สถาบันการเงินชุมชนบ้านวังพากับความเป็นผู้ประกอบการสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (Ban Wang Pha community financial institution and social entrepreneurship for sustainable development of Thung Tam Sao community, Hat Yai district, Songkhla province)

Main Article Content

ภัทราพร แสงทวี (Pattaraporn Saengtawee)
อุทัย ปริญญาสุทธินันท์ (Utai Parinyasutinun)
เกษตรชัย และหีม (Kasetchai Laeheem)

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและบทบาทความเป็นผู้ประกอบการสังคมของสถาบันการเงินชุมชนบ้านวังพา และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อันเนื่องมาจากความเป็นผู้ประกอบการสังคมของสถาบันการเงินชุมชนบ้านวังพา ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการใช้เทคนิคเดลฟาย การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยระยะแรกใช้เทคนิคเดลฟาย ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน ตอบแบบสอบถามเดลฟาย จำนวน 3 รอบ จนกระทั่งความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความสอดคล้องกัน และระยะที่สองใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยมีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 30 คน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาควิชาการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาชิกของสถาบันการเงินชุมชนบ้านวังพา จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเขียนรายงานผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า สถาบันการเงินชุมชนบ้านวังพามีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วย การจัดการด้านภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ภาวะผู้ตาม และสมรรถนะองค์กร โดยการจัดการที่ดีจะนำไปสู่การมีคุณลักษณะที่ดีในการเป็นผู้ประกอบการสังคมที่มุ่งพัฒนาชุมชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้ดีขึ้น นอกจากนี้ บทบาทความเป็นผู้ประกอบการสังคมของสถาบันการเงินชุมชนบ้านวังพายังก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับครัวเรือน และระดับชุมชนและสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนต่อไปในอนาคตได้ รวมถึงสามารถยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้ดีขึ้นด้วย


This research aims to study the characteristics and roles of social entrepreneurs of Ban Wang Pha community financial institution and its relatively importance to the sustainable development of Thung Tam Sao community, Hat Yai district, Songkhla province. This is qualitative research, using the Delphi techniques, in-depth interviews and non-participant observation. In the first phase of our project, 15 experts filled in Delphi questionnaires again and again until a consensus was reached. In the second phase, in-depth interviews and non-participant observation were used. The 30 informants of this study consist of government agencies, academic departments, local administrative organizations, and members of Ban Wang Pha community financial institution. After the second phase, the data were analyzed together with paper and related literature. The finding is that the Ban Wang Pha community financial institution had systematic management which consists of the management of visionary leadership, follower and organizational competencies. This good management leads to the organization being a qualified social entrepreneur who focuses on community development in terms of economic, social and environmental conditions. This will lead to sustainable development of the community in the future and better living conditions of the villagers.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Anuchitworawong, Chaiyarit. (2017). The Study of Method to Improve Environmentally Friendly, Sustainable Development Policies in Thailand for Response 20-Year Strategic Plan (การศึกษาแนวทางการปรับปรุงการดำเนินนโยบาย การพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี). [Online]. Retrieved March 18, 2020 from http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/ doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8387e/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf

Bank of Thailand. (2020). The Thai Economic Direction for 2020 is Lower than Expected and Lower than the Potential (ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563 ชะลอต่ำกว่าที่คาดและต่ำกว่าศักยภาพ). [Online]. Retrieved March 16, 2020 from https://brandinside.asia/thai-economy-2020-growth-lower-than-expected/

Bunpermpoon, Sasithorn. (2011). Performance Analysis of Community Financial Organization in Baan Dong Charoen Chai, Sansai District, Chiang Mai Province (การวิเคราะห์ศักยภาพขององค์กรการเงินชุมชนบ้านดงเจริญชัย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่). Master’s dissertation, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.

Decharin, Pasu. (2017). The Difference between Social Enterprise and Social Entrepreneur (ความต่างระหว่าง Social Enterprise และ Social Entrepreneur). [Online]. Retrieved March 18, 2020 from http://www.greenlifeplusmag.com/archives/5401

Jansiri, Nantida. (2015). The Conceptual Framework of The Financial Organization of Community Administration in Thai Society (กรอบแนวความคิดการบริหารจัดการองค์กรการเงินชุมชนในสังคมไทย). Thaksin University Library Journal, 4(4): 19-39.

Jariyavidyanont, Sagol. (2010). Social Entrepreneurship: Principles and Basic Concepts for Social Development (การประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneurship): หลักการและแนวคิดเพื่อการพัฒนาสังคม). Journal of Social Development, 12(1): 45-68.

