การพัฒนาทักษะการอ่านสารคดีของนักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร ผ่านการใช้ชุดบทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรมมูเดิล (Developing the non-fiction reading skill of first-year Arts students at Silpakorn University via online English lessons by Moodle program)
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ทักษะภาษาอังกฤษทางด้านการอ่านสารคดีของผู้เรียนก่อนและหลังการเข้าใช้ชุดบทเรียนออนไลน์เรื่องทักษะการอ่านสารคดีภาษาอังกฤษ และ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นและทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ประกอบด้วย ชุดบทเรียนออนไลน์เรื่องทักษะการอ่านสารคดีภาษาอังกฤษโดยใช้โปรแกรมมูเดิล แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลออนไลน์ แบบสอบถามความคิดเห็นและทัศนคติของผู้เรียนหลังการเข้าใช้ชุดบทเรียนออนไลน์ และแบบสัมภาษณ์ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคำนวณค่าทางสถิติ อันได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า T-test แบบ Dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความรู้ภาษาอังกฤษทางด้านการอ่านสารคดีของผู้เรียนหลังการเข้าใช้ชุดบทเรียนออนไลน์สูงกว่าก่อนเข้าใช้ชุดบทเรียนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ความคิดเห็นและทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านการใช้สื่อการเรียนออนไลน์เป็นไปในเชิงบวก ผู้เรียนส่วนใหญ่คิดว่าการเรียนภาษาอังกฤษกับครูผู้สอนในห้องเรียนที่บูรณาการกับการใช้บทเรียนออนไลน์เสริมความรู้นอกชั้นเรียนนั้น น่าจะเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมที่สุดกับผู้เรียนยุคสมัยปัจจุบัน เนื่องจากผู้เรียนชอบสื่อการสอนที่มีความน่าสนใจ สามารถตอบสนองความต้องการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้น รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน (blended learning) จึงน่าจะเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี
The two purposes of this experimental research were to: 1. compare students’ English non-fiction reading abilities before and after being exposed to the online lessons and 2. examine students’ opinions and attitude towards using online learning media to develop their English skills. The randomly-selected sample in this study was 98 first year Arts students at Silpakorn University in the academic year 2017. The research instruments were: the online lessons accessed via the Moodle program; the English non-fiction reading pretests and the English non-fiction reading posttests; the profile questionnaires used to collect students’ personal data; the post questionnaires used to collect students’ opinions and attitude; and interview forms. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and dependent t-test. The results of this research were as follows: firstly, the students’ English reading abilities after using the online lessons were significantly higher than those before using the materials at the 0.05 level. Secondly, the students’ opinions towards learning English via online learning media were highly positive. Finally, most students thought that an integration of the traditional in-class lecture method and the application of multimedia to teaching would be the most suitable teaching and learning style for the new generation learners. This is because they like interesting teaching materials and tools which will allow them to acquire knowledge at any places or any time. Based on these findings, it is suggested that the blended learning style potentially serves the learners’ needs well.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Anugkakul, Kraikung. (2016). Writing a Reading Test in Accordance with a Reading Strategy. (การเขียนข้อสอบการอ่านที่สอดคล้องกับกลยุทธ์การอ่าน). Panyapiwat Journal, 8: 298-309.
Chalarak, Nawaporn. (2015). The Teacher’s Role and Instruction in the 21st Century (บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21). FEU Academic Review Journal, 9(1): 64-71.
Inprasitha, Maitree. (2017). The Turning Point of Thai Education the Answer Is … Classroom (จุดเปลี่ยนการศึกษาไทย คำตอบอยู่ที่...ห้องเรียน). [Online]. Retrieved November 19, 2018 from https://suphaphon23.blogspot.com/2018/11/blog-post_22.html
Kottong, Kamonwan. (2014). The development of English Reading Exercises Based on Asian Folktales through the Storyline Method for Prathomsuksa Six Students of Banpao (Samranchaiwittaya) School, Chaiyaphumi (การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สำราญไชยวิทยา) จังหวัดชัยภูมิ). Master’s dissertation, Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand.
Loi-Phimai, Siamrath, & Waree, Chaiwat. (2015). The Result of Using English Comprehensive Reading Skill Practices for Mathayom Suksa 5 Students at Assumption Suksa School (ผลของการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา). In Proceedings of 6th National & International Conference, pp. 438-446. Khon Kaen: North Eastern University.
Ngamjarat, Chettha. (2009). Students’ Attitudes and Behaviors Towards “Moodle” Online Education Program: Case Study in Secondary School in Bangkok (การรับรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของนักศึกษาต่อการใช้บทเรียนออนไลน์ในรายวิชาชีวสถิติ). KKU Research Journal, 14(10): 950-960.
Ratanawit, Busaba. (2005). The Development of English Reading Comprehension Practice for Prathomsuksa 5 (การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5). Master’s dissertation, Phranakhon Rajabhat University, Bangkok, Thailand.
Sangsawang, Nisagon. (2015). Effects of English Computer Assisted Language Learning Focusing on Ethical Folftales on English Reading Ability and Morality Awareness of Pratomsuksa Six Students of Sakolwittaya School, Sampran District, Nakhon Pathom Province (ผลการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาอังกฤษที่เน้นนิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และความตระหนักรู้ด้านคุณธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสกลวิทยา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม). Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2): 788-803.
Samarnmitr, Soraya, & Chattiwat, Wisa. (2017). English Reading Exercises Using WebQuest Activities (แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเว็บเควสท์). Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1): 1493-1505.
Srihera, Sitra. (2017). Enhancing Reading Comprehension Skills of Prathomsuksa 4 Students by Using Extensive Reading Activities (การพัฒนาความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง). Master’s dissertation, Dhurakij Pundit University, Bangkok, Thailand.
Triampo, Wannapong. (2014). Lecture Summary Teaching Curriculum for Generation Z Students, Class 1, Part 2, Research for Teaching and Learning Development, December 23-26, 2014 (เอกสารสรุปเนื้อหาการบรรยาย หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา Generation Z รุ่นที่ 1 ส่วนที่ 2 วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน วันที่ 23-26 ธันวาคม 2557). [Online]. Retrieved November 24, 2020 from https://www.slideshare.net/tlcspu/generation-z-1
Waiyalap, Chairat. (2008). A Comparison of Research Methodology Learning Achievement by Lecture Method and LMS Online Methods (การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาระเบียบวิธีวิจัยโดยวิธีการสอนแบบบรรยายกับวิธีการสอนแบบออนไลน์ระบบ LMS). Thai Science and Technology Journal, 16(3): 12-22.