การสร้างสรรค์จิตรกรรมเทคนิคผสมจากแนวคิดและสัญลักษณ์ในวิถีชีวิตชนบทอีสาน (Creation of mixed technique painting from concepts and symbols in the Isan rural lifestyle)

Main Article Content

ศักดิ์สิทธิ์ บัวคำ (Saksit Buakham)

Abstract

การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมจากแนวคิดและสัญลักษณ์ในวิถีชีวิตชนบทอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการดำเนินชีวิต และสัญลักษณ์จากวิถีชีวิตของผู้คนชนบทในจังหวัดอุดรธานีซึ่งมีวิถีชีวิตที่ดำรงอยู่กับธรรมชาติในชนบท และเพื่อสร้างผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมลักษณะ 2 มิติ รูปแบบกึ่งนามธรรม ผ่านรูปทรงสัญลักษณ์และร่องรอยจากวิถีชีวิตชนบท โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากสภาพแวดล้อม ข้อมูลเอกสาร และข้อมูลจากรูปแบบศิลปะแขนงต่าง ๆ ให้ได้มาซึ่งเนื้อหา รูปแบบและเทคนิคที่เป็นเฉพาะตนและได้ปรับปรุงแก้ไขการสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพ จำนวน 10 ชิ้น เนื้อหาผลงานบ่งบอกถึงวิถีชีวิตที่พอเพียง เรียบง่าย ด้านรูปแบบเป็นกึ่งนามธรรม มีรูปทรงหลักเป็นรูปทรงรอยมือขนาดใหญ่ มีร่องรอยสัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตในท้องทุ่ง และร่องรอยเครื่องมือการเกษตร นำเสนอในเชิงสัญลักษณ์โดยลดทอนจากความเป็นจริงในธรรมชาติใช้เส้นและพื้นผิว นำรูปทรงสัญลักษณ์แต่ละส่วนมาสร้างเป็นสัญลักษณ์ใหม่ด้วยแนวคิดและทฤษฎีทางองค์ประกอบศิลป์ ให้เกิดเอกภาพ สื่อความหมายใหม่ ส่วนด้านเทคนิคและวิธีการ ได้ทดลองคุณสมบัติและคุณลักษณะของอะคริลิคกันซึม ซึ่งเป็นวัสดุสมัยใหม่ ผสมกับทราย ซึ่งเป็นวัสดุในท้องถิ่น โดยการปาดป้าย ขูดขีด แช่ด้วยน้ำสี ให้เป็นลักษณะของการทับถมของซากพืชซากสัตว์ ซึ่งเป็นลักษณะของดินที่อุดมสมบูรณ์ แสดงให้เห็นร่องรอยของการดำรงชีวิต สร้างความรู้สึกผูกพัน โหยหาวิถีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นองค์ความรู้และแนวทางในการพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่มีแนวเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่น สู่ความเป็นศิลปะร่วมสมัยต่อไป


The objectives of the research on the creation of fine arts with mixed painting techniques from concepts and symbols in the Isan (northeastern region) rural lifestyle were namely 1) to study and analyze the lifestyle concepts and symbols from the way of life of rural people in Udon Thani Province which is close to the natural environment in the countryside and 2) to create fine artwork from painting techniques which mix two-dimensional characteristics and semi-abstracted styles together through symbolic shapes and traces from rural life. The research was conducted by studying and analyzing data from the environment, data, documents and information from various art forms. They were used to analyze for the unique content, form and techniques and to improve the creation of 10 quality works. It was found that the contents of the works indicated a simple and self-sufficient lifestyle. The work style is semi-abstract having a large hand shape as the main shape. There was a clue of living things and agricultural tool usage in the field. The works were exhibited in a symbolic manner which reduced natural reality by using just lines and surface texture. Each symbolic shape was recomposed into a new symbol from the concept and theory of art composition to unity and can relay a new meaning in techniques and methods for the studying of the properties and characteristics of acrylic chemistry paint. Anti-seepage mixing sand acrylics which were the mixture of local materials and modern materials by scrapping and expunging with color water were used to create the appearance of the remains of a fossil, which was the characteristic of the fertile soil showing the signs of a rural lifestyle with a feeling of longing for primitive rural life. This is to be the knowledge and guideline for the development of creative works of visual arts which mix the local topics to become contemporary art.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Nil-a-thi, Somchai. (2007). The 2nd Na Group Artist Art Exhibition 2007 (นิทรรศการศิลปกรรมกลุ่มนา ครั้งที่ 2/2550). Mahasarakham: Sarakham Printing.

Nimsamer, Chalood. (2016). Composition of Art (องค์ประกอบของศิลปะ) (10th ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.

Noiwangklung, Pitak. (1996). Bamboo Products in North-East People’s life (งานไม้ไผ่ในชีวิตคนอีสาน) (1st ed.). Mahasarakham: Thi Rab Sung Publishing.

Sengking, Phong. (1994). In The Middle of The Rural Breath (ท่ามกลางลมหายใจชนบท) (1st ed.). Bangkok: Komol Publishing.

Sukna, Suchat. (2007). The 2nd Na Group Artist Art Exhibition 2007 (นิทรรศการศิลปกรรมกลุ่มนา ครั้งที่ 2/2550). Mahasarakham: Sarakham Printing.

Tinsulanonda, Prem. (1999). The King’s New Theory Self-Sufficiency (ทฤษฎีใหม่ในหลวงชีวิตที่พอเพียง) (1st ed.). Bangkok: Ruam Duay Chuay Kan Publishing.

Worathongchai, Thamnu. (2005). Nongbuakok Folk Museum (พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก) (1st ed.). Buriram: Rewatprinting.