องค์ประกอบของเมืองเก่า การประกาศขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานี (The old town boundary identification of Uthai Thani and its element)

Main Article Content

เกรียงไกร เกิดศิริ (Kreangkrai Kirdsiri)
กิตติมา ยินเจริญ (Kittima Yincharoen)
กิตติคุณ จันทร์แย้ม (Kittikhun Janyaem)
อิสรชัย บูรณะอรรจน์ (Isarachai Buranaut)
ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์ (Pat Wongpradit)
สิริชัย ร้อยเที่ยง (Sirichai Roythieng)

Abstract

การกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าได้ศึกษาองค์ประกอบของเมืองเก่าและวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อจัดทำร่างขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า โดยนำผลการศึกษาไปรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานีที่ครอบคลุมองค์ประกอบของเมืองอย่างครบถ้วน มีขนาดที่เหมาะสม และได้รับความเห็นชอบจากทุกภาคส่วน แล้วนำผลการศึกษาทั้งหมดเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาแผนการดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่า พร้อมทั้งให้คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าพิจารณา และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินประกาศขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานีต่อไป ทั้งนี้ การศึกษาองค์ประกอบของเมืองเก่า และการประเมินคุณค่าของแหล่งมรดกทางธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานี พบว่า “แหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ” จำนวน 3 แหล่ง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ 2 แห่ง และภูเขา 1 แห่ง และ “สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม” จำแนกเป็น พุทธศาสนสถาน 10 แห่ง ศาลเจ้าจีน 5 แห่ง และ “มรดกสถาปัตยกรรม” 10 แห่ง และประเมินศักยภาพของแหล่งองค์ประกอบของเมืองเก่าอุทัยธานีได้ผลดังนี้ แหล่งที่มีศักยภาพต่ำ มี 7 แหล่ง แหล่งที่มีศักยภาพปานกลาง มี 15 แหล่ง และแหล่งที่มีศักยภาพสูง มี 6 แหล่ง สำหรับขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานีมีเนื้อที่ประมาณ 1.69 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,058.87 ไร่ และขอบเขตพื้นที่ต่อเนื่อง (buffer zone) ซึ่งอยู่โดยรอบพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานีมีเนื้อที่รวมประมาณ 7.21 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,504.43 ไร่ ซึ่งได้ดำเนินการเสนอต่อคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาประกาศขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าเพื่อนำไปสู่แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาในมิติต่าง ๆ อย่างยั่งยืนต่อไป


The research on old town boundary identification of Uthai Thani was aimed to identify the old town boundary by studying the elements of Uthai Thani old town and analyzing its potential to generate the draft of old town boundary identification according to the regularity of Krung Rattanakosin and Old Town defined by the office of the prime minister. Thereafter, the draft of boundary was brought into the public hearing. Finally, the agreed draft of old town boundary was proposed to the subcommittee of consideration and approval for the action plan of conservation and development in Krung Rattanakosin and old town before submitting to the cabinet for the approval of Uthai Thani old town boundary identification. The study of Uthai Thani old town elements and the value assessment of natural and cultural heritage presented the following old town elements: 1. 3 sites of natural heritage; 2. 25 sites of cultural heritage which consist of 10 Buddhist monasteries, 5 Chinese shrines, and 10 sites of architectural heritage. These old town elements were assessed in terms of the site potential, which presented 7 sites of low potential, 15 sites of middle potential, and 6 sites of high potential. Following this study, Uthai Thani old town boundary occupies 1.69 square kilometers; meanwhile, the buffer zone occupies 7.21 square kilometers. The old town identification was proceeded to the cabinet for the approval of old town boundary identification. This is to yield guidelines for Uthai Thani old town sustainable conservation and development onwards.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Amorndarunarak, Chamuen. (1969). The Royal Duties of King Vajiravudh Volume 6 (พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม 6). Bangkok: Khurusapha.

King Chulalongkorn. (1977). King Rama V’s Countryside Journey (เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5). Bangkok: Fine Arts Department.

Kirdsiri, Kreangkrai, Phamornsuwan, Wilawan, & Muenkhamwang, Thanick. (2020). Old Towns with Conservation and Development (เมืองเก่ากับการอนุรักษ์และพัฒนา). Bangkok: The Office of Natural Resources and Environment Policy and Planning.

Kirdsiri, Kreangkrai, Poolsuwan, Samerchai, Buranaut, Isarachai, Phamornsuwan, Wilawan, Pinanratchathon, Sirot, Wongpradit, Pat, Muangyai, Nantawan, & Janaem, Kittikhun. (2021). Uthai Thani’s Old Town Boundary Identification (โครงการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานี). Bangkok: The Office of Natural Resources and Environment Policy and Planning.

Sitthitanyakit, Paladisai. (2007). The Account of Uthai Thani (จดหมายเหตุเมืองอุทัยธานี). UThai Thani: The Association of UThai Thani’s Resident.