การออกแบบสื่อการจัดแสดงเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน : กรณีศึกษาศูนย์เยาวชนสวนอ้อย

Main Article Content

จง บุญประชา

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน ศึกษาการจัดแสดงสื่อที่มีส่วนส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน และออกแบบการจัดแสดงสื่ออย่างสร้างสรรค์ต่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เยาวชนอายุระหว่าง 15 - 25 ปี จำนวน 200 คน ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการวิจัยพบว่า

          1.) เยาวชนใช้บริการศูนย์การเรียนรู้ค่อนข้างน้อย กล่าวคือ 1 ตรั้งต่อเดือน มีการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น ทีวี วิทยุ อินเทอร์เน็ต และมีความสนใจภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยเหตุผลว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และ/หรืองานอดิเรก

          2.) การจัดแสดงสื่อที่มีส่วนกระตุ้นทำให้เยาวชนมีการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีคือ สื่อประสบการณ์จำลอง สื่อภาพนิ่งและสัญลักษณ์ และสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม

          3.)  สื่อการจัดแสดงเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชนถูกออกแบบด้วยการใช้สื่อต่าง ๆ ดังนี้คือ สื่อประสบการณ์จำลอง สื่อภาพนิ่งและสัญลักษณ์ และสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม โดยออกแบบสื่อดังกล่าวให้มีการเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น รูปทรงของหนังสติ๊ก(ของเล่นเยาวชนไทย) กับตัวอักษร Y ในภาษาอังกฤษที่มีรูปทรงคล้ายกัน การออกแบบให้มีปุ่มกดแสดงความคิดเห็นของผู้ที่ได้ชมผลงานจากการต่อยอดและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน การใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารคือหน้าต่าง และใช้ความสว่างจากแสงอาทิตย์ด้านทิศตะวันตกที่ส่องมาด้านหลังแบบเดียวกับการให้แสงในการแสดงหนังใหญ่ และการเปรียบเทียบกระบวนการเจริญเติบโตทางความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนแบบขั้นบันได กับวงจรการเกิดของผีเสื้อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