การศึกษาเปรียบเทียบดนตรีชนเผ่าขมุในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (A comparative study of Khmu ethnic music in Thailand and in the LAO People’s Democratic Republic)

Main Article Content

บุณฑริกา คงเพชร (Boondarika Kongphet)
จตุพร สีม่วง (Jatuporn Seemuang)
หิรัญ จักรเสน (Hirun Jaksen)

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมบทเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุและบันทึกโน้ตสากล ในจังหวัดเชียงรายประเทศไทย และแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) ศึกษาวิเคราะห์บทเพลง เครื่องดนตรี และบทบาทหน้าที่ของดนตรีในวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ ในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย และแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) เปรียบเทียบบทเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย และแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและภาคสนามด้วยการสังเกตและสัมภาษณ์จากบุคคลผู้ให้ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า บทเพลงทางดนตรีของชนเผ่าขมุทั้งในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นการบรรเลงดนตรีลักษณะซ้ำ ๆ วนไปมาจนจบเพลง บทเพลงของประเทศไทยยังคงเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมคือ ดนตรีประกอบพิธีกรรมบุญเกรอะ พิธีแต่งงาน ฟ้อนดาบ และการเป่าปี่ของจังหวัดเชียงราย การรับใช้สังคมในรูปแบบปัจจุบันคือ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยังคงเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมคือพิธีกรรมบุญเกรอะ


This research has three objectives. First, it aims to collect songs of Khmu ethnic groups and notation transcription in Chiang Rai Province, Thailand, and Xieng Khuang Province, Lao People’s Democratic Republic. Second, songs, musical instruments, and roles of music in their way of life of Khmu ethnic groups living in Thailand and in Xieng Khuang Province were studied and analyzed. Third, the results of the analyses were compared. This research was conducted by using documentary and field studies with observations and interviews with individual informants. The findings are as follows: (1) the musical repertoire of both the Khmu tribes inThailand and the Lao People’s Democratic Republic is the song loop until the end of the song; (2) songs of Khmu in Thailand are still traditional, which means that they are played in Boon Greh Ritual, wedding ceremony, sword dance and the sound of Chiang Rai Pi. Moreover, in its present form, they are used to serve the society, for example, to promote tourism in Chiang Rai, while, in the Lao People’s Democratic Republic, the music is played only in traditional culture like the Boon Greh Ritual.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Chantha, Sathien. (2017). Mekong ethnic groups : A Case Study of the Khmu Ethnic Group in Bo Keo, Lao PDR. and Khmu in Chiang Rai, Thailand (กลุ่มชาติพันธุ์สองฝั่งโขง : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ขมุในแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว และขมุในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย). [Online]. Retrieved August 20, 2021 from http://research.culture.go.th/medias/nt166.pdf

Intanivet, Ongart. (2019). Knowledge and wisdom of music of Khmu ethnic groups in the province Chiang Rai (องค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุในจังหวัดเชียงราย). Fine Arts Journal, 10(1): 140-155.

Pikulsri, Chalermsak. (2017). Changes in Music (การเปลี่ยนแปลงทางดนตรี) (1st ed.). Khon Kaen: Anna offset.

Seidenfaden, E. (1958). The Thai Peoples, The Thai Peoples, Book I: The Origins and Habitats of the Thai Peoples with a Sketch of Their Material and Spiritual Culture. Bangkok: The Siam Society.

SuepSaeng, Niphatthavej. (1996). Society and culture of Khmu people and their development (สังคมและวัฒนธรรมชาวขมุกับการพัฒนา). Chiang Mai: Chiang Mai University.

Vouthisouk, Douangchampy, Samdangdej, Kantabhon, & Pusawisot, Pilanut. (2009). Development and Adaptation of Kmhmu Music of Lao People’s Democratic Republic: A Case Study of Kieung Ensemble Ban Na Muang Houn in Oudomxay Province (การพัฒนาและการปรับตัวดนตรีชนเผ่า กึมมุ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : กรณีศึกษาวงเกิ่งบ้านนา เมืองฮุน แขวงอุดมชัย). The Social Sciences, 4(6): 534-539.