การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศด้านเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดนครปฐม (Development of geoinformatics database for good agriculture and organic agriculture in Nakhon Pathom Province)

Main Article Content

ณัฐกร ศิธราชู (Nuttakorn Sittarachu)
ณรงค์ พลีรักษ์ (Narong Pleerux)
นฤมล อินทรวิเชียร (Narumon Intarawichian)
กัลยา เทียนวงศ์ (Kanlaya Tienwong)

Abstract

บทความนี้เป็นการนำเสนอการจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศด้านเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อใช้ในการวางแผนและสนับสนุนการใช้งานโรงเรือนปลูกพืชสำหรับเจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร และเกษตรกร นอกจากนี้ ฐานข้อมูลนี้จะนำไปใช้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เชิงพื้นที่เพื่อบริหารจัดการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม การพัฒนาฐานข้อมูลด้วยการ จำลองข้อมูลในโลกจริงที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในรูปของชั้นข้อมูลภูมิสารสนเทศ จากนั้นทำการเชื่อมโยงกับข้อมูล การใช้งานโรงเรือนปลูกพืชของเกษตรกร การพัฒนาฐานข้อมูลแบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษานิยาม และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การออกแบบฐานข้อมูล การจัดเตรียมแผนที่ฐานและแบบสำรวจข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานและสำรวจภาคสนามในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ การนำเข้าข้อมูลเชิงอธิบาย การเชื่อมโยงชั้นข้อมูลโรงเรือนปลูกพืชกับข้อมูลการใช้งาน โรงเรือน และจัดทำคำอธิบายของข้อมูล จากการจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศซึ่งมีทั้งหมด 10 ชั้นข้อมูล ประกอบด้วยชั้นข้อมูลหลัก 3 ชั้นข้อมูล ได้แก่ ชั้นข้อมูลโรงเรือนปลูกพืช 500 โรงเรือน สถานที่จำหน่ายสินค้า เกษตรจากโรงเรือนปลูกพืช 36 แห่ง และโรงคัดบรรจุสินค้าเกษตร 19 แห่ง ซึ่งทำการออกแบบทั้ง 3 ชั้นข้อมูล ให้เป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ส่วนอีก 7 ชั้นข้อมูลจะแสดงในรูปแบบแผนที่ฐาน สามารถเชื่อมโยงกับการใช้งาน โรงเรือนปลูกพืช เมื่อสร้างฐานข้อมูลเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การตรวจสอบการใช้งานฐานข้อมูล พบว่าสามารถสืบค้น เรียกใช้ วิเคราะห์ และแสดงผลแผนที่ได้เป็นอย่างดี และสามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 


his article presents the development of a geoinformatics database for good agriculture and organic agriculture. The spatial database was used for planning and supporting greenhouse for authorities, executives and agriculturists in Nakhon Pathom. A geospatial database was developed by simulating relevant real-world data and linking with farmers’ plantation usage data. The database development was divided into 8 steps: studying definitions and theories related to agriculture, designing a database, preparing base maps and data surveys forms, collecting data from agencies and field surveys between October 2018 and April 2019, importing spatial data, importing descriptive information, linking the data layers of the greenhouses to the farmers’ plantation usage data, and making a data dictionary. These databases were comprised of 10 layers with 3 main layers, namely 500 greenhouses, 36 markets and 19 agricultural products packing plants data layers, and 7 layers as base maps. The data layers were designed as a relational database which could be linked for greenhouse purposes. The results showed that all functions such as search, retrieval, analysis, and display functions are performed well with these databases. The geoinformatics database can also be used effectively as a database for the development of spatial decision support systems.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Choosumrong, Sittichai. (2016). Database and Geo-database Management (เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการจัดการฐานข้อมูลและฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ 104333). [Online]. Retrieved September 15, 2018 from https://www.researchgate.net/publication/305062475_xeksarprakxbkarsxnraywichakarcadkarthankhxmullaeathankhxmulphumisarsnthes_104333

Deepak, T. J. (2017). Dominance of Geographic Information System in Developing a Database for Precision Farming. Journal of Human Ecology, 14(5): 329-335.

Earth Net Foundation. (2015). Study and production of production and marketing situation data Nakhon Pathom Organic Products. [Online]. Retrieved September 1, 2018 from https://www.greennet.or.th/portfolio/1794

Land Development Department. (2019). Economic alternative map of LDD Zoning. [Online]. Retrieved September 18, 2018 https://www.ldd.go.th/www/lek_web/web.jsp?ID=20390

Leethochawalit, Khongdej. (2012). The Research and Development Project on Agricultural Products with Safety for Food security of Nakhon Pathom province (เกษตรปลอดภัย เพื่อสร้างผลผลิตความมั่นคงทางอาหาร จังหวัดนครปฐม). [Online]. Retrieved September 1, 2018 from https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG55A0022

Nakhon Pathom Provincial Office. (2017). Nakhon Pathom Provincial Development Plan 4 years (2018 - 2021). (แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 4 ปี), 124. [Online]. Retrieved October 1, 2018 from https://www.nakhonpathom.go.th

Nualchawee, Kaew. (1993). Geography Information System. (ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์). [Online]. Retrieved October 1, 2018 from https://www.saranukromthai.or.th/Ebook/BOOK37/pdf/book37_6.pdf

Panyakun, Witoon. (2015). Study and production of organic production and marketing situation data. [Online]. Retrieved September 1, 2018 from https://www.organic.moc.go.th/sites/default/files/attachments/other/raayngaanchbabsmbuurn.pdf

Pinmongkonkun, Sittisak. (2009). Geographic information systems database for establishing agricultural safety group, Amphur Mae Jai, Phayao province (ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนการจัดตั้งกลุ่มเกษตรปลอดภัย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา). Naresuan Phayao Journal, 5(3): 319-326.

Pimsen, Thansawat. (2012). The Application of Geographic Information System (GIS) to Assess the Distribution of Rice Bug in Paphayom and Khuankanum District, Phatthalung Province. [Online]. Retrieved October 11, 2018 from https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=56&RecId=3268&obj_id=31150

Sharma, Y. (2018). GIS Based Decision Support Systems In Agriculture. International Journal of Advanced Multidisciplinary Scientific Research, 1(9): 1-9.