ปัจจัยที่พยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (Factors predicting job motivation of staff of Faculty of Technical Education at King Mongkut’s University of Technology North Bangkok)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ด้วยปัจจัย ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา เงินเดือน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.926 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression) ผลการวิจัย พบว่า 1. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรพยากรณ์มีค่าเท่ากับ .865 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F = 48.904, p<.000) และกำลังสองของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรพยากรณ์มีค่าเท่ากับ .733 แสดงว่า ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 7 ตัวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานของบุคลากร ได้ร้อยละ 73.3 2. ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรพยากรณ์ ระดับเงินเดือน (X4) ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน (X5) สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน (X6) ประสบการณ์การทำงาน (X7) ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรด้านเพศ (X1) อายุ (X2) ระดับการศึกษา (X3) ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร (Y) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในรูปคะแนนดิบ คือ Y = -.703 + 0.042X1 - 0.008X2 + 0.02X3 + 0.141X4 + 0.454X5 + 0.735X6 - 0.03X7 สมการพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Y = 0.042X1 - 0.111X2 + 0.031X3 + 0.232X4 + 0.235X5 + 0.508X6 - 0.146X7
The purpose of this research was to predict job motivation of staff of the Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Factors predicting job motivation were gender, age, education level, salary, relations with colleagues, work environment, and work experience. The sample was 133 staff in the Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. The research instrument was a questionnaire. The reliability of the instrument was 0.926. The data were analyzed by multiple regression analysis. The results of the research were as follows: 1. The multiple correlation coefficient between factors predicting job motivation was .856 which was statistically significant at .01 (F = 48.904, p<.000). All factors explained the variance of job motivation at 73.3 percentage. 2. Education level (X3), salary (X4), work environment (X6) and work experience (X7) positively contributed to job motivation with statistical significance at .01, while gender (X1), age (X2), relations with colleague (X5) did not contribute to job motivation. The equation of raw scores is Y = -.703 + 0.042X1 - 0.008X2 + 0.02X3 + 0.141X4 + 0.454X5 + 0.735X6 - 0.03X7. The equation of standard score is Y = 0.042X1 - 0.111X2 + 0.031X3 + 0.232X4 + 0.235X5 + 0.508X6 - 0.146X7.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chaweerak, Karnnapa. (2015). The Relation Between Work Motivation And Quality of Work Life Of Personnel In Central Chest Institute Of Thailand (CCIT) (ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากรสถาบันโรคทรวงอก). Master’s dissertation, Thammasat University, Bangkok, Thailand.
Fangproyoon, Usa. (2015). Factors Affecting the Job Motivation of Employees under Local Administrative Organizations in Thamai District, Chanthaburi Province (ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอําเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี). Master’s dissrtation, Rambhai Barni Rajabhat University. Chanthaburi, Thailand.
Kochorntrakool, Kanyaporn. (2018). Factors Affecting Success of Personnel Management in Schools Under the Secondary Educational Service Area Office 3 in Ayutthaya Province (ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา). Silpakorn University Journal, 38(6): 155-179.
Kunpai, Vajira. (2016). Personnel Work Motivation of Office of The University, Chulalongkorn University (แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). Master’s dissertation, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.
Prangbang, Supattra. (2016). Factors Affecting Operation Effectiveness of Government Officials in The Secretariat of The House of Representative (ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร). Master’s dissertation, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.
Saelor, Chutharat. (2017). Factors Affecting Job Burnout of Professional Nurses in Suratthani Hospital (ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี). Journal of The Police Nurses, 9(2): 95-103.
Supapvanich, Chompunuch. (2019). Factors Related to Motivation at Work among Dental Health Officers in Yala Province (ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข จังหวัดยะลา). The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(2): 115-125.