การยกระดับการจัดการวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น (Upgrading the management of culture for local experience tourism)

Main Article Content

ทิพย์สุดา พุฒจร (Tipsuda Putjorn)
ฐิติมา เวชพงศ์ (Thitima Vechpong)

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยกระดับการจัดการวัฒนธรรม และเพื่อจัดทำแนวทางการยกระดับการจัดการวัฒนธรรม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสังเกต สัมภาษณ์ และประชุมกลุ่ม ผู้จัดการวัฒนธรรม ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร บุคลากรภาครัฐ และบริษัทท่องเที่ยว ใน 5 เส้นทางท่องเที่ยว ได้แก่ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย ตราด-จันทบุรี ชุมพร-ระนอง สตูล ผลการศึกษา พบว่า การยกระดับการจัดการวัฒนธรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย ยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเรียนรู้เครื่องประดับนาฏศิลป์ และกิจกรรมท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิตโฮมสเตย์ชุมชนบ้านวังวน จังหวัดสตูล ยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโตนปาหนัน และจังหวัดตราด ยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนสลักคอก ด้วยการวางแผนแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้จัดการวัฒนธรรมและคณะผู้วิจัย ผู้จัดการวัฒนธรรมดำเนินการยกระดับด้วยตนเอง การสังเกตผลระหว่างการดำเนินกิจกรรมยกระดับ และการสะท้อนผลหลังดำเนินกิจกรรมยกระดับจากนักท่องเที่ยวและผู้จัดการวัฒนธรรม ส่วนการจัดทำแนวทางการยกระดับการจัดการวัฒนธรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น ด้วยการประชุมวิเคราะห์ศักยภาพการจัดการวัฒนธรรมของกิจกรรมแต่ละเส้นทางท่องเที่ยว และให้แนวทางการยกระดับการจัดการวัฒนธรรมตามกระบวนการ ประกอบด้วย การตัดสินใจเลือกแนวทางการยกระดับการจัดการวัฒนธรรม กระบวนการยกระดับการจัดการวัฒนธรรม การกำหนดคุณสมบัติของผู้จัดการวัฒนธรรม การยกระดับผู้จัดการวัฒนธรรม การยกระดับการจัดการรวบรวมองค์ความรู้วัฒนธรรม การยกระดับการถ่ายทอดวัฒนธรรม การยกระดับการสร้างการเรียนรู้ การยกระดับการเตรียมความพร้อมนักท่องเที่ยว การยกระดับการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น การยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเรียนรู้บริบทชุมชน การยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวทำอาหารท้องถิ่น การยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวพักโฮมสเตย์ การยกระดับการจัดการวัฒนธรรมให้คงอยู่ การยกระดับการประสานความร่วมมือ และการยกระดับการประเมินผลการจัดการวัฒนธรรม


The research aimed to study the management of culture for local experience tourism, to upgrade its management, and to provide the guidelines for upgrading. A qualitative research method was applied including observation, interviews and focus group discussion with cultural managers of tourism activities, experts, governmental managers and staff, and local tour operators of 5 provincial tourism routes of Mae Hong Son, Sukhothai, Trat-Chanthaburi, Chumphon-Ranong, and Satun. The results show that Sukhothai upgrades the tourism activity through the making of Thai traditional dancing accessories, and the learning of Wang Won community lifestyles, while, in Satun, the upgrade is taken in Baan Ton Panan community based-tourism. In Trat, community based-tourism in the Salak Khok community is upgraded. The method was cultural managers and researchers’ participation in planning, was proceeded by cultural managers themselves, with observations of the results of upgrading the management of culture and feedback of the results of upgrading the management of culture from tourisms and cultural managers. Preparation of the guidelines for upgrading the local culture management of local experience tourism was made by establishing focus groups to discuss and analyze the cultural management potential that relate to the activities of the tourism routes as well as summarizing and providing a guideline for culture management consisting of decisions on approaches of upgrading, process of upgrading, setting the qualification of cultural manager, enhancing the knowledge of cultural managers, upgrading the collection of cultural knowledge, upgrading the cultural transfer, upgrading of learning, upgrading the process of educating the tourists before traveling, upgrading the management of local experience tourism activities, upgrading the activities of learning communities’ contexts, upgrading the activities of local food cooking, upgrading the activities of overnight in homestays, upgrading the management to maintain the culture, upgrading co-operation, and upgrading the evaluation of cultural management.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Chainok, Prapatchai. (2010). Guidelines for The Development of Cultural Tourism: A Case Study of Ban Dansai, Dansai District, Loei Province (แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาบ้านด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย). Master’s dissertation, Loei Rajabhat University, Loei, Thailand.

