การพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบางเทา (The development of marketing communications to promote Ban Bangtao community-based tourism)

Main Article Content

พรรณวดี กิตติอุดมรัตน์ (Phanwadee Kittiudomrat)

Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการสื่อสารทางการตลาดของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบางเทาในด้านต่าง ๆ ระหว่างประชาชนชุมชนบ้านบางเทากับนักท่องเที่ยว รวมทั้งศึกษาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบางเทา โดยใช้รูปแบบการวิจัย แบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านบางเทา ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 396 คน และกลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 384 คน รวมทั้งใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จำนวน 16 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 2 ครั้ง จากกลุ่มตัวแทนผู้นำชุมชน ผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์โดยจำแนกข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนชุมชนบ้านบางเทาและนักท่องเที่ยวให้ความเห็นที่แตกต่างกันในด้านการตลาดออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการขายส่วนบุคคล ขณะที่แนวทางสำคัญในการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบางเทา คือ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนควรร่วมกันดำเนินการในรูปแบบเครือข่ายภายใต้การเป็นคณะกรรมการ และร่วมกันดำเนินงานใน 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการโฆษณา ควรประชาสัมพันธ์และโฆษณาผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย 2) ด้านการส่งเสริมการขาย ควรส่งเสริมการขายด้วยวิธีการลด แลก แจก แถม เพื่อดึงดูดความสนใจและตัดสินใจให้กับนักท่องเที่ยว 3) ด้านการจัดกิจกรรมพิเศษและสร้างประสบการณ์ ควรมีการจัดกิจกรรมและเทศกาลประจำปีที่เป็นเอกลักษณ์ชุมชน 4) ด้านการประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่สู่สาธารณะ ควรให้การสัมภาษณ์และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อท้องถิ่น 5) ด้านการตลาดออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์ ควรมีการเขียนเรื่องราว ข่าวสาร กิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 6) ด้านการตลาดบนมือถือควรนำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นหรือแพ็คเกจการท่องเที่ยวขายและบริการผ่านโมบายแอปช้อปปิ้งบนมือถือ 7) ด้านการตลาดทางตรงและฐานข้อมูล ควรมีการรวบรวมและใช้ฐานข้อมูลนักท่องเที่ยวเดิม และ 8) ด้านการขายส่วนบุคคล ควรมีการฝึกอบรมประชาชนในชุมชน ในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี และสร้างนักเล่าเรื่องของชุมชน


This research article aimed to study and compare opinions on marketing communication conditions of Ban Bangtao community-based tourism between Ban Bangtao community and tourists in various aspects; and to study and make recommendations on the development of marketing communications to promote community-based tourism in Ban Bangtao. The mixed methods research was used to collect the quantitative data by questionnaires from 396 people living in Ban Bangtao community, Cherngtalay Subdistrict, Thalang District, Phuket Province and from 384 tourists including in-depth interviews of 16 people and two focus group discussions among community leaders and executives from both government and private sectors. The quantitative data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and t-test, while the qualitative data were analyzed by data classification and comparison. The findings revealed that Ban Bangtao community and tourists expressed the most different opinions about online marketing and social media, followed by personal sales. Meanwhile, the important guideline for the development of marketing communications for tourism promotion in Ban Bangtao community is that public and private sectors and community should network under the form of a committee in 8 areas: 1) Advertising through social media channels. 2) Sales promotion by means of discounts, exchanges, or giveaways to attract tourists’ attention. 3) Organizing special events and creating experiences through annual activities and festivals that are unique to the community. 4) Public relations by giving interviews through local media. 5) Online marketing and social media: stories, news, and activities should be promoted on social media. 6) Mobile marketing: local products or travel packages should be sold and serviced via mobile shopping apps. 7) Direct marketing and database: the original tourist database should be collected and used. 8) Personal sales: people in the community should be trained to be good hosts and great storytellers.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Chaisri, Anchali, Panyapong, Sunthon, & Duangmala, Tassanaiwan. (2017). Marketing strategies of corporate social responsibility for community-based tourism in Chaiyaphum province (กลยุทธ์การตลาดด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชัยภูมิ). Academic MCU Buriram Journal, 2(1): 96-103.

