รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนท่าสะอ้านไฮโดรโปนิกส์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (Supply chain management of Tha-sa-an’s community enterprise of hydroponic vegetables, Muang district, Songkhla province)

Main Article Content

ชัยรัตน์ จุสปาโล (Chairat Juspalo)
สุจิตราภรณ์ จุสปาโล (Sujitraporn Juspalo)

Abstract

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานผักไฮโดรโปนิกส์ของวิสาหกิจชุมชนท่าสะอ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือ ประธาน สมาชิก แกนนำวิสาหกิจชุมชน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เทศบาลเขารูปช้าง และสำนักเกษตรจังหวัด เครื่องมือวิจัยได้แก่ การสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาความสัมพันธ์ของคำตอบ ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการห่วงโซ่ อุปทานผักไฮโดรโปนิกส์ของวิสาหกิจชุมชนท่าสะอ้าน ได้ยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีกระบวนการดังนี้ 1) การวางแผน ได้มาจากสมาชิกกลุ่มทั้ง 10 คน เป็นการวางแผนด้านสภาพพื้นที่ในการเพาะปลูกและเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ 2) การจัดการโซ่อุปทาน คือ การเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมคน พื้นที่ วัสดุ และอุปกรณ์การคัดเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ เพื่อนำขึ้นแปลงผักดูแล ควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ GAP พืช จัดระบบน้ำ-ไฟใส่ธาตุอาหาร บำรุงรักษาไม่ให้แมลงและวัชพืชทำลายผักลำดับสุดท้ายคือเก็บเกี่ยวทุกวันหรือสองวันครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ผัก 3) การจำหน่ายใส่บรรจุภัณฑ์ที่มีการรับรองเกษตรปลอดภัย (Q) จากกรมวิชาการเกษตรซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองเขารูปช้าง โดยจำหน่ายเองที่ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนท่าสะอ้านไฮโดรโปนิกส์ และตลาดนัดเกษตรทุกวันศุกร์เวลา 6.30-13.00 น.


            The study aims at exploring types of a supply chain management of Tha-sa-an’s community enterprise of hydroponic vegetables in Muang district, Songkhla Province. The samples included the community leader, community members, community core-leaders of the enterprise, and representatives of the government sector from Khao Roop Chang municipality and Songkhla Provincial Agricultural Office. This study employed surveys, in-depth interview, and group discussions. Data was qualitatively analyzed by using content analysis in order to seeking for the data and the answer relationship. It was found that the supply chain management of Tha-sa-an’s community enterprise of hydroponic vegetables was based on the philosophy of Sufficiency Economy within the following attributes: 1) planning: all 10 ten members of the enterprise implemented the plantation’s plan and was a supplier; 2) supply chain management: this section dealt with a preparation of manpower, location, equipment, selecting high quality seed stocks, cleaning seed stocks in order to plant them, implementing the quality and control according to the GAP standard management for plants, applying sanitary system, sanitizing, preventing pests and weeds, and harvesting daily or every two days; 3) selling the products: shipment of produce with Department of Agriculture’s ‘Q’ qualified certified-containers; supported by Khao Rip Chang municipality. The products were distributed by the community itself at the Community Enterprise of Tha-sa-an’s Learning Center of Hydroponic Vegetables, and at every Friday’s Agricultural Market, 06.30 a.m. - 13.00 p.m.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Department of Agricultural Extension. (2006). Community Enterprise (วิสาหกิจชุมชน). [Online]. Retrieved January 15, 2007 from http://www.sceb.doae.go.th/

Khamanarong, Suranart. (2000). Effective administration of SMEs promotion in Reginal Develeopment. Humanities and Social Sciences, 18(1): 1-18.

Office of Agricultural Economics. (2011). Agricultural Economy (ภาวะเศรษฐกิจทางการเกษตร). [Online]. Retrieved March 5, 2013 from http://www.cdoae.doae.go.th/53/html

Sukwong, Tawin. (2000). Soilless culture in tropics (การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน). Bangkok: P.N.K. Part., Ltd.

Sumanansorn, Wanpen. (2011). Fresh Vegetables Supply Chain Management for Restaurants (การจัดการโซ่อุปทานผักสดของร้านอาหาร). Master’s dissertation, Kasetsart University, Bangkok, Thailand.

Thailand Institute of Scientidic and Technological Research. (2011). Hydroponics (การปลูกพืชไร้ดิน). [Online]. Retrieved January 30, 2011 from http://203.151.206.68/bsd/hydroponic.html

Thummasang, Sakulrat., Khamanarong, Suranart. and Khamanarong, Kimaporn. (2013). Business Administration of Hydroponic Vegetable in the Northeast and The Development to Industry (การบริหารธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรม). KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 1(1): 54-63

Wingwon, Boonthawan. (2007). Supply Chain Management for Organic vegetables Group Micro Community Enterprise Development in Huang Chat District, Lampang Province (การจัดการห่วงโซ่อุปทานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักปลอดสารพิษของ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง). Area Based Development Research Journal, 4(4): 36-48