Juyjingam, Jatuporn. (2014). Knowledge Management Model of Social Entrepreneurship in Thailand (รูปแบบการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการทางสังคมในประเทศไทย). Human Resources and Organization Development Journal, 6(12): 126-144.

Kiblera, E., Salmivaarab, V., Stenholmc, P., & Terjesend, S. (2018). The Evaluative Legitimacy of Social Entrepreneurship in Capitalist Welfare Systems. Journal of World Business, 53(6): 944-957.

Kumngam, Porntawan. (2016). The Moral Basic of Principles of Sufficiency Economy Affecting Sustainability of Financial Community: A Case Study of Ban Ang Hin, Sam Phra Ya, Phetchaburi Province (ปัจจัยคุณธรรมพื้นฐานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสถาบันการเงินชุมชน: กรณีศึกษาสถาบันการเงินชุมชนบ้านอ่างหิน ตำบลสามพระยา จังหวัดเพชรบุรี). Master’s dissertation, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Macke, J., Sarate, J. A., Domeneghini, J., & Silva, K. Ad. (2018). Where do we go from now? Research Framework for Social Entrepreneurship. Journal of Cleaner Production, 183: 677-685.

Modmoltin, Sasicha. (2019). Raise the Level of Community Financial Organizations too “People’s Financial Institution Act” (ยกระดับองค์กรการเงินชุมชนด้วย “พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชน”). [Online]. Retrieved April 10, 2020 from https://www.gsb.or.th/ getattachment/34fc1d7a-0c8b-49fc-aa72-e31f931379b8/Report_PRB_Detail.aspx

Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). The Twelve National Economic and Social Development Plan (2017 - 2021) (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564). [Online]. Retrieved March 18, 2020 from http://plan.bru.ac.th/wp-content/uploads/2018/12/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8% 99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2-12-.pdf

Parinyasutinun, Utai. (2018). Lesson Learned from the Management of Thung Tam Sao Community (ถอดบทเรียนการจัดการชุมชนทุ่งตำเสา). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Passara, Pongpanoj, & Phiriyasmith, Sucheep. (2019). The Management of Corporate Social Responsibility of Financial Institutes in Thailand (การบริหารจัดการบรรษัทบริบาลของสถาบันการเงินในประเทศไทย). The Journal of Development Administrator Research, 9(2): 71-80.

Pinyochatchinda, Supaporn. (2018). Social Entrepreneur Analysis of the Entrepreneurin Rojana Industrial Park, Ayutthaya Province (การวิเคราะห์การเป็นผู้ประกอบการทางสังคมของผู้ประกอบการในเขตประกอบการสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดอยุธยา). Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1): 662-678.

Puangkeaw, Paradon. (2017). The Rule of Thai-MECC to Protect the National Maritime Interest and Sustainable Development Goal 14 (เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 14 กับบทบาทในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของศรชล). [Online]. Retrieved March 18, 2020 from www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/m8475/8475 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน14.pdf

Rattanasombat, Buranin. (2014). Strategic Model for Future Sustainable Management of Large Corporations (การพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตของวิสาหกิจขนาดใหญ่). Doctoral dissertation, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Saengtawee, Pattaraporn, Parinyasutinun, Utai, & Laeheem, Kasetchai. (2020). Social Entrepreneurship of Ban Wang Pha Community Financial Enterprise, Hat Yai District, Songkhla Province (ความเป็นผู้ประกอบการสังคมของสถาบันการเงินชุมชนบ้านวังพา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา). In The National Academic Conference Community Management, (pp. 561-575) Songkhla: Prince of Songkla University.

Siriprohmpathara, Chompoonuth, Taearak, Kirana, & Tantasit, Yollodee. (2019). Knowledge Management at all Levels in the Organization in Term of Thailand 4.0 for Sustainable Development among the Public and Private Organizations (การจัดการความรู้ในยุคประเทศไทย 4.0 ทุกระดับในองค์กรอย่างมีความสุข เพื่อการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยั่งยืน). Thai Dental Nurse Journal, 30(2): 142-153.

Siriwongwattanachai, Watchira. (2013). The Creating Sustainable Business of Golden Place Shop as a Social Entrepreneurship (การสร้างธุรกิจอย่างยั่งยืนของร้านโกลเด้น เพลซ ในฐานะผู้ประกอบการสังคม). Master’s dissertation, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Tarnittanakorn, Nittana. (2010). Social Entrepreneurship: A Social Innovation for New Generation Entrepreneurs (การประกอบการเพื่อสังคม: นวัตกรรมทางสังคมของผู้ประกอบการยุคใหม่). Executive Journal, 30(4): 16-20.