Pridi Banomyong Institute.