Chanthawanit, Suphang. (2016). Data Analysis in Qualitative Research (การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ) (12th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Chirawatkun, Siriphon. (2009). Qualitative Research in Health Sciences (การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ). Bangkok: Witthayaphat.

Chirotphan, Wimon, Sakunaphat, Prachit, & Choeikiwong, Udom. (2005). Ecotourism (การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ). Bangkok: Saengdao.

Chumpradit, Katekanok, & Khunsri, Jiraporn. (2017). Identities analysis for the value added of cultural tourism destinations in Chiang Rai Special Economic Zone (การวิเคราะห์อัตลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดเชียงราย). Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University, 12(2): 123-145.

Kispredarborisuthi, Boontham. (2010). Techniques for Creating Data Collection Tools for Research (เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย) (7th ed.). Bangkok: Sriananta Printing Co., Ltd.

Kongdit, Sukhum, Nawatnatee, Tharanee, Promsilp, Vassa, Klankla, Suparerk, & Ruenthawin, Natthaphol. (2018). The Integrating Innovation for Agro-Ecotourism Marketing of Samruan Community, Bang Pa-in District, Ayutthaya Province (นวัตกรรมการเชื่อมโยงการตลาดการท่องเที่ยวนิเวศเกษตรชุมชนสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา). Ayutthaya: Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management (15th ed.). Harlow: Pearson Education Limited.

Office of the National Economic and Social Development Board, Office of the Prime Minister. (2016). The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021) (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.

Ongkrutraksa, Worawan. (2010). Introduction to International Marketing Communication (การสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศเบื้องต้น). Bangkok: 21 Century.

Sarobol, Sinth. (2003). Community Based Tourism: Concept and Experience in Northern Thailand (การท่องเที่ยวโดยชุมชน : แนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ). Chiang Mai: The Thailand Research Fund Regional Office.

Silpcharu, Thanin. (2014). Research and Statistical Analysis with SPSS and AMOS (การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS) (15th ed.). Bangkok: Business R&D.

Suansri, Potjana. (2007). Community Based Tourism Management (การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน). In Community Based Tourism Network Handbook (คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน). (pp. 17-103). Bangkok: Office of Tourism Development, Ministry of Tourism & Sports.

Sutthiwetin, Paskrich, & Buasorn, Phukrirk. (2019). Tourism marketing promotion strategy which influence tourism motivation to generation Z in Bangkok Metropolitan Region (กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นแซดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล). Business Review, 11(1): 99-110.

Terason, Sid. (2008). Marketing Communication (การสื่อสารทางการตลาด). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

The Office of Strategy Management for Southern Province Cluster. (2020). Tourism of the Andaman Provincial Group (การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดอันดามัน). [Online]. Retrieved February 16, 2020 from http://www.osmsouth-w.moi.go.th/file/download/32-travel.doc

Thipapan, Dara, & Thipapan, Thanawat. (2010). Marketing Communication (การสื่อสารทางการตลาด). Bangkok: Amonkanpim.

Thongdee, Nattinee, & Boonsak, Kanok. (2017). The community tourism marketing management based on cultural heritage site of Khong-Chi-Mun River Basin for linked Thai–Laos-Vietnam tourism (การจัดการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ชี มูล เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวประเทศไทย ลาว และ เวียดนาม). Area Based Development Research Journal, 9(2): 122-137.

Tosarb, Buaphin, Churintr, Puangpen, Joychuer, Chittima, & Srisawat, Asok. (2019). The study of tourism public relations media via the social networks: The case study of Phumriang sub-district, Chaiya district, Surat Thani province (การศึกษาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ : กรณีศึกษาชุมชนพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี). Dhurakij Pundit Communication Arts Journal, 13(2): 190-220.

Tripadvisor. (2020). Top 25 Travel Destinations in the World in 2020 (จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยม 25 อันดับในโลก ปี 2563). [Online]. Retrieved April 15, 2020 from https://th.tripadvisor.com/TravelersChoice-Destinations

Vantamay, Natagrit. (2012). Marketing Communication (การสื่อสารการตลาด). Bangkok: Kasetsart University Press.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: HarperCollins Publishers Ltd.