Eamlaorpakdee, Pranee. (2005). Experiential Marketing : Customer Experience (การตลาดประสบการณ์ : ประสบการณ์ลูกค้า). University of the Thai Chamber of Commerce Journal, 25(2): 19-28.

Jittangwattana, Boonlert. (2005). Tourism Industry (อุตสาหกรรมท่องเที่ยว). Bangkok: Thammasat University Book Store.

Kuiarpai, Kritsada. (2010). Cultural Tourism : Case study of Ban Luang Nuea, Luang Nuea Sub-district, Doi Saket District, Chiangmai Province (การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาบ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่). Master’s dissertation, Chiangmai University, Chiang Mai, Thailand.

Laothong, Atchara, Laothong, Poranee, & Prasertsri, Wison. (2012). The Participatory Action Research Strategies to Develop and Manage a Network of Community Enterprises, Sustainable Tourism, Culture and Nature in the Lower Northeastern (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการพัฒนาและการจัดกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และธรรมชาติอย่างยั่งยืนกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). Bangkok: National Research Council of Thailand.

Leadchanrich, Thanik. (2011). Cultural Resource Management (การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม). Bangkok: Princess Maha Chaki Sirinthon Anthropology Centre.

Netirangsiwatchara, Apiradee. (2011). The Study of Cultural Creation Model based on River Basin of Korat Plato to Manage Cultural Tourism Activities (การศึกษารูปแบบการรังสรรค์วัฒนธรรมลุ่มน้ำของที่ราบสูงโคราชสู่การจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม). Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University.

Phomnimitkul, Kesaraporn, Putjorn, Tipsuda, & Vechpong, Thitima. (2018). Cultural Management for Local Experience Tourism under The LINK Project (การจัดการวัฒนธรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น ภายใต้โครงการ The LINK). Bangkok: The Thailand Research Fund.

Putjorn, Tipsuda. (2013). Participatory Action Research in Community - Based Tourism Management for Sustainable Community Development at Salakkhok, Trad Province (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนสลักคอก จังหวัดตราด). Doctoral dissertation, Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand.

Seyfi, S., Hall, C. M., & Rasoolimanesh, S. M. (2020). Exploring Memorable Cultural Tourism. Journal of Heritage Tourism, 15(3): 341-357. [Online]. Retrieved August 31, 2020 from https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/1743873X.2019.1639717?src=recsys

Timdang, Phattaraporn. (2011). A Model of the Experiential Marketing for Foreign Tourists (โมเดลการตลาดเชิงประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ). Journal of the Association of Researcher, 16(3): 92-94.

Tongdee, Nattinee, et al. (2010). Cultural Tourism Management based on River Basin Civilization at Korat Plateau Life Style for Tourism Value Added and Local Cultural Identity Conservation (การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอารยธรรมลุ่มน้ำบนฐานวิถีชีวิตที่ราบสูงโคราชเพื่อมูลค่าทางการท่องเที่ยวและรักษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น). Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University.

Zare, S. (2019). Cultural Influences on Memorable Tourism Experiences. Anatolia: an International Journal of Tourism and Hospitality Research, 3(30): 316-327. [Online]. Retrieved August 31, 2020 from https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/13032917.2019.1